Untold Story “THE CARTIERS” Part VI

อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ Pierre นำมาปรับใช้กับสังคมอเมริกา นั่นก็คือการติดต่อบริษัทผู้ผลิตสมุดโทรศัพท์ให้สำหรับโรงแรมเพื่อให้มี Jewelry Cartier 712 Fifth Avenue รวมอยู่ด้วย ซึ่งเขาเชื่อว่าคู่รักที่เข้าพักในโรงแรมใกล้แหล่งการค้าชั้นนำเหล่านี้ อาจต้องการซื้อของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งเกี่ยวพันกับช่วงเวลาอันมีค่าของพวกเขา หรือบางรายอาจไม่ได้นำเครื่องประดับมาและต้องการใช้งานอย่างเร่งด่วน นอกจากนั้น Pierre ยังได้นำแนวคิดนี้ไปใช้เพิ่มเติมกับพนักงานยกกระเป๋าของโรงแรม รวมทั้งพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารชั้นเลิศ และยังรวมไปถึงเด็กส่งดอกไม้ และผู้ช่วยร้านช็อคโกแล็ตชั้นดีในการให้ค่าตอบแทนพิเศษ เมื่อพวกเขาสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับ CARTIER กับลูกค้าเหล่านี้ได้

 

Screen Shot 2565 05 29 at 22.20.53

 

หลายเดือนหลังจาก Pierre เปิดสาขาในนิวยอร์ก CARTIER ได้ติดต่อซื้อโฮปไดมอนด์ (Hope Diamond) จาก Thomas Hope นายธนาคารชาวดัตช์-อังกฤษ ที่ครอบครัวของเขาเป็นเจ้าของอัญมณีชิ้นนี้มาหลายชั่วอายุคน ตลอดศตวรรษที่ 19  โดยก่อนที่จะมาถึง Pierre อัญมณีชิ้นนี้ได้ถูกเปลี่ยนมือมาแล้วหลายครั้งในเวลาไม่กี่เดือนทั้งจาก Simon Frankel พ่อค้าเพชรในนิวยอร์กและส่งต่อไปยังนักสะสมในตุรกี จากนั้นก็ส่งต่อไปยังพ่อค้าชาวฝรั่งเศส Rosenau ที่ซึ่งสุดท้าย CARTIER ได้มาด้วยราคา 500,000 ฟรังก์ (ประมาณ 2.2 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) ซึ่งแม้ว่าอัญมณีจะมีความงดงามแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหาลูกค้าที่ร่ำรวย บวกกับความคลั่งไคล้เพชรมากพอที่จะต้องการเพชรสีน้ำเงินขนาดใหญ่นี้

 

Screen Shot 2565 05 29 at 22.57.22

 

รวมไปถึงคำสาปของเพชรชิ้นนี้ ดังตัวอย่างเช่น Frankel ที่ไม่สามารถหาผู้ซื้อได้เป็นเวลาเจ็ดปี และการเงินของเขาต้องตกอยู่ในภาวะคับขัน จนทำให้เขาต้องยอมขายในราคาที่ต่ำมาก โดย Hope Diamond สีน้ำเงิน 45 กะรัตที่ถูกสาปแช่งนี้ ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Tavernier Blue นับตั้งแต่การค้นพบในศตวรรษที่ 17 ของอินเดียโดย Jean-Baptiste Tavernier พ่อค้าอัญมณีชาวฝรั่งเศส ผู้คนจำนวนมากที่เป็นเจ้าของ หรือแม้แต่ผู้ที่เกี่ยวพันกับเพชรเม็ดนี้ มักได้รับการกล่าวขานว่าต้องเผชิญชะตากรรมอันเลวร้าย โดยมีหลายเหตุการณ์ที่เชื่อได้และมักจะเชื่อมโยงกับเพชรอยู่เสมอ ดังเช่นในกรณีของราชินี Marie Antoinette และพระเจ้า Louis ที่ 16 ผู้ชื่นชอบเพชร และถูกนำไปสู่การตัดศีรษะระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส

 

M125

 

แต่ CARTIER ก็มีความมั่นใจมากพอที่จะขาย Hope Diamond ให้ได้ท่ามกลางคำเตือนของสื่อมวลชนในปี 1908 ที่มีคนพูดว่า “ผู้ค้าเพชรจะไม่มีวันอยู่ในตำแหน่งที่สูงสุดในวงการตราบใดที่ Hope Diamond ยังคงอยู่ในกรรมสิทธิ์ของพวกเขา” ในขณะที่ Pierre กลับเชื่อว่าความอื้อฉาวของอัญมณีนี้นั้น จะทำหน้าที่แทนเขาได้ และเขาก็มีรายชื่อลูกค้าอยู่ในใจแล้ว ซึ่งนั่นก็คือทายาทหญิงชาวอเมริกัน Evalyn Walsh McLean ลูกสาวของผู้ร่ำรวยมหาศาลกับกิจการทองคำ จากเหมืองทองคำแหล่งที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปี 1908 เมื่อเธออายุได้ 22 ปี Evalyn ก็แต่งงานกับเด็กหนุ่มอายุ 19 ปี Ned McLean จากตระกูลเจ้าของ Washington Post สื่อหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียงมากในขณะนั้น

 

Screen Shot 2565 05 29 at 23.59.45

 

Evalyn เป็นผู้ที่หลงใหลในอัญมณีอย่างคลั่งไคล้ เคยซื้อเพชรขนาด 94.8 กะรัตกับ Cartier ด้วยราคาถึง 600,000 ฟรังค์ (2.6 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) ซึ่งต่อมาในปี 1910 Pierre ก็ได้นัดพบกับ Evalyn และ Ned ในขณะที่ทั้งคู่ท่องเที่ยวอยู่ในฝรั่งเศสซึ่ง Pierre หวังว่าพวกเขาทั้งสองจะตกลงใจกับ Hope Diamond เมื่อรู้ว่าเครื่องประดับที่พวกเขากำลังค้นหานั้นลึกลับและสำคัญขนาดไหน โดย Pierre เล่าย้อนรอยประวัติศาสตร์อันโด่งดังของอัญมณี เริ่มจากสถานที่อันโดดเด่นท่ามกลางเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของฝรั่งเศสมานานกว่าศตวรรษ ไปจนถึงขุนนางในลอนดอนและสุลต่านของตุรกี แต่ก็น่าเสียดายที่คู่รักคู่นี้ไม่ยินดีในทันทีที่จะรับไว้ หรือพวกเขามีความวิตกเกี่ยวกับคำสาป หรือพวกเขาหมดเงินที่ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยต่อไป Pierre ได้แต่วิตก

 

Screen Shot 2565 05 29 at 23.18.01

 

ด้วยความตั้งใจแน่วแน่ในสัญชาตญาณของเขา Pierre เปลี่ยนแผนสำรองทันที โดยเขาส่ง Hope Diamond ไปยังอเมริกาและเปลี่ยนรูปแบบโดยมีกรอบวงรี ของเพชรขนาดเล็กที่เสริมกับตัวเพชรใหญ่ และเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้า Pierre ได้ติดต่อเพื่อส่งสร้อยคอพร้อมจี้เพชรขนาดใหญ่ประดับ Hope Diamond ให้ Evalyn ในทันทีโดยตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อเธอมีสร้อยคออยู่ในครอบครองแล้ว แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เธอจะส่งคืนกลับมา เพราะเธอจะเคยชินกับการได้รับสิ่งของไม่ใช่การส่งคืน และก็เป็นจริงตามที่ Pierre ได้คาดการณ์ไว้ วันรุ่งขึ้นเขาได้รับข่าวว่า McLean จะซื้อ Hope Diamond ที่ราคา 180,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 5 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) ซึ่งการจ่ายงวดแรกจะเป็นเงิน 40,000 ดอลลาร์ให้กับ CARTIER

 

Screen Shot 2565 05 29 at 23.07.57

 

และความกลัวในคำสาปของเพชรรวมทั้งคำเตือนจากหลายฝ่ายทำให้ Evalyn พยายามที่จะยกเลิกการซื้อขายหลายครั้งจนกระทั่งต้องมีการฟ้องร้องซึ่ง Cartier ไม่สามารถยอมได้ตามกฎหมายการซื้อขายและในที่สุด Evalyn จึงจำใจต้องเปลี่ยนความเชื่อและประกาศต่อสาธารณชนว่า  “ฉันจะใส่เพชรของฉันเป็นเครื่องราง” ซึ่งในที่สุดการขายนี้ก็สิ้นสุดลงในต้นปี 1912 แต่อย่างไรก็ตามการขาย Hope Diamond เม็ดนี้ไม่ถือเป็นผลดีต่อ CARTIER ซักเท่าไหร่เพราะหลังจากการหักค่าธรรมเนียมทางกฎหมายทั้งหมดทาง CARTIER ก็ยังถือว่าขาดทุนจากค่าใช้จ่ายระหว่างช่วงเวลาเหล่านี้อยู่ดี ในขณะที่ Evalyn แม้จะไม่เคยเชื่อเกี่ยวกับคำสาป แต่เธอก็ต้องประสบกับความโชคร้ายมากพอสมควรตลอดช่วงชีวิตของเธอ

 

Screen Shot 2565 05 29 at 22.28.04

 

โดย Ned สามีของเธอหนีไปกับผู้หญิงคนอื่นและเสียชีวิตในสถานบำบัดทางจิต หนังสือพิมพ์กิจการครอบครัวของพวกเขา The Washington Post ก็ล้มละลาย ส่วนลูกชายของเธอก็เสียชีวิตกับอุบัติเหตุทางรถยนต์ รวมทั้งลูกสาวของเธอก็เสียชีวิตด้วยการใช้ยาเกินขนาด ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้อาจมองว่าเป็นเรื่องบังเอิญของครอบครัว McLean แต่ก็เพียงพอที่จะสนับสนุนความอื้อฉาวของ Hope Diamond ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งหลังจากนั้น Eva Stotesbury ภรรยาของมือขวาบริษัท  J.P. Morgan ได้ช่วงชิง Hope Diamond  มาได้ ซึ่งเธอได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า Stotesbury Emerald เพื่อนำมาสร้างชุดอัญมณีร่วมกับอัญมณีล้ำค่าอื่นๆ และเมื่อ Stotesbury Emerald ถูกประมูลที่ Sotheby's ในปี 2017 ก็ประมูลไปได้ถึงเกือบ 1 ล้านดอลลาร์

 

90

 

โปรดติดตามตอนต่อไปในเดือนหน้า และสามารถติดตามบทความ Untold Story “THE CARTIERS” ตอนก่อนหน้านี้ได้ที่

 

Untold Story “THE CARTIERS” Part I

Untold Story “THE CARTIERS” Part ll

Untold Story “THE CARTIERS” Part llI

Untold Story “THE CARTIERS” Part lV

Untold Story “THE CARTIERS” Part V