Untold Story “The Cartiers” Part XV

The syndicate ที่ซื้อสาขาของ CARTIER ในนิวยอร์กประกอบไปด้วยสามฝ่าย และมีเพียงคนเดียวเท่านั้นนั่นก็คือ Edward G. Goldstein ที่เคยทำงานอยู่ในธุรกิจเครื่องประดับ โดยเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องประดับอยู่ในบอสตัน และอีกสองฝ่ายเป็นนักลงทุนทางการเงินโดย Benjamin Swig เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และเป็นเจ้าของโรงแรม Fairmont และ Ramco Enterprises Inc. โฮลดิ้งคอมพานีที่เป็นเจ้าของศูนย์การค้าและโรงงานสิ่งทอ ซึ่ง The syndicate เดียวกันนี้เองที่ได้ซื้อ Black, Starr & Frost ผู้ขายอัญมณีใน Fifth Avenue เมื่อหนึ่งปีก่อน และพวกเขาก็พยายามอย่างมากในการประกาศครั้งใหม่อย่างชัดเจนว่า “CARTIER จะยังคง ทำงานได้อย่างอิสระและ Claude จะดำรงตำแหน่งประธานต่อไป” โดยสำหรับ CARTIER ในรูปแบบใหม่นี้ Pierre จึงต้องพูดคุยกับหลานชาย และพยายามทำให้ทุกคนยึดมั่นถึงความสำคัญ ของการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสาขาอื่นๆ โดยอธิบายว่าพวกเขาจะมีอำนาจเมื่ออยู่ร่วมกันมากกว่าการแยกจากกัน แม้ตอนนี้จะมีเพียงสองในสามสาขาที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว และธุรกิจของครอบครัวจะต้องสูญเสียเสาหลักไป ซึ่งแน่นอนว่าเขาเสียใจอย่างมากกับบริษัท ที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ ที่ได้ละทิ้งความเป็นเจ้าของของครอบครัว ซึ่งหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจนี้ Pierre จึงได้ขอลาออก

 

1200x 1

 

ส่วนในหมู่พนักงานก็มีความโกรธและเศร้าโศก และต่างมีความรู้สึกวิตกกังวลกับอนาคต และในท้ายที่สุด Claude ก็เป็นคนแรกที่จากไปเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1963 เพียงสามเดือนหลังจากการขาย และสิบสี่ปีหลังจากที่เขาดำรงตำแหน่งประธาน CARTIER สาขานิวยอร์ก แต่ก่อนที่เขาจะจากไปเขาไปหา Alfred Durante นักออกแบบประจำสาขาเพื่อบอกว่า Durante จะมีงานทำตลอดชีวิตซึ่ง Claude เขียนไว้ในสัญญาการขายว่า จะไม่มีใครสามารถไล่นักออกแบบออกได้ ซึ่งนั่นถือเป็นการแสดงความปรารถนาดีครั้งสุดท้าย  จากชายผู้เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางความคิดผู้นี้ ส่วน CARTIER สาขาปารีส ข่าวการขาย CARTIER สาขานิวยอร์ก ทำให้ความเชื่อถือจากพนักงานที่มีอายุมากลดลงในทันที บรรดาผู้ที่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในการสร้างบริษัท และความสัมพันธ์ของพี่น้องที่ใกล้ชิดกัน แต่กิจการยังคงดำเนินไปเช่นเดิมโดย Pierre ยังคงมอบหมายการจัดการธุรกิจ ให้กับผู้ที่เขาคิดว่ามีความสามารถซึ่งก็คือ Calmette ประธานของ CARTIER S.A. โดย Calmette เขียนถึง Pierre เพื่ออธิบายว่า "การมีอยู่และการสนับสนุนของ Pierre มีความจำเป็นมากแค่ไหน" และขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำหรับความไว้วางใจของ Pierre โดยย้ำว่าตัวเขา "ภูมิใจและมีความสุขที่ได้อุทิศเวลา และความพยายามกับการทำงานให้กับ Pierre และ CARTIER ต่อไป"

 

Screenshot 2566 01 08 at 22.32.07

 

Pierre ในวัย 85 ปีใช้เวลาเดินทางไปปารีสน้อยลงเรื่อยๆ โดยจะใช้ชีวิตอย่างเงียบสงบและพบเจอผู้คนน้อยลง และใช้ชีวิตบั้นปลายที่บ้านริมทะเลสาบในสวิตเซอร์แลนด์ตามคำขอของแพทย์ โดยเขายังได้รับข้อมูลบางส่วนในอเมริกาจากพนักงานเก่า แต่ต่อมาในเดือนมีนาคม 1964 ผู้ให้ข้อมูลที่ซื่อสัตย์ที่สุดของเขา ก็ถูกรวมอยู่ในรายชื่อของพนักงานที่ถูกไล่ออกจากบริษัท และนั่นก็คือจุดสุดท้ายที่ Pierre ทายาทรุ่นที่สองคนสุดท้ายที่เหลืออยู่ของ CARTIER ได้รับรู้เรื่องราวของงานในเกือบทั้งชีวิตของเขาในอเมริกา และเช้าในฤดูใบไม้ร่วงที่หนาวเหน็บปีเดียวกัน Pierre Camille Cartier ก็ถึงแก่กรรม โดยนับเป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้ว นับตั้งแต่การเสียชีวิตของพี่ชายทั้งสองของเขาและ Pierre ได้นำพาให้ชื่อของ CARTIER ขยายสู่ครอบครัวที่ใหญ่ขึ้น แม้เขาต้องแบกรับความรับผิดชอบอย่างหนัก โดยมีหน้าที่ในการเป็นผู้อาวุโสที่เข้มแข็ง เหมือนที่พ่อของเขาเคยเป็น แต่พละกำลังของเขาก็ต้องสิ้นสุดลงจากการขาย CARTIER สาขานิวยอร์ก ซึ่งในเวลาสองปีที่ผ่านมานี้ได้ทำลายล้างความรู้สึกของเขาแทบทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าเขาจะเสียชีวิตด้วยสาเหตุตามธรรมชาติก็ตาม  แต่ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือแม้แต่พนักงานกันเองนั้น ต่างก็รู้กันดีว่าสาเหตุที่แท้จริงแล้ว นั่นก็คือการตรอมใจของ Pierre นั่นเอง

 

Screenshot 2566 01 08 at 22.31.55

 

มีคนจำนวนมากเข้าร่วมงานศพของ Pierre มากมายทั้งบุคคลสำคัญ บุคคลชั้นสูง และศิลปินที่มีชื่อเสียงที่เป็นที่รู้จักกันดี รวมถึงผู้คนมากมายที่ได้รับความเอื้ออาทรจากเขา  โลงศพของPierre ถูกนำไปไว้ที่แวร์ซายและเขาถูกฝังในห้องใต้ดินของครอบครัวใหญ่ถัดจาก Elma ผู้เป็นที่รักของเขาและเคียงข้างปู่ บิดา และพี่น้อง ส่วนในนิวยอร์ก เมืองที่ Pierre เคยเรียกว่าบ้านมานานหลายปี มีการจัดงานรำลึกขึ้นที่โบสถ์เซนท์แพททริค ซึ่งจัดโดยผู้บริหารของ CARTIERในนิวยอร์กนำโดย Jules Glaenzer ผู้ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ และ John Gorey ประธานคนใหม่โดยมีการประกาศถึง Pierre ว่า "จากเพื่อนร่วมงานและเพื่อนของเขา ที่ได้บันทึกพร้อมความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ต่อการจากไปของ Pierre C. Cartier ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานของ CARTIER Inc. นิวยอร์ก และในวันที่ 30 ตุลาคม 1964 หนึ่งสัปดาห์หลังจากการเสียชีวิตของ Pierre ที่ CARTIER ในนิวยอร์กได้ปิดทำการเป็นเวลาหนึ่งวันสำหรับการไว้ทุกข์ และเพื่อเป็นการแสดงความเคารพที่สะท้อนอยู่ในความรู้สึกของคนหลายต่อหลายคน ท่ามกลางภาวะการณ์ของฝรั่งเศสที่ไม่อยู่ในสภาวะที่เอื้ออำนวยนัก เพราะแฟชั่นชั้นสูงซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นแก่นของปารีสกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ และคนรุ่นใหม่ต่างก็มองไปยังลอนดอนที่ซึ่งผู้บุกเบิกอย่าง Mary Quant ที่ได้รับเครดิตว่าเป็นผู้เผยแพร่กระโปรงสั้นให้กลายเป็นยอดนิยม

 

Twiggy1

 

เธอยังสนับสนุนให้ผู้คนแต่งกายในแบบของตัวเองมากกว่าที่จะทำตามแบบแผน ที่ในปี 1965 นิตยสาร VOGUE เรียกว่า "แผ่นดินไหวของวัยหนุ่มสาว" ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ทำให้มาตรฐานของโอต์กูตูร์ไม่เหมือนเดิมอย่างเช่นที่ Yves Saint Laurent เป็นนักออกแบบเสื้อผ้าคนแรกที่เปิดบูติก "pret-à-porter" (พร้อมสวมใส่) ภายใต้ชื่อของเขาในปี 1966 "ฉันพอแล้วสำหรับการทำชุดสำหรับมหาเศรษฐีที่น่าเบื่อหน่าย" เขาประกาศอย่างชัดเจน และทำให้แฟชั่นของฝรั่งเศสปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตและการตลาดในแบบจำนวนมากขึ้น ซึ่ง CARTIER เองก็ต้องปรับตัวเข้ากับแฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน แม้แนวคิดของผู้ผลิตเครื่องประดับชั้นสูงที่เป็นทางการ จะต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับแนวโน้มการแต่งกายแบบลำลอง อย่างเช่นที่ CARTIER สาขาปารีส ปรับคอลเลคชั่นจนได้รับความนิยมสูงทั้ง รูปแบบสัตว์ขนาดเล็ก เต่า สุนัข และนก ขนนก หรือดวงตาที่ส่องประกายด้วยทับทิม ไพลิน และเพชร แต่จำนวนการขายก็ยังถือว่าไม่เพียงพอ ซึ่งรายงานทางการเงินของ CARTIER สาขาปารีสปี 1966 ระบุว่าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายใดๆ ยอดการขายจะต้องซบเซาและลดลงอย่างแน่นอน ทั้งจากลูกค้าที่ร่ำรวยเริ่มน้อยลงพร้อมด้วยกำลังซื้อ และความหรูหราของ CARTIER ที่คนทั่วไปยังที่ไม่กล้าที่จะเข้าไปในร้าน

 

00899

 

แนวทางแก้ไขคือการขยายสินค้าให้ครอบคลุม และมีราคาต่ำกว่าเพื่อดึงดูดลูกค้าในวงกว้างขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ต้องใช้เทคนิคด้านการผลิตยุคใหม่ การตรวจสอบราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มจำนวนของที่มีราคาเฉลี่ยลดลง นอกจากนี้ยังมีแผนสำหรับ CARTIER สาขาลอนดอน เพื่อเปิดแผนกของขวัญในราคาที่ต่ำลง โดยทางเข้าร้านจะแยกต่างหากจากประตูทางเข้าหลัก ซึ่งสาเหตุทั้งหมดนี้ทำให้การประชุมผู้ถือหุ้นช่วงต้นปี 1969 ได้มีการขอให้ผู้ถือหุ้นลงทุนเพิ่มเติมจำนวนหลายล้านฟรังก์ซึ่ง Marion ลูกสาวของ Pierre ผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งขณะนี้อายุราวห้าสิบปีเศษ มีความคิดจะยุติกิจการของพ่อหลังจากที่เขาเสียชีวิต โดยยังมีสินทรัพย์หลากหลายประเภทให้จัดสรร ตั้งแต่อสังหาริมทรัพย์ การลงทุนทางการเงิน ไปจนถึงงานศิลปะ โดยมีการประมูลเพื่อจัดระเบียบ และแผนสำหรับการบริจาคเพื่อการกุศล นอกจากนี้ยังมีงานของเธอในฐานะศิลปิน Marion ได้ถ่ายทอดความสามารถของเธอในการออกแบบ หน้าต่างกระจกสีให้กับโบสถ์หลายแห่ง ซึ่งเธอยังออกแบบหน้าต่างกระจกสีสำหรับห้องใต้ดินของ Cartier ในแวร์ซายอีกด้วย ซึ่งสำหรับ Marion แล้ว เธอไม่สนใจทำธุรกิจของครอบครัว โดยเธอพยายามทำให้พ่อของเธอภูมิใจเท่านั้น และตอนนี้พ่อได้จากไปแล้ว ธุรกิจสำหรับเธอจึงกลายเป็นภาระมากกว่าพร

 

Gigi and Edward J. Danziger

 

ดังนั้นเมื่อเธอได้พบกับพี่น้องนักธุรกิจชาวอเมริกันสองคน เธอจึงเปิดกว้างที่จะพูดคุยเกี่ยวกับข้อตกลงที่เป็นไปได้ Harry และ Edward Danziger เป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ พวกเขาเกิดในอเมริกาและสร้างชื่อเสียงในอังกฤษ โดยผลิตภาพยนตร์และรายการทีวีของอังกฤษตลอดช่วงทศวรรษ 1950s ในแต่ละครั้ง ผู้ชมภาพยนตร์และโทรทัศน์ชาวอังกฤษเกือบทุกคนจะรู้จักกันเป็นอย่างดี "Produced by the Danzigers" เป็นเครดิตที่วิ่งผ่านตาบนจอโทรทัศน์ในบ่อยครั้ง โดยหลังจากซื้อกลุ่มโรงแรม Cordon ไปแล้ว พวกเขาจึงกลายเป็นเจ้าของโรงแรมที่มีชื่อเสียงมากมายทั้ง Mayfair และ Grosvenor ในลอนดอนรวมไปถึงMetropole ในมอนติคาร์โล และธุรกิจเครื่องประดับก็เป็นหนทางใหม่สำหรับพวกเขา กับบริษัทที่กำลังดิ้นรนให้อยู่รอดโดยมีศักยภาพเป็นเบื้องหลัง และพวกเขามีเป้าหมายที่จะพลิกธุรกิจ CARTIER ในปารีส ดังนั้นในไม่กี่ปีต่อมา The Sunday Times ก็รายงานว่าหลังจากที่ Marion กับ Harry Danziger และ Angela ภรรยาของเขาได้พบกันที่ลานสกีใกล้บ้านในสวิสของเธอ เธอได้ "มอบมรดกของครอบครัว" ให้กับพวกเขา อย่างไรก็ตาม ก่อนดำเนินการดังกล่าว เธอได้หันไปหา Calmette ประธานบริษัท CARTIER สาขาปารีส เพื่อขอคำแนะนำซึ่งเขาอธิบายว่าเธอไม่เพียงแค่ยอมรับข้อเสนอ Danziger แต่ยังเก็บเป็นความลับอีกด้วย

 

614 5

 

แม้กระทั่งจากลูกพี่ลูกน้องของเธอที่ CARTIER สาขาลอนดอนซึ่งถือเป็น CARTIER แห่งเดียวที่เหลืออยู่ในครอบครัว โดย Danzigers ไม่ต้องการบอกใครว่าพวกเขาซื้อ CARTIER พวกเขาจะเป็นเพียงเจ้าของและลงทุนด้านการเงินที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งสำหรับโลกภายนอก CARTIERยังดูเหมือนจะเป็นบริษัทครอบครัวอย่างที่เคยเป็นมา แม้แต่พนักงานหลายคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าใครเป็นเจ้าของคนใหม่ และการจัดการยังคงเหมือนเดิมโดย Calmette รับผิดชอบในภาพรวมและ Toussaint (อดีตคนรักของ Louis) ยังคงเกี่ยวข้องอยู่จนกระทั่งเธอเกษียณในอีกไม่กี่ปีต่อมา ส่วนคณะกรรมการก็ยังคงเหมือนเดิม ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปอย่างที่เคยเป็นมา ส่วนสำหรับ CARTIER ลอนดอน Jean – Jacques เมื่ออายุสี่สิบเจ็ดปีผู้ได้รับแรงผลักดัน ให้สานต่อมรดกของบิดาเขาเหมือนเดิม แม้จะผิดหวังมากที่ลูกพี่ลูกน้องของเขาทั้งสองขายสาขาไปโดยไม่ปรึกษา แต่เขาก็ยอมจำนนต่อความจริงที่ว่า เขาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได้ และมีหน้าที่ต้องบังคับเรือของตนไปข้างหน้าอย่างสุดความสามารถ โดย Nally แม่ของเขา ซึ่งยังคงเป็นเจ้าของ CARTIER ลอนดอน ไม่มีเจตนาจะขายกิจการออกนอกครอบครัว และธุรกิจก็ยังคงดำเนินไปตามปกติโดย Jean-Jacques และ Toussaint ยังคงแบ่งปันการออกแบบร่วมกันต่อไป และลูกค้าก็ยังคงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากนัก

 

B169 02jeanne toussaint de profil1

 

 

โปรดติดตามได้ในครั้งต่อไป โดยสามารถติดตามบทความก่อนหน้านี้ได้ที่

Untold Story “THE CARTIERS” Part I

Untold Story “THE CARTIERS” Part ll

Untold Story “THE CARTIERS” Part llI

Untold Story “THE CARTIERS” Part lV

Untold Story “THE CARTIERS” Part V 

Untold Story “THE CARTIERS” Part Vl

Untold Story “THE CARTIERS” Part VlI

Untold Story “THE CARTIERS” Part VlIl

Untold Story “THE CARTIERS” Part lX

Untold Story “THE CARTIERS” Part X

Untold Story “THE CARTIERS” Part XI

Untold Story “THE CARTIERS” Part XII

Untold Story “THE CARTIERS” Part XIIl

Untold Story “THE CARTIERS” Part XIV