Untold Story “The Cartiers” Part XVII

ในช่วงปลายยุค 60s ถึงช่วงต้นของ 70s สถานการณ์ของ CARTIER เป็นเรื่องที่ยากลำบาก จากการที่มีบริษัทที่ถูกกฎหมายถึงสามแห่งทำการตลาดพร้อมกันภายใต้ชื่อ CARTIER โดยแต่ละแห่งผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งในหลายครั้งการตัดสินใจของสาขาหนึ่ง กลับไม่เป็นประโยชน์สำหรับสาขาอื่นเลย อย่างเช่นในปี 1971 ที่ CARTIER สาขานิวยอร์คพยายามเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น ด้วยการสร้างนาฬิการุ่น Tank แบบโกลด์เพลทที่มีป้ายราคาอยู่ที่ 150 ดอลลาร์ หรือประมาณ 930 ดอลลาร์ในปัจจุบันนี้ ซึ่งถือเป็นการขยับตัวของสินค้าที่ได้รับความนิยมมากในอเมริกา แต่ในสายตาของบางคนซึ่งรวมไปถึง Jean-Jacques ที่มองว่าเป็นการเสี่ยงทำลายชื่อเสียงของ CARTIER โดยในทางกลับกันเมื่อสาขาหนึ่งดึงดูดการประชาสัมพันธ์ที่ดีในแบบนี้ ก็จะสะท้อนถึงสาขาอื่นๆ ได้เช่นเดียวกัน จากสายตาของสาธารณชนที่ CARTIER ยังคงเป็น CARTIER เช่นเดิมกับในสมัยที่พี่น้อง Cartier ยังคงทำงานร่วมกัน

 

2019 03 19 141452

 

โดยในปี 1968 CARTIER สาขานิวยอร์กได้ขึ้นหน้าหนึ่งของ The New York Times อีกครั้ง จากการขายกิจการเป็นครั้งที่สอง โดย Claude ลากออกจาก CARTIER ก่อนหน้านี้เป็นเวลา 5 ปีแล้ว และผันตัวเองเป็นนักลงทุนเอกชน พร้อมสนุกไปกับความสนใจกึ่งอาชีพของเขาในกีฬา Bobsledding รวมทั้งการยิงปืนยาว รวมไปถึงการสะสมแสตมป์ด้วย จากด้วยความผิดหวังกับลูกพี่ลูกน้องของเขา รวมไปถึงหลายคนที่รู้จักกับ Louis Cartier เป็นอย่างดี จากการที่ลูกชายของเขาได้ขายคอลเลคชั่นงานศิลปะ ะและเฟอร์นิเจอร์ของบิดาไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นการกระจายคอลเลคชั่นที่ยังคงโดดเด่นในยุคนั้น แต่ถือเป็นการกระทำที่ไม่ยุติธรรมต่อ Louis Cartier ผู้ยิ่งใหญ่ในสายตาของผู้ที่รู้จัก Louis เป็นอย่างดี โดยผู้ซื้อรายใหม่สำหรับ CARTIER สาขานิวยอร์กคือ Kenton Corporation บริษัทโฮลดิ้งแห่งใหม่ เป็นเจ้าของ Family Bargain Centers ซึ่งเป็นเครือข่ายร้านค้าลดราคาหลายร้าน

 

160460831756

 

CARTIER สาขานิวยอร์ก ตกอยู่ภายใต้การลงทุนของบริษัท Kenmore ที่ต้องการแนวทางและเลือดใหม่ ซึ่งจะถูกดำเนินการอย่างเป็นอิสระจากวงจรการค้าสินค้าลดราคา โดยมาตรฐานโดยนัยของ Kenmore คือจะไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดแม้ว่าจะมีแผน ที่จะขยายพื้นที่ร้าน CARTIER และกำหนดเป้าหมายลูกค้าที่อายุน้อยกว่า โดยต้องการให้คนหนุ่มสาวเข้ามาในร้านมากขึ้น เพื่ออัพเกรดให้เป็นลูกค้าชั้นสูงขึ้นในอนาคต พร้อมกับช่วงเวลาที่ไม่ดีของสินค้าหรูหราในลอนดอน จากการที่ภาษีเงินได้อยู่ในระดับสูงสุดถึง 75 เปอร์เซ็นต์ในปี 1971  ในขณะที่ผู้คนยังคงสนใจเครื่องประดับ แต่แค่ต้องการให้มีราคาที่ถูกกว่า แม้จะหมายถึงการใช้เครื่องจักรมากกว่างานฝีมือก็ตาม โดยเมื่อมีการผลิตสินค้าด้วยเครื่องจักรมากขึ้น Albert Pujol หัวหน้าเวริ์คช็อปของ CARTIER สาขานิวยอร์กจึงได้พูดคุยเกี่ยวกับผลกระทบต่อการค้าอัญมณี โดยรุ่นต่อๆ ไปอาจไม่มีเครื่องประดับที่ประดิษฐ์ขึ้นด้วยมืออีกแล้ว

 

Aldo Cipullo . Love Bracelet WIKI 2

 

พร้อมกับช่วงเวลาของโลกแห่งนาฬิกาก็กำลังจะหยุดชะงักเช่นกัน โดยในปี 1969 นาฬิกากลไกแบบควอท์ซเริ่มออกสู่ตลาดจากทางญี่ปุ่น ซึ่งกลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วในตะวันตก ในขณะที่คู่แข่งของ CARTIER เองในช่วงเวลานั้น เช่น BVLGARI ก็เริ่มใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ในทันที และนาฬิการะดับราคาไม่แพงมากก็เริ่มปรากฏขึ้นเต็มในตลาด กับนาฬิกาที่ผลิตขึ้นด้วยมือที่ CARTIER สั่งสมประสบการณ์มาโดยตลอด ก็มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นความล้าสมัยขึ้นทันทีในนิวยอร์ก ซึ่งในช่วงเวลานี้ Aldo Cipullo ดีไซเนอร์ชาวอิตาลีจากการว่าจ้างโดย Kenmore ก็เป็นผู้สร้างกำไลรุ่น Love ของ CARTIER ขึ้น โดยแนวคิดในการใช้นักออกแบบจากภายนอกนี้มีมาก่อนแล้ว พร้อมกับนโยบายที่ไม่เปิดเผยตัวตนของนักออกแบบ แต่ Kenmore และ Michael Thomas ประธาน CARTIER Inc. คนใหม่เชื่อว่าเรื่องนี้จะสะท้อนภาพบวกให้กับชาวอเมริกันมากขึ้น ซึ่งทาง TIFFANY เองก็ได้ทำและได้รับความสำเร็จไปแล้ว

 

uploaded 1

 

กำไล Love ประกอบไปด้วยชิ้นทองคำครึ่งวงกลมสองวง ที่ยึดติดกันด้วยสกรูว์ขนาดเล็กสองตัว โดยต้องใช้ไขควงขนาดเล็กที่ให้มาในชุด โดยกำไล Love นี้ตั้งใจให้ใส่หรือถอดได้ด้วยตัวเองซึ่ง Cipullo กล่าวว่า  "ความรักกลายเป็นเรื่องเชิงพาณิชย์มากเกินไปในยุคปัจจุบัน แต่ชีวิตที่ปราศจากความรักก็ถือว่าไม่มีอะไรเลยเหมือนกัน ดังนั้นสิ่งที่คนสมัยใหม่ต้องการคือสัญลักษณ์แห่งความรัก ที่ดูกึ่งถาวรหรืออย่างน้อยก็ต้องมีเคล็ดลับในการใส่และถอดออก แต่อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์แห่งความรักก็ควรบ่งบอกถึงคุณภาพอันเป็นนิรันดร์” ซึ่ง CARTIER สาขานิวยอร์กทำการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นในปี 1970 ด้วยการมอบให้กับคู่สามีภรรยาผู้มีชื่อเสียงจำนวน 25 คู่ แม้จะมีปัญหากับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสายการบิน กับปัญหาของเครื่องเอ็ก-เรย์เมื่อผ่านด่านและผู้โดยสารทิ้งไขควงไว้ที่บ้าน รวมไปถึงกลุ่มสตรีนิยมที่เห็นว่าไปคล้ายกับเข็มขัดพรหมจรรย์ ซึ่งอย่างไรก็ตามกำไล Love ก็ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ดีสำหรับ CARTIER ในช่วงนั้น

Pasted into ประวตแบรนด Cartier ความสงางามแหงอญมณของโลก 2

 

นอกจากนี้ Michael Thomas ยังได้เริ่มทดลองรูปแบบใหม่ของสินค้าและการตลาดในช่วงเวลานี้ ด้วยการเริ่มต้นแนะนำสินค้าแบรนด์ร่วมในนาม CARTIER กับนาฬิกา ROLEX, กับเครื่องประดับ DINH VAN ซึ่งเป็นนักอัญมณีชื่อดังชาวฝรั่งเศส รวมไปถึง Roger Lucas นักออกแบบชาวแคนาดาอีกด้วย ในขณะที่ Jean-Jacques ยังคงทุ่มเทพลังของเขาในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ที่สร้างขึ้นเองทั้งหมดในลอนดอน แต่เขาก็รู้ด้วยว่าเขาต้องปรับตัวอย่างหนักเพื่อความอยู่รอด รวมทั้งลองใช้กลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์ รวมไปถึงแผนการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ให้มีมากขึ้น กับงานเลี้ยงค็อกเทล และงานการแสดงนิทรรศการทั่วประเทศ ซึ่งไม่ใช่แค่ในสาขาลอนดอน แต่ก็ถือเป็นเรื่องยากมากที่จะทำเงินให้เพียงพอ จากการสร้างสรรค์งานที่ผลิตขึ้นด้วยมือซึ่งต้องอาศัยเวลามากกว่า ในขณะที่ความต้องการระดับไฮเอนด์ที่ลดลงไปนั้น จำกัดอำนาจการกำหนดราคาของ CARTIER ไปในตัว

 

Screen Shot 2566 02 05 at 23.26.56

 

รวมทั้งกลายเป็นกรณีที่มาร์จิ้นของสินค้าจะต่ำมากซึ่ง Jean-Jacques ก็ไม่สามารถขึ้นราคาได้โดยที่ไม่สูญเสียกลุ่มลูกค้าไป ต่างกับสมัยที่มหาราชาอินเดียจับจ่ายซื้อของโดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่าย หรือทายาทชาวอเมริกันที่นำโชคมาสู่ดยุคของอังกฤษ พื้นฐานของโลกแห่งความหรูหรากำลังเปลี่ยนไปและ CARTIER สาขาลอนดอนก็ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง ไม่นานหลังจากสร้างคอลเลกชั่นอัญมณีใหม่ Jean-Jacques ก็ได้ว่าจ้างเอเจนซี่การตลาดเพื่อสำรวจตลาด และผลลัพธ์ที่ได้ก็น่าผิดหวังเมื่อสินค้าของ CARTIER ไม่ตรงกับกลุ่มลูกค้าในยุคนั้นเสียแล้ว และดูเหมือนว่ายุคของกางเกงยีนส์และนาฬิกาแบบดิจิทัล แบบเรียบง่ายที่เหมือนจะไม่มีรสนิยม จะกลายเป็นแฟชั่นฮิตสำหรับผู้คนซึ่ง Jean-Jacques เองก็รู้สึกท้อแท้กับสิ่งที่เขาทำ ทั้งที่เป็นสิ่งที่เขารักและบากบั่นทำมาโดยตลอด ในขณะที่ CARTIER สาขาปารีสเองก็ถูกขายอีกครั้งให้กับ Robert Hocq ผู้ประกอบการชาวฝรั่งเศสที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เกี่ยวกับที่จุดบุหรี่แบบใช้แก๊ส

 

 2954895

 

บริษัท Silver Match ของเขาได้กลายเป็นหนึ่งในแบรนด์ไฟแช็กชั้นนำทั่วโลก และหลังจากการที่พูดคุยกับ VAN CLEEF & ARPELS ที่ดูเหมือนจะไม่ได้ผล Hocq จึงติดต่อ Calmette ที่ CARTIER สาขาปารีส และตกลงทำการตลาดไฟแช็คของเขาในชื่อของ CARTIER โดยใช้ชื่อบริษัทว่า CARTIER Briquet S.A. โดยไฟแช็กแบรนด์ CARTIER ของเขาประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อเล็งเห็นถึงศักยภาพที่มากขึ้น Hocq จึงติดต่อพี่น้อง Danziger เพื่อขอเสนอซื้อกิจการ CARTIER สาขาปารีสจากพวกเขาโดย Danzigers เปิดรับแนวคิดเรื่องการขายนี้โดยให้ Hocq ร่วมกับหุ้นส่วนธุรกิจของเขา Joseph Kanoui เพื่อรวบรวมกลุ่มขึ้นเพื่อการซื้อกิจการ และไม่นานหลังจากนั้น ในปี 1972 เมื่อ Nelly ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 90 ปี ซึ่งเธอคือคนรุ่นก่อนคนสุดท้ายที่จากไป Jean-Jacques ซึ่งสนิทกับแม่เป็นพิเศษจึงคิดถึงเธอมาก โดยตลอด 27 ปีนับตั้งแต่เขารับตำแหน่งต่อจาก Jacques แม่ของเขาก็คอยให้กำลังใจเขาอยู่เบื้องหลังมาโดยตลอด

 

 

 

โปรดติดตามตอนสุดท้ายได้ในครั้งต่อไป และสามารถติดตามตอนก่อนหน้านี้ได้ที่

Untold Story “THE CARTIERS” Part I

Untold Story “THE CARTIERS” Part ll

Untold Story “THE CARTIERS” Part llI

Untold Story “THE CARTIERS” Part lV

Untold Story “THE CARTIERS” Part V 

Untold Story “THE CARTIERS” Part Vl

Untold Story “THE CARTIERS” Part VlI

Untold Story “THE CARTIERS” Part VlIl

Untold Story “THE CARTIERS” Part lX

Untold Story “THE CARTIERS” Part X

Untold Story “THE CARTIERS” Part XI

Untold Story “THE CARTIERS” Part XII

Untold Story “THE CARTIERS” Part XIIl

Untold Story “THE CARTIERS” Part XIV

Untold Story “THE CARTIERS” Part XV 

Untold Story “THE CARTIERS” Part XVI