Untold Story “The Cartiers” Part XVI

ปี 1963 Ian Fleming ผู้เขียนภาพยนตร์เรื่อง James Bond กับ Peter Wilding มีแนวคิดที่จะสร้างสิ่งใหม่ๆ โดยทั้งสองได้ติดต่อไปยัง CARTIER เพื่อให้สร้างคอลเลคชั่นชุดอัญมณีและกล่องเคลือบทอง ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะจากงานศิลป์ของช่างทองและศิลปะการลงยา จากการที่ CARTIER มีความสามารถในการผลิตกล่องชนิดนี้ได้ดี ซึ่ง Wilding มีคำสั่งผลิตกล่องชนิดนี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 5 ปีเนื่องจากการที่เขามีสุขภาพไม่ค่อยสู้ดีนัก และบางทีอาจมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานซึ่ง  Jean-Jacques ชอบแนวคิดของโปรเจ็คท์นี้มาก แต่คำสั่งผลิตดังกล่าวอาจกลายเป็นการผูกขาดที่นานเกินไป จนสุดท้ายจึงจบลงที่การผลิตกล่องได้ 3 ใบในทุกสองปี โดย Wilding มีการวางแผนไว้ตั้งแต่แรกคือนำกล่องชนิดนี้ตั้งแสดงไว้ในบริติชมิวเซี่ยม พร้อมกับทุกชิ้นส่วนของกล่องที่ผลิตในลอนดอน และถูกส่งต่อไปยังเวริ์คช็อปของ CARTIER ในฟาร์ริงดอนของ ที่ซึ่งกล่องจะถูกผลิตขึ้นด้วยความประณีตและสมบูรณ์แบบ ตั้งแต่กลไกของบานพับและฝาเปิดที่จะมองไม่เห็นชุดบานพับจากด้านนอกเลย รวมทั้งเมื่อปิดก็จะไม่ได้ยินแม้กระทั่งเสียงคลิ๊กอีกด้วยซึ่ง Jean-Jacques เองมีความสามารถและชื่อเสียงในด้านการทดสอบเสียงคลิ๊กเป็นอย่างดี

 

Picture1

 

กล่องเคลือบทองชนิดนี้ของ CARTIER ดึงดูดใจลูกค้าทั่วโลก โดยหลายต่อหลายคนยังคงสะสมและเก็บกล่องเหล่านี้ไว้เช่น เจ้าชาย Sadruddin Aga Khan ผู้สะสมกล่องชนิดนี้หลากหลายกล่องของช่วงยุคอาร์ตเดโค รวมทั้งเป็นเจ้าของหอศิลป์ชั้นนำแห่งหนึ่งของลอนดอน โดย Wilding เองก็ถือเป็นนักสะสมที่ไม่ธรรมดา เพราะเขามีวิสัยทัศน์ที่จะเริ่มสะสมของบางอย่างที่แตกต่าง และความปรารถนาที่จะสร้างตามแบบของตัวเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้กล่องของ Wilding มีราคาสูงมาก จากการระดมทั้งแรงงานและความสามารถด้านการผลิตในทุกด้านซึ่ง CARTIER เองก็ไม่ได้ผลกำไรจากกล่องเหล่านี้มากมายนักโดย Jean-Jacques มักจะออกตัวเสมอว่าเขาไม่สามารถแข่งขัน กับงานศิลปะชั้นสูงจากบรรพบุรุษของเขาได้ แต่เขาก็ภาคภูมิใจที่ยังสามารถดำรงศิลปะการผลิตกล่องชนิดนี้ไว้ได้ไม่ต่างจาก Wilding ที่มีความภาคภูมิใจเช่นกัน แม้เขาจะมีชีวิตอยู่เพื่อดูกล่องได้เพียง 12 ใบก่อนที่เขาจะจากไปโดยมีอีกเพียง 5 กล่องที่ถูกสร้างขึ้นหลังจากนั้นจนถึงในทุกวันนี้ โดยกล่องของ Wilding ทั้ง 17 ใบยังคงจัดแสดงแบบถาวรไว้ในบริติชมิวเซี่ยม  ซึ่งถือเป็นตัวอย่างงานฝีมือของอังกฤษ ที่ผลิตขึ้นโดยเฉพาะได้เป็นอย่างดีที่สุดอย่างกับที่ Wilding ตั้งใจเอาไว้

 

Picture2

 

ในช่วง 60s เครื่องประดับประเภทสร้อยคอเพชรแพรวพราวแทบไม่ได้ขาย ในขณะที่นักร้องและนักดนตรีที่โด่งดังอย่าง The Beatles เองกลับใส่ชุดสบายๆ เข้าไปเลือกซื้อเครื่องประดับชิ้นเล็กจาก CARTIER ที่นิวยอร์ค รวมไปถึงการที่บ้านแฟชั่นอย่าง DIOR ลุกขึ้นมานำเสนอเครื่องประดับเพิ่มเติม ทำให้ Jean-Jacques ตระหนักดีว่าสินค้าบูติคราคาระดับล่างของเขา ได้รับความนิยมมากกว่าเครื่องประดับชั้นสูง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ CARTIER ตัดสินใจขยายพื้นที่บูติกเพิ่มมากขึ้นโดยสำหรับเขาแล้ว นาฬิกาถือเป็นสินค้าหลักที่น่าสนใจ โดยในช่วงหลายปีที่เขาดูแล CARTIER สาขาลอนดอน เขาได้ขยายคอลเลคชั่นและมีการนำเสนอรูปแบบของนาฬิกาอย่างมากมาย ในสมัยพ่อของเขานาฬิกาที่ขายในลอนดอนโดยทั่วไป จะเหมือนกับนาฬิกาที่ขายใน CARTIER สาขาปารีส โดยไม่ได้จัดลำดับความสำคัญของนาฬิการุ่นเล็กๆ แต่กับตลาดที่แตกต่างออกไปอย่างมากในขณะนี้ เทคนิคการออกแบบและฟังก์ชันแสดงผลที่ผสมผสานกันได้อย่างดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ ฉะนั้นวิธีเดียวกันกับที่ Louis Cartier ทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Edmund Jaeger จึงกลายเป็นเรื่องที่ต้องกลับมาฟื้นฟูใหม่โดย Jean-Jacques ทำงานร่วมกับ JAEGER อีกครั้ง

 

4946139

 

แต่เป็นในนามของ JAEGER-LeCOULTRE โดย Jean-Jacques เลือกนาฬิกาเรือนบางที่มองดูและให้ความรู้สึกราวกับไม่ได้สวมใส่เลย ซึ่งเขาอยากที่จะสร้างนาฬิกาที่บางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ขึ้นอีก ซึ่งโมเดล JJC ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่ลอนดอนในขณะนั้น จึงมีการปรับปรุงนาฬิการุ่น Tank แบบดั้งเดิมให้มีขอบที่โค้งมนมากขึ้น และถือเป็นหนึ่งในนาฬิกาที่มีความบางมากที่สุดในโลกในขณะนั้น รวมไปถึงนาฬิกาแบบ Maxi ที่ในการประมูลนาฬิกา Maxi Oval จากการขายปลีกในราคา 375 ปอนด์ปัจจุบันนี้มีราคาขายได้ถึง 70,000 ปอนด์ รวมไปจนถึงนาฬิกาแบบสายคู่ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากสายรัดบนบังเหียนของม้า นอกจากนี้ยังมีนาฬิกาแบบ Pebble ที่มีหน้าปัดรูปทรงเพชร ไปจนถึงนาฬิกาคอลเลคชั่น Tank ที่มีขนาดแตกต่างกันมากมายพร้อมรูปแบบโค้งมน ที่มีการเปิดตัวรุ่นใหม่หลายรุ่นในช่วงเวลานี้ โดยดีไซเนอร์ของ CARTIER สาขาลอนดอน นับว่าขึ้นชื่อในด้านความคิดสร้างสรรค์ และสำหรับลูกค้าที่มองหาความงามที่ไร้รูปแบบ พวกเขาก็ได้สร้างนาฬิกา Clash ขึ้นรวมไปถึงนาฬิกาที่มีรูปทรงแบบอสมมาตร ซึ่งต่างก็มีการออกแบบจากกราฟิคที่โดดเด่น

 

Picture99

 

ซึ่งหนึ่งในนาฬิการุ่นโปรดของ Jean-Jacques ก็คือนาฬิกาแบบ Oblique หรือนาฬิกาสำหรับขับขี่ ซึ่งมีตัวเรือนตั้งแบบอสมมาตร และเน้นแนวเส้นทแยงมุมโดยมีหมายเลข 12 และ 6 อยู่ที่มุมบนขวาและล่างซ้ายตามลำดับ พร้อมแนวคิดการมองตามแขนในขณะขับขี่ที่ซึ่งหมายเลข 12 จะชี้ขึ้น แทนที่จะไปปรากฏทางด้านซ้ายเหมือนนาฬิกาทั่วไป ซึ่งขั้นตอนการผลิตนาฬิกาใน CARTIER สาขาลอนดอนนั้นจะเกี่ยวข้องกับช่างฝีมือและแผนกต่างๆ มากมาย โดยเมื่อการออกแบบได้รับการอนุมัติจาก Jean-Jacques ในแต่ละสัปดาห์แล้ว จะมีการนัดหารือกับทาง JAEGER-LeCOULTRE เพื่อหากลไกที่สมบูรณ์แบบสำหรับนาฬิการุ่นนั้นๆ  จากนั้นจะถูกส่งต่อไปยังเวริ์คช็อปของ CARTIER บนถนนโรสเบอรี่ ซึ่งถือเป็นสถานที่ที่ Jean-Jacques พยายามเก็บไว้เป็นความลับเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะถูกโจรกรรมได้ โดยมี Albert Mayo หรือที่รู้จักในชื่อ Sam เป็นหัวหน้าเวริ์คช็อปและผู้สร้างชิ้นงานต้นแบบ โดยเขาทำแม่แบบนาฬิกาได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งถือเป็น "สูตรลับ" สำหรับนาฬิกาแต่ละรุ่น โดยรายละเอียดทั้งหมดจะเก็บไว้ในกระป๋องยาสูบเก่า ที่ซ้อนอยู่บนชั้นวางตรงมุมห้องทำงาน

Picture5

 

โดยกระป๋องทุกใบจะมีชื่อนาฬิการุ่นต่างๆ กำกับอยู่เช่น Classic Tank, อีกรุ่นของ JJC หรือ อีกรุ่นของ Small Oval ซึ่งภายในแต่ละกระป๋องจะมีรายละเอียดต่างๆ มากมายเช่นต้องใช้ทองคำน้ำหนักเท่าใด โดยจะเขียนกำกับด้วยลายมือของ Sam Mayo รวมทั้งแม่แบบบล็อคเหล็กที่แสดงถึงรูปร่างของตัวเรือนนาฬิกา และแม่แบบขนาดเล็กอื่นๆ สำหรับทุกชิ้นส่วนตั้งแต่หน้าปัด กลไกการทำงาน ไปจนถึงชิ้นส่วนโค้งต่างๆ เพื่อให้ช่างฝีมือสามารถประกอบนาฬิกาแต่ละเรือน ได้อย่างเหมาะสมและแม่นยำ แม้แต่กล่องใส่นาฬิกาแบบมาตรฐาน ยังต้องใช้เวลาในการสร้างโดยช่างฝีมืออาวุโสอีกประมาณ 35 ชั่วโมง รวมทั้งกล่องที่ซับซ้อนกว่านี้ก็ต้องใช้เวลานานกว่า และแน่นอนว่าด้วยมาตรฐานระดับสูงของ Jean-Jacques หากนาฬิกาเรือนใดไม่สมบูรณ์แบบ ก็จะถูกส่งกลับและสร้างใหม่ทั้งหมด และสุดท้ายกับการผลิตหัวเข็มขัดทองคำแบบพับได้ ซึ่งในปี 1909 JAEGER ได้จดสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกสำหรับ CARTIER โดยเฉพาะ โดยหัวเข็มขัดชนิดนี้จะมองไม่เห็นบานพับจากภายนอก แต่ยังคงสวมใส่ได้อย่างสะดวกสบายเช่นหัวเข็มขัดพร้อมบานพับแบบทั่วไป ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนา รวมถึงแนวทางในการผลิตของแบรนด์

 

Picture4

 

นอกจากนี้ในเวริ์คช็อปยังมี Albert Penny ช่างฝีมือด้านเครื่องหนังประจำอยู่อีกด้วย โดยเขาจะผลิตสายนาฬิกาแบบพิเศษให้พอดีกับข้อมือของลูกค้า ซึ่งในแต่ละสัปดาห์ ตัวเรือนนาฬิกา หัวเข็มขัด และสายแบบต่างๆ จะถูกใส่ลงในกระเป๋าเอกสาร และมอบให้กับเด็กฝึกงานเพื่อส่งไปยังแผนกผลิตนาฬิกาขนาดเล็ก ภายใต้การดูแลของ Eric Denton ที่ซึ่งชิ้นงานทองคำและสายจากเวร์คช็อป จะถูกประกอบเข้าด้วยกันจนเป็นนาฬิกาที่สมบูรณ์แบบที่ทำให้ CARTIER ถือเป็นนาฬิกาแบรนด์เดียวที่ผลิตแบบแฮนด์เมด ที่แม้แต่แซฟไฟร์ของชุดกลไกก็ต้องเจียรด้วยมือ ซึ่งเนื่องด้วยงานที่ต้องใช้เวลานานเช่นนี้ จำนวนการผลิตนาฬิกาจึงมีจำกัด และทำให้ลูกค้าจากทั่วทุกมุมโลก ต้องรอการส่งมอบนานถึงหลายเดือนโดย Jean-Jacques ยืนกรานที่จะให้มีกำลังการผลิตที่เหมาะสมในแต่ละปี เนื่องจากเขาเชื่อว่าส่วนหนึ่งของความหรูหรานั้นจะอยู่ในความพิเศษของชิ้นงาน ซึ่งในเวลาต่อมานาฬิกาเหล่านี้หลายรุ่นก็จะมีสถานะเป็นไอคอนนิค ในด้านการแสดงให้เห็นถึงจุดยืนอย่างเช่นนาฬิการุ่น Crash ที่เป็นตัวอย่างอันสมบูรณ์แบบของความคิดสร้างสรรค์แบบนอกกรอบ พร้อมการเป็นตัวอย่างของงานฝีมือระดับสูงที่ทำให้ CARTIER สาขาลอนดอนเป็นที่รู้จักมาโดยตลอด

 

Picture9

 

โปรดติดตามได้ในครั้งต่อไป โดยสามารถติดตามบทความก่อนหน้านี้ได้ที่

Untold Story “THE CARTIERS” Part I

Untold Story “THE CARTIERS” Part ll

Untold Story “THE CARTIERS” Part llI

Untold Story “THE CARTIERS” Part lV

Untold Story “THE CARTIERS” Part V 

Untold Story “THE CARTIERS” Part Vl

Untold Story “THE CARTIERS” Part VlI

Untold Story “THE CARTIERS” Part VlIl

Untold Story “THE CARTIERS” Part lX

Untold Story “THE CARTIERS” Part X

Untold Story “THE CARTIERS” Part XI

Untold Story “THE CARTIERS” Part XII

Untold Story “THE CARTIERS” Part XIIl

Untold Story “THE CARTIERS” Part XIV

Untold Story “THE CARTIERS” Part XV