RUDIS SYLVA, Tracing back horological skills

ภูเขาหรือที่ราบสูงขนาดใหญ่ ที่สูงตระหง่านเหนือระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรและปกคลุมไปด้วยต้นสน อันสูงตระหง่านของแถบเทือกเขาจูรา พร้อมการจับจองเป็นเจ้าของพื้นที่อย่างสมบูรณ์ โดยการยกเว้นภาษีจากคำสั่ง ของสังฆมณฑลแห่งแคว้นบาเซิล ในการสร้างชุมชนตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 14 จนเกิดเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ตั้งถิ่นฐาน กลุ่มแรกในพื้นที่พร้อมการตั้งชื่อว่าเลอบุยส์ (Les Bois) ที่หมายถึงป่าไม้ รวมทั้งเลอนอร์-มง (Le Noir-Mont) ที่มีความหมายว่าภูเขาสีดำ สู่เส้นทางอันยิ่งใหญ่และรุ่งโรจน์ ในเรื่องของเครื่องบอกเวลา
 

Screenshot 2568 06 07 at 23.49.21

 

ในพื้นที่ที่รวมเรียกกันว่าฟรองซ์มงตาญ (Franche Montagne) ที่มีผู้ตั้งถิ่นฐานจำนวนมาก เดินทางมายังภูมิภาคนี้เพื่อสร้างฟาร์ม ที่ในช่วงฤดูหนาวอันเย็นยะเยือก ก็นำพาให้เหล่าเกษตรกรเหล่านี้ ต้องหางานอื่นทำซึ่งนั่นก็คือการใช้เครื่องมือพิเศษ ในการผลิตลูกไม้และถุงน่องจนนำมาสู่ความเชี่ยวชาญ ในการจัดการกับเครื่องมือเหล่านี้ และสามารถพัฒนาให้กลายเป็นเครื่องมือ ในการผลิตชิ้นส่วนนาฬิกาที่มีความต้องการ ในตลาดเพิ่มมากขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 17 จนกระทั่งทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วน

 

Screenshot 2568 06 07 at 23.42.56

 

นาฬิกาชั้นนำไปได้โดยปริยาย ซึ่งว่ากันว่าช่างนาฬิกาคนแรกๆ ในภูมิภาคนี้ก็คือ Girard, François-J. Froidevaux หรือ J-B Mauvais ณ หมู่บ้านในแถบเลอบุยส์ราวปี 1769 โดยเขาสามารถผลิตชิ้นส่วนกลไกเปล่าออกสู่ตลาดได้ นอกจากนี้ยังมี Joseph Bouverat ช่างผลิตตัวเรือนนาฬิกาในช่วงปี 1730 ณ เลอนอร์มง รวมทั้งช่างวิศวกร François Surdez ที่ต่างก็นั่งทำงานตรงกระจกหน้าต่างของฟาร์ม ซึ่งหน้าต่างจำนวนมากของฟาร์มเหล่านี้ จะแสดงให้เห็นถึงกิจกรรม ในด้านการผลิตนาฬิกาที่เกิดขึ้น ณ ฟาร์มแต่ละแห่ง

 

Screenshot 2568 06 07 at 23.40.14

 

โดยมีฟาร์มจำนวนมากในเขตลาโชซ์-เดอ-ฟองซ์ (La Chaux-de-Fonds) ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงมรดกอันยาวนาน ของการผลิตนาฬิกาในสวิตเซอร์แลนด์ โดยยิ่งฟาร์มใดมีหน้าต่างบานใหญ่ขึ้น ก็จะแสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งของฟาร์มนั้นๆ เพราะช่างฝีมือจะต้องนั่งทำงานอยู่หลังหน้าต่างแต่ละบาน ซึ่งในชั้นล่างหน้าต่างเหล่านี้จะติดตั้ง ลูกกรงเพื่อการป้องกันจากการบุกรุกของหมี และโต๊ะขนาดใหญ่ที่ใช้ผลิตชิ้นส่วน เพื่อการประกอบนาฬิกาชิ้นต่างๆ ยังมีเตาเพื่อใช้หลอมวัตถุดิบต่างๆ ไปพร้อมกันอีกด้วย

 

Screenshot 2568 06 07 at 23.57.28

 

เช่นเดียวกันกับ RUDIS SLYVA ที่มาจากชื่อของ Jean Ruedin ผู้บุกเบิกและตั้งถิ่นฐานในยุคแรกๆ ของแถบนี้และ SYLVA ซึ่งเป็นภาษาละตินที่หมายถึง 'ป่า' สู่การรวบรวมประวัติศาสตร์ อันยาวนานในการผลิตนาฬิกาของพื้นที่แถบนี้ ที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนพร้อมแนวคิด ในการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำเสนอเรือนเวลาที่แสดงให้เห็นได้ ถึงความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต ของชุมชนในภูมิภาคแห่งนี้ในแง่มุมที่ดีที่สุดให้กับโลก พร้อมเรือนเวลาที่มีต้นกำเนิดมาจากสูตรทางคณิตศาสตร์​

 

02 Sy

 

พร้อมการถ่ายทอดผ่านจินตนาการของนักออกแบบ ในเวิร์กช็อปสู่การตกแต่งในด้านต่างๆ โดยช่างฝีมือผู้มีความชำนาญการ เพื่อการปฏิวัติวงการนาฬิกากับชุดออสซิลเลเตอร์ฮาร์โมเนียส อันเป็นระบบที่มีบาลานซ์วีลสองชุด ที่เชื่อมต่อกันแต่ขับเคลื่อนด้วยชุดสปริงเพียงชุดเดียว ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางด้านเทคนิคที่ล้ำสมัย และทำให้สามารถได้ค่าที่แม่นยำ มากกว่าชุดตูร์บิยองแบบปกติ จากชุดบาลานซ์สปริงที่จะหมุนไปรอบๆ ในทุกตำแหน่ง โดยมี Mr. Mika Rissanen ช่างนาฬิกาผู้เชี่ยวชาญในชุดกลไก

 

01 Sy

 

แบบซับซ้อนระดับสูงที่ทำงานให้กับ RUDIS SYLVA และยังเป็นผู้ที่คิดคิดค้นชุดกลไกที่ได้รับสิทธิบัตรนี้ โดยข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคของชุดกลไกนี้มีตั้งแต่ ชุดบาลานซ์วีลแบบฟันเฟืองสองชุดที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งการผสานกันนี้ทำให้เกิดค่าแอมพลิจูดที่เท่ากัน และความสมมาตรต่อพลังของชุดสปริง จะตรงข้ามกันตลอดเวลา ทำให้สามารถปรับค่าเฉลี่ยได้ในทันที ขณะที่อยู่ในตำแหน่งแนวตั้ง ซึ่งจะช่วยขจัดผลกระทบของแรงโน้มถ่วงที่มี โดยชุดกลไกนี้จะทำงานที่ความถี่ระดับ 21,600 รอบต่อชั่วโมงหรือ 3 เฮริท์ซ

 

03 Sy

 

และชุดกรงที่ผลิตขึ้นจากวัสดุ ชนิดพิเศษนี้จะหมุนวนในแบบ 360 องศาและจะเท่ากับ 60 วินาทีในหนึ่งรอบจากลานที่ขึ้นได้จากกลไกการไขลานด้วยมือ เพื่อให้พลังสำรองลานยาวนานประมาณ 70 ชั่วโมง โดยฮาร์โมเนียสออสซิเลเตอร์จะมีความแม่นยำมากกว่าชุดตูร์บิยองทั่วไป จากค่าแอมพลิจูดที่วัดได้ในทุกๆ ตำแหน่ง ทั้งในตำแหน่งที่มีค่าที่สูง หรือในตำแหน่งที่มีค่าที่ต่ำ จากการทดสอบในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงในแนวตั้ง ที่ถือเป็นจุดที่ได้รับผลกระทบ จากแรงโน้มถ่วงในระดับสูงสุดของชุดกลไกโดยทั่วไป