Untold Story “THE CARTIERS” Part VII

Jacques Cartier ลูกชายคนที่ 3 ของ Alfred Cartier กับบทบาทในการทำงานครั้งแรกในสาขาลอนดอน ด้วยวัยเพียง 22  ปี ที่เขาได้เรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการฝึกงานในปารีส ทั้งงานด้านการใช้งานไข่มุกให้เป็นเครื่องประดับจากผู้เชี่ยวชาญ ฟังคำแนะนำเกี่ยวกับทักษะการขาย และการคัดแยกทับทิม ไพลิน มรกต และเพชรตามสี รวมไปถึงคุณภาพ และขนาด โดยช่วงเวลาที่โปรดปรานมากที่สุดของเขาคือ การอยู่ที่แผนกออกแบบโดย Jacques เรียนรู้จากการศึกษาด้วยความตั้งใจ ซึ่งแท้จริงแล้วเขามีความฝันที่จะอุทิศตนให้กับคริสตจักรเพื่อเป็นบาทหลวง แต่ด้วยภาระหน้าที่กับธุรกิจครอบครัวเขาจึงไม่สามารถทำได้ ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ Alfred รู้สึกประทับใจกับความพยายามและความก้าวหน้าของลูกชายคนเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Jacques มีความรู้เรื่องอัญมณีล้ำค่าและหลังจากร่วมงานกับบริษัทมานับปี Jacques จึงถือว่าพร้อมสำหรับร้านในลอนดอนโดย Alfred เสนอให้ Jacques มองหาสถานที่เพื่อเปิดร้านใหม่ในย่านเมย์แฟร์ในขนาดที่ใหญ่ขึ้น พร้อมพื้นที่สำหรับช่างฝีมือและผู้เชี่ยวชาญอีกสองสามคน สำหรับการซ่อมแซมงานและปรับแบบที่ไม่ซับซ้อนมากนัก และทำให้ Jacques ได้เริ่มต้นงานของเขาอย่างจริงจังครั้งแรกในอาคารหมายเลข 175-176 นิวบอนด์สตรีทในปี 1906  จนทำให้เขาได้พบกับ Nelly Harjes สาวโปรเตสแตนท์วัย 33 ปี

 

Screen Shot 2565 06 25 at 21.51.23

 

Nelly Harjes ผ่านการหย่าร้างมาแล้วพร้อมลูกติดวัย 9 ขวบ เธอมาจากครอบครัวธนาคารชาวอเมริกันที่ร่ำรวย  ระดับก่อตั้งธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในชื่อJ.P Morgan โดย  Jacques  นั้นชื่นชมความสนใจในศิลปะของ Nelly อย่างแท้จริง และพบว่าเธอเป็นคนสนุกสนานและตรงไปตรงมา ซึ่งแม้ว่าช่วงแรกที่พ่อตาของเขาจะมองว่า CARTIER เป็นแค่กิจการ "แค่ขายของ" และยังมองอีกว่า Jacques เป็นคู่ที่ด้อยกว่าลูกและครอบครัวของเขามากเกินไป  แต่สุดท้ายพ่อตาของเขาก็ประนีประนอมพร้อมยืนยันว่า Jacques จะต้องพิสูจน์ความรักของเขาโดยใช้เวลารอหนึ่งปีก่อนที่จะพบ Nelly อีกครั้ง ซึ่งถ้าทั้งสองยังคงเชื่อว่าพวกเขาต้องการจะอยู่ด้วยกันเขาจึงจะยอมให้ทั้งคู่คบกัน ส่วน Jacques โชคดีที่ตลอดช่วงระยะเวลานั้น ได้แต่อุทิศตนให้กับพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ George V พร้อมพิธีการสวมมงกุฎที่จะเกิดขึ้นในอินเดียที่ทำให้ Jacques ต้องรับผิดชอบงานมากขึ้น รวมไปถึงการเป็นตัวแทนร่วมคณะเดินทางเฉลิมฉลองพร้อมการเสด็จเยือนอินเดีย โดยพระมหากษัตริย์และราชินีแห่งอังกฤษองค์ใหม่ ในเดือน ธันวาคมปี 1911 ซึ่งการเดินทางครั้งนี้มีความสำคัญต่อ CARTIER เป็นอย่างยิ่งในการที่จะขยายสาขาในอนาคต จากประสบการณ์ที่พบเห็นความมั่งคั่งของชาวอินเดียมาที่ลอนดอนหรือปารีส

 

Screen Shot 2565 06 25 at 21.51.37

 

ซึ่งในครั้งนี้ Jacques ออกเดินทางไปกับ Maurice Richard ผู้เชี่ยวชาญด้านไข่มุกของCARTIER และเคยไปเยือนอินเดียเพื่อค้นหาอัญมณีเมื่อสองสามปีก่อนโดย Jacque พบว่าที่อินเดียมีอะไรมากมายที่ดึงดูดความสนใจของเขาได้ อย่างเช่นทับทิมที่ผู้ปกครองชาวอินเดียได้เข้าเฝ้ากษัตริย์และถวายของขวัญ หนึ่งในนั้นคือสร้อยคอทับทิมโดยแต่ละเม็ดจะมีขนาดใหญ่พอๆ กันกับไข่นกพิราบ และทำให้เขาได้พบกับ Imre Schwaiger ชาวฮังการีร่างสูงที่อาศัยอยู่ในอินเดียมาหลายปี ที่ทั้งรู้จักแหล่งซื้ออัญมณีที่ดีที่สุด และยังสามารถเป็นผู้ขายให้เขาได้ในขณะเดียวกัน โดยมีค่าตอบแทนเป็นจำนวนเงิน 10% ของการขาย ซึ่งผู้คนชาวอินเดียมีรสนิยมที่แตกต่างจากกลุ่มลูกค้าชนชั้นสูงในยุโรป ที่มักมีแต่ผู้หญิงที่จะสวมเครื่องประดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกผู้ชายจะซื้อของเพื่อตัวเอง และไม่ชอบสร้อยข้อมือขนาดเล็ก สร้อยคอสวยงาม หรือนาฬิกาค็อกเทลประดับเพชรเม็ดเล็ก แต่พวกเขาต้องการเครื่องประดับระดับเจ้าชาย หรืออาจเป็นเครื่องประดับที่เรียบง่ายแนวแฟชั่น Jacques จึงเขียนจดหมายบอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้ถึงพี่น้องของเขา รวมไปถึงนาฬิกาพกสีเงินที่เขาส่งไปพร้อมกับจดหมาย เพื่อให้ทุกคนเข้าใจในธุรกิจของที่อินเดีย จนกระทั่งสิ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของ CARTIER กลับกลายเป็นนาฬิกาในภายหลัง

 

Screen Shot 2565 06 25 at 21.51.52

 

หลังจาก 4 เดือนในอินเดีย Jacques และ Richard ก็เดินทางต่อไปยังอ่าวเปอร์เซีย เพื่อสำรวจตลาดไข่มุกและศึกษาวิธีการเลือกซื้อไข่มุกที่มีประสิทธิภาพ เพราะเชื่อว่าไข่มุกธรรมชาติเปรียบเสมือนแม่เหล็กดึงดูดสตรีที่ร่ำรวยเสมอ ในทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 20 ไข่มุกคุณภาพดีหนึ่งเม็ดจะมีราคาสูงกว่าเพชรที่มีน้ำหนักเท่ากันถึงสี่เท่า และมูลค่าการส่งออกไข่มุกจากอ่าวเปอร์เซียก็เพิ่มขึ้นถึงสี่เท่าในช่วง 25 ปีก่อนปี 1904 แม้กระทั่งปี 1894 ถึง 1904 การส่งออกไข่มุกจากบาห์เรนก็เพิ่มขึ้นจาก 3.7 ล้านรูปีเป็น 10.3 ล้านรูปี และผู้ที่ทำกำไรได้สูงสุดมักจะเป็นพ่อค้าคนกลาง และทำให้ CARTIER สนใจในตลาดนี้เป็นอย่างยิ่ง ขณะอยู่ที่นั่น Jacquesตัดสินใจขอดูขั้นตอนการเก็บไข่มุกด้วยตัวเอง ซึ่งน้อยนักที่นักอัญมณีชาวยุโรปจะมีโอกาสไปเยือนอ่าวเปอร์เซีย แต่เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะพี่น้องของเขาต้องการจะบอกกับทุกคนว่า CARTIERก็มีช่องทางในการจัดหาเพื่อนำมาจำหน่าย โดยต่อมา CARTIER เลือกใช้ภาพนักประดาน้ำเก็บไข่มุกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตลาด โดยมีคำบรรยายว่าเรือลำนี้เป็นเรือของ CARTIER เพื่อช่วยเพิ่มชื่อเสียงของบริษัทในฐานะ "ผู้นำเข้าไข่มุก" และ "ผู้จัดหาไข่มุก" ดังที่ CARTIERเรียกตัวเองตามหัวจดหมายและใบกำกับสินค้าของบริษัท แม้ความจริง Jacques จะไม่สามารถทำข้อตกลงซื้อขายไข่มุกแบบพิเศษได้ก็ตาม

 

Screen Shot 2565 06 25 at 21.52.08

 

ปี 1912 Jacques กลับสู่ปารีสพร้อมกับประสบการณ์ในโลกตะวันออก เขาได้เห็นอัญมณีมหัศจรรย์มากมาย และมองว่า CARTIER ต้องใช้เวลาสร้างความเชื่อมั่นสำหรับลูกค้าในตลาดอินเดีย ดังนั้น Jacques จึงมั่นใจว่าควรเปิดเปิดสาขาที่นั่นแต่ Alfred ไม่ได้มองอย่างเดียวกันจึงคิดจะตั้งสาขาชั่วคราวในเมืองเดลลีกับ Schwaiger หรือขายจากในร้านของ Schwaiger เลยก็ได้ แต่จะไม่ลงทุนเงินก้อนโตและรับความเสี่ยง ทางธุรกิจทางไกลโดยที่ไม่มีสมาชิกในครอบครัวคอยดูแล ดังนั้น Jacque จึงทำได้เพียงแต่จัดนิทรรศการขึ้นที่นิวบอนด์สตรีท โดยได้รับแรงบันดาลใจจากอินเดียเป็นครั้งแรกและทำให้ Jacques ได้มีโอกาสถ่ายทอดเรื่องราวให้กับลูกค้าได้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของตะวันออก กับนิทรรศการในฤดูใบไม้ผลิชื่อ "Oriental Jewels and Objets d'Art" ที่ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ก่อนที่การเดินทางไปตะวันออกจะกลายเป็นแฟชั่นในหมู่ชนชั้นสูง รวมทั้งมรกตแกะสลัก ไข่มุกขนาดใหญ่ และหยก กลายเป็นที่ชื่นชอบจากผู้คนที่เคยได้ยินเกี่ยวกับความงดงาม ของประเทศที่มั่งคั่งแห่งนี้และปรารถนาที่จะเห็นด้วยตาตัวเอง อันรวมไปถึงดอกบัว สัตว์ประหลาดในตำนาน และช้างที่รวบรวมเข้าไว้ด้วยกัน ที่ล้วนแล้วแต่แตกต่างจากลวดลายของชาวตะวันตกมาก ที่ซึ่งอิทธิพลของอินเดียจะปรากฏอยู่มากมายใน CARTIER ยุคต่อมา

 

Screen Shot 2565 06 25 at 21.52.26

 

ในขณะที่เวลาหนึ่งปีแห่งการรอคอยของ Jacques มาถึงเมื่อเขาได้พูดคุยกับพ่อตา และแต่งงานกับลูกสาวของเขาในคริสตจักรโปรเตสแตนต์ โดยทั้งครอบครัวของ Jacques และ Nelly ต่างก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งกับการะลงเอยของทั้งคู่และ Alfred ยินดีเป็นอย่างยิ่งกับลูกชายที่แต่งงานกับชนชั้นสูงชาวอเมริกัน โดยเฉพาะการที่ Nelly เป็นคนสนุกและสามารถดึงเอาสิ่งที่ดีที่สุดในตัว Jacques ออกมาได้ แต่เมื่อสงครามโลกได้เริ่มขึ้น Jacques กลับเป็นคนเดียวที่ยืนหยัดในการที่จะร่วมรบเคียงข้างเพื่อนร่วมชาติ แม้พ่อและพี่ชายทั้งสองจะโกรธในการตัดสินใจของเขาอย่างมากก็ตาม และแม้จะมีจดหมายจากนายกรัฐมนตรีเพื่อหาทางออกให้เขาประจำในอังกฤษแต่Jacques กลับให้ความสำคัญกับความรักชาติของเขาอย่างยิ่ง ที่แม้สุดท้ายแล้ว Jacques จะไม่ได้ไปรบอย่างอย่างที่เขาตั้งใจ เนื่องจากอาการกระอักเลือดซึ่งอาจเกิดจากเชื้อวัณโรค ที่อาจแฝงอยู่ในช่วงที่เขาเดินทางไปอินเดีย และเขาจึงต้องรักษาตัว ณ โรงพยาบาลในสวิตเซอร์แลนด์แทน จนกระทั่งในปี 1915 ขณะที่สงครามยังคงดำเนินต่อไป พร้อมสำนึกในหน้าที่ของคนในชาติและทำให้ในที่สุด Jacques จึงได้เข้าร่วมรบแนวหน้าในกองทัพ ซึ่งไม่นานนักกองทัพที่เขาเข้าร่วมรบก็ถูกโจมตีอย่างรุนแรงและ Jacques ถูกหามตัวเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง โดยแพทย์เกรงถึงการที่ก๊าซหรือควันระเบิดอาจทำให้วัณโรคกลับมาอีกครั้ง

 

Screen Shot 2565 06 25 at 21.52.39

 

และแม้ว่าหลังจากที่เขารักษาตัวในโรงพยาบาลนานหลายเดือน Jacques ก็ยังคงทำงานของบริษัทโดยการสั่งงานทางจดหมายพร้อมการไปรบกับแนวหน้าอย่างไม่ลดละ โดยต่อมาในฤดูร้อนปี 1916 Jacques จึงได้รับการเลื่อนยศเป็นร้อยตรี โดยรับผิดชอบกองทหารบนหลังม้ายี่สิบคนและยานพาหนะอีกหลายคัน โดยอีกสองปีต่อมา เขาได้รับตำแหน่งการสอนในกองทัพอันทรงเกียรติด้านการขี่ม้า ซึ่งเป็นการสอนการต่อสู้และทักษะบนหลังม้า และยังได้รับเลือกให้เป็นผู้สอนการขี่ม้าของกองทัพทหารอเมริกัน ในสถานที่ที่ค่อนข้างปลอดภัยและสะดวกสบายในการประจำการ ซึ่งทำให้เขาได้อยู่กับลูกๆ และภรรยา โดยหลังจากที่ Jacques ปลดประจำการในปี 1919 ซึ่งเป็นปีที่มีการลงนามสนธิสัญญาแวร์ซาย และเป็นการสิ้นสุดสงครามอย่างเป็นทางการ ภรรยาของเขาก็ได้คลอดลูกชาย Jean-Jacques ให้กับตระกูล Cartier พร้อมความคิดถึงช่วงเวลาในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่ได้เปลี่ยนแปลงเขาไปอย่างมากมาย ทั้งโดยส่วนตัวและในสายตาของครอบครัว ผ่านประสบการณ์ที่อินเดีย อ่าวเปอร์เซีย ปารีส ลอนดอน และนิวยอร์ก ที่เขาได้เห็นถึงความสามารถของตัวเอง ลูกค้าที่รักในชิ้นงานของเขา วิธีการจัดหาอัญมณีคุณภาพสูง และแนวทางการบริหารจัดการทีมพนักงาน ตลอดจนเส้นทางการเดินทางไปต่างประเทศ ที่ทำให้เขามีความมั่นใจในแนวความคิดสร้างสรรค์มากมาย

 

Screen Shot 2565 06 26 at 09.07.33

รวมไปถึงแนวคิดการก่อตั้งบริษัท CARTIER ที่ต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งในการที่จะทำให้ Jacquesได้รับส่วนแบ่งเท่าๆ กับพี่น้องของเขา ที่แม้ในปี 1919 ร้านในลอนดอนจะแยกตัวออกจากธุรกิจของร้านในปารีสอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ก็ยังถูกควบคุมและเป็นเจ้าของโดย Louis และPierre  เป็นส่วนใหญ่โดย Jacques ถือเป็นเพียงหนึ่งในห้าของกรรมการร้าน ซึ่งโดยรวมแล้วสถานการณ์นี้จะทำให้เกิดความไม่ยั่งยืนในท้ายที่สุด โดยขัดกับภูมิหลังของความสามารถและประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นของ Jacques ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามในตอนนี้ Jacques ก็ถือว่าพอใจมากที่สุดแล้วสำหรับเขา เขารู้สึกขอบคุณที่ได้กลับมาบ้านได้อย่างปลอดภัยหลังจากสงคราม และได้กลับมาพบกับความรักในชีวิตของเขาและลูกๆ ของเขาที่กำลังเติบโตขึ้นในทุกวัน

 

โปรดติดตามตอนต่อไปในเดือนหน้า และสามารถติดตามบทความ Untold Story “The Cartiers” ตอนก่อนหน้านี้ได้ที่

Untold Story “THE CARTIERS” Part I

Untold Story “THE CARTIERS” Part ll

Untold Story “THE CARTIERS” Part llI

Untold Story “THE CARTIERS” Part lV

Untold Story “THE CARTIERS” Part V

Untold Story “THE CARTIERS” Part Vl