Untold Story “THE CARTIERS” Part V

สำหรับ Pierre Cartier แล้ว เขาเริ่มการทำงานกับบริษัทของครอบครัวในปี 1900 ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุเพียง 22 ปีซึ่งห่างจากพี่ชายของเขา 3 ปี แต่บุคลิกของทั้งสองกลับต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดย Louis พี่ชายของเขาจะเปี่ยมไปด้วยความเป็นผู้นำ มีความทะเยอทะยานมุ่งมั่นที่จะรังสรรค์สิ่งใหม่ๆ ส่วน Pierre มักจะตามหลังพี่ชายอยู่หนึ่งก้าวเสมอ และเมื่อถึงโอกาสของ Pierre เขาก็ได้เข้าไปมีบทบาทในการตั้งร้าน CARTIER สาขาเล็กๆ ในลอนดอนซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญเมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ผู้ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งแฟชั่นในขณะนั้น กับช่วงเปลี่ยนศตวรรษแห่งสหราชอาณาจักร หลังจากที่พระราชินีวิกตอเรียสิ้นพระชนม์ในปี 1901 พระองค์ทรงแนะนำให้ CARTIER เปิดร้านในอังกฤษ และเพื่อให้ทันพระราชพิธีราชาภิเษกของพระองค์ CARTIER จึงไม่ปฏิเสธโอกาสอันงดงามสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจอย่างมั่นคงในอังกฤษ

 

Screen Shot 2565 05 02 at 00.22.01

 

และจากการร่วมมือกันทางธุรกิจกับ WORTH ในปารีส เมื่อครั้งที่พี่ชายของเขาได้แต่งงานกับหลานสาวช่างตัดเสื้อที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกแล้ว การดำเนินการเช่าซื้ออาคารในลอนดอนก็ได้รับการช่วยเหลือ จากพ่อและลุงของพี่สะใภ้อีกครั้งเช่นกัน โดย CARTIER และ WORTH สามารถเช่าซื้ออาคาร New Burlington Street ได้ และ CARTIER ก็ได้รับประโยชน์อีกครั้งจากความใกล้ชิดกับตระกูลดัง และในช่วงเดือนมีนาคม 1902 อาคารแห่งใหม่ก็เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ โดยทางบริษัทได้รับหนังสือการสั่งซื้อเครื่องเพชรจำนวนมากสำหรับพิธีราชาภิเษกและงานเฉลิมฉลองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการสั่งซื้อจากทางราชวงศ์และชนชั้นขุนนางต่างๆ มากมายอีกด้วย

 

Screen Shot 2565 05 02 at 00.23.33

 

หลังจากที่ Cartier New Burlington Street ดำเนินกิจการไปได้ดี Pierre ก็ตั้งใจที่เดินทางไปมาระหว่างสาขาลอนดอนและสาขาปารีส ซึ่งเขามักเดินทางไปต่างประเทศด้วยตัวเองเพิ่มมากขึ้นจากแต่ก่อน ในปี 1903 เขาก็ได้ไปเยือนอเมริกาเป็นครั้งแรก และในปี 1904 ก็เดินทางไปยังรัสเซีย ต่อมาในปี 1906 Pierre ก็ได้รับความไว้วางใจจาก Alfred พ่อของเขาในวัย 65 ปี ที่มองเห็นถึงความสามารถมากพอ ที่จะเข้ารับตำแหน่งระดับสูงของบริษัท และในฤดูร้อนปี 1906 เขาก็ขึ้นเรือจากเซาแธมป์ตันเพื่อไปยังอเมริกาเป็นครั้งที่สอง เมื่อพ่อของเขาต้องการส่งสมาชิกในครอบครัว ผู้ที่ใฝ่ฝันจะทำธุรกิจในอเมริกามาตั้งแต่เด็กไปที่นั่น ซึ่ง Pierre ก็รู้สึกตื่นเต้นที่จะรับภารกิจนี้ โดยเขาเดินทางไปกับ Victor Dautremont พนักงานขายจากสาขาลอนดอนซึ่งเคยอยู่ในนิวยอร์กมาก่อน และที่สำคัญเขายังมีครอบครัวอยู่ในแมนฮัตตัน ที่สามารช่วยในการแนะนำธุรกิจอีกด้วย

 

Screen Shot 2565 05 02 at 00.26.52

 

CARTIER ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในนิวยอร์กเท่าๆ กับในปารีส แต่ Pierre ก็ยินดีอย่างยิ่งที่จะได้สวมบทบาทเป็นตัวแทนของบริษัท โดยที่ไม่ต้องคอยเป็นเงาของพี่ชายเหมือนอย่างที่ปารีสอีกต่อไป และยิ่งไปกว่านั้นการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค ก็ทำให้เขาได้พบกับ Elma Rumsey รักแรกพบของเขา ซึ่ง Elma เป็นลูกคนที่สองในสี่คนที่เกิดในเซ็นท์หลุยส์ เจ้าของธุรกิจประปาและการรถไฟ Moses Rumsey, Jr. และหลังจากที่ทั้งคู่พบกันโดยบังเอิญ คุณแม่ของเธอก็สนับสนุนความสัมพันธ์ของทั้งสอง และมองว่าลูกสาวของเธอและช่างอัญมณีดูเหมือนจะมีค่านิยมเดียวกัน นั่นก็คือความสำคัญของครอบครัว และความกระตือรือร้นที่จะทำงานหนักเพื่อความสำเร็จ รวมทั้งการยอมรับว่าความมั่งคั่งจะมาพร้อมกับความรับผิดชอบมากมาย

 

1400x 1scscscsc

 

ในเดือนธันวาคมปี 1907 สื่อทั้งสองด้านของมหาสมุทรแอตแลนติค ก็ได้ประกาศข่าวการแต่งงานของ Pierre และ Elma ในขณะเดียวกันที่ The New York Times ก็ส่งเสริมจุดยืนของครอบครัว Cartier ในบทความเรื่อง "Heires to Wed Foreigner กับเรื่องราวของเจ้าบ่าวที่ไม่ได้ระบุชื่อ ที่มาจากตระกูลชาวฝรั่งเศสที่เก่าแก่และมีเกียรติ" ซึ่งในบทความไม่มีการอ้างอิงถึงบริษัทเครื่องประดับของครอบครัว และนั่นก็เป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่แสดงได้ชัดว่า CARTIER เป็นที่รู้จักน้อยมากเพียงใดในอเมริกา

 

pierre cartier 1910.jpg 1536x0 q75 crop scale subsampling 2 upscale false

 

Alfred ผู้เป็นพ่อย่อมรู้สึกยินดีกับการตัดสินใจของลูกชายและทายาทของตระกูล Rumsey ซึ่งเขามองเห็นภาพอนาคตอย่างสดใส ต่อผลประโยชน์ที่เธอจะนำมาให้กับธุรกิจของตระกูล อย่างเดียวกับการแต่งงานของ Louis กับ Worth ที่สามารถช่วยสาขาปารีสได้ ดังนั้นตอนนี้ Alfred จึงหวังว่าลูกสะใภ้ชาวอเมริกันของเขาจะเป็นสัญญาณที่ดี สำหรับการขยายตัวของ CARTIER ไปทั่วมหาสมุทรแอตแลนติค และในเดือนพฤศจิกายนปี 1908 ทั้งคู่ก็ได้สมรสกันตามที่ตั้งใจไว้ ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่งจากทั้งสองตระกูล

 

HarryWinstonGettyImages1.jpg 760x0 q75 crop scale subsampling 2 upscale false

 

ในปีถัดมาร้าน CARTIER สาขานิวยอร์คบนถนนฟิฟท์เอเวนิว ก็พร้อมที่จะเปิดประตูรับลูกค้าชาวอเมริกันโดยมี Pierre เป็นผู้จัดการและดูแลด้วยตัวเองทั้งหมด โดยเขาเปิดเผยต่อ The New York Time ว่าเขาวางแผนที่จะอยู่ที่สาขานิวยอร์คสองถึงสามเดือนในทุกปี และเชื่อว่า CARTIER จะเป็นบริษัทอัญมณีแห่งแรกของฝรั่งเศสที่มายังอเมริกา โดย Pierre ต้องพุ่งความความสนใจไปที่ผู้ที่ยังไม่เคยได้ยินชื่อของ CARTIER มาก่อนและ John Pierpont Morgan ก็เป็นหนึ่งในชายที่ร่ำรวยที่สุดที่เขารู้จักในนิวยอร์ค ด้วยรสนิยมที่ไร้ที่ติพร้อมกับลูกชายของเขา J.P. Morgan Jr. นักการเงินผู้มีศักยภาพในการใช้จ่ายที่ Pierre ได้ใช้กลยุทธ์ในการเชิญนายธนาคารใหญ่และภรรยามายังร้าน CARTIER โดยบอกว่าพวกเขาอาจสนใจที่จะได้เห็นคอลเลคชั่นใหม่ล่าสุด  จากนักอัญมณีซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของราชวงศ์ยุโรป ซึ่งทำให้ข่าวเกี่ยวกับร้านเครื่องประดับในนาม CARTIER แพร่กระจายไปทั่วแมนฮัตตัน

 

John Pierpont J. P. Morgan

 

 

 

โปรดติดตามตอนต่อไปในเดือนหน้า และสามารถติดตามบทความ Untold Story “THE CARTIERS” ตอนก่อนหน้านี้ได้ที่

 

Untold Story “THE CARTIERS” Part I

Untold Story “THE CARTIERS” Part ll

Untold Story “THE CARTIERS” Part llI

Untold Story “THE CARTIERS” Part lV