The Journey to Sustainable Luxury
ในงาน Watches and Wonders Geneva 2023, Caroline และ Karl-Friedrich Scheufele ประธานร่วมของ CHOPARD ร่วมกับ Julia Roberts แอมบาสเดอร์ของแบรนด์ได้เผยถึงขั้นตอนล่าสุดในการเดินทางสู่ความหรูหราที่ยั่งยืนของแบรนด์ ผ่านการสัมภาษณ์โดย Alexandre Kouchner โดยพวกเขาประกาศความมุ่งมั่นของ CHOPARD ในการเปิดตัววัสดุสตีลรีไซเคิลสำหรับนาฬิกาทั้งหมดภายในสิ้นปี 2023 โดยทางแบรนด์จะเลือกใช้ลูเซนท์สตีล (Lucent Steel™) ทั้งหมดสำหรับการผลิตนาฬิการวมไปถึงสายนาฬิกา โดยนาฬิกาที่ผลิตจากลูเซนท์สตีลจะมาจากการรีไซเคิลอย่างน้อย 80% ซึ่งจะเพิ่มไปถึงอย่างน้อย 90% ได้ภายในปี 2025
“ในโลกปัจจุบันเมซงที่หรูหราเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักสำหรับการเปลี่ยนแปลงและ CHOPARD ก็เป็นผู้บุกเบิกในด้านความยั่งยืนมาโดยตลอดฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกันกับ CHOPARD ซึ่งด้วยความมุ่งมั่นต่อความรับผิดชอบในสังคมที่มากขึ้นนี้ทำให้ฉันรู้สึกดีมากที่ได้สวมใส่นาฬิกาของเมซงที่รับรู้ว่าผลิตขึ้นด้วยแนวทางที่คำนึงถึงความยั่งยืน” Julia Robertsแบรนด์แอมบาสเดอร์ของ CHOPARD ตั้งแต่ปี 2021 กล่าวในโอกาสของการประกาศความมุ่งมั่นนี้ พร้อมกันกับที่นาฬิการุ่นใหม่ล่าสุดที่จัดแสดงในงาน Watches and Wonders 2023 ที่มีตัวเรือนและสายสตีล ต่างเริ่มใช้วัสดุลูเซนท์สตีลทั้งหมด
ซึ่งผลที่ตามมาของความมุ่งมั่นนี้ CHOPARD จะลดคาร์บอนฟุตพรินต์ของสตีลลงได้อย่างมาก เพื่อรับรองความมุ่งมั่นของ CHOPARD ในการเป็นเมซงที่ผลิตสินค้าหรูหราแห่งแรกที่เข้าร่วมโครงการ SteelZero ของ CLIMATE GROUP ในการเร่งการเปลี่ยนการใช้งานสินค้าจำนวนมากไปสู่สตีลรีไซเคิล โดยการเดินทางสู่ความหรูหราอย่างยั่งยืนนี้เป็นโครงการระยะยาวที่ CHOPARD ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2013 เพื่อให้ความเคารพต่อทางสังคมและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมจากการผลิตสินค้าหรูหรา พร้อมอีกหนึ่งส่วนสำคัญจากการที่ CHOPARD ได้ใช้ทองคำที่มีกระบวนการผลิตอย่างมีจริยธรรม 100% มาตั้งแต่ปี 2018 อย่างต่อเนื่อง
“CHOPARD มุ่งมั่นที่จะดำเนินกระบวนการระยะยาว ในการจัดหาและใช้วัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบ เราภูมิใจกับผลงานที่เราทำสำเร็จในเวลาเพียง10 ปี ด้วยการจัดหาทองคำอย่างมีจริยธรรมของเรา ซึ่งเริ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2013 โดยมีเป้าหมายที่จะใช้ทองคำที่มีกระบวนการผลิตอย่างมีจริยธรรม 100% ในโรงงานของเราภายในปี 2018 ตามมาด้วยความมุ่งมั่นของเราต่อสตีลรีไซเคิล 80% ในปัจจุบัน ซึ่งเรากำลังเข้าใกล้เป้าหมายในการผลิตนาฬิกาและเครื่องประดับที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างเต็มที่” Karl-Friedrich Scheufele ประธานร่วมของ CHOPARD อธิบายเพิ่มเติมถึงการประกาศความมุ่งมั่นในครั้งนี้
“ความท้าทายในการจัดหาสตีลนั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับความท้าทายที่เราเคยพบกับวัสดุทองคำ ซึ่งแม้เราจะมีเป้าหมายเดียวแต่ก็มีหลายวิธีที่แตกต่างกันไปเพื่อให้ไปได้ถึงจุดหมายในขณะที่ทองคำทำให้เรามุ่งเน้นไปที่สภาพการทำงานของช่างฝีมือ ส่วนสตีลเป็นโอกาสสำหรับเราในการจัดการเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” Caroline Scheufele ประธานร่วมและผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของ CHOPARD กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวคิดที่จะทำให้แบรนด์ เป็นแบรนด์นาฬิกาและเครื่องประดับแบรนด์แรกของโลก ที่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จากการใช้วัสดุด้านการผลิตครบทุกชนิด