High Horology, High Technology, High Performance, Part II

นาฬิกาที่มีประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยม แต่ยังคงไว้เพื่อความสมดุลทางสายตา ที่เพิ่มเสน่ห์อันสะดุดตาให้กับนาฬิกา เพราะท้ายที่สุดแล้ว ใครจะไม่ชื่นชอบนาฬิกาที่ทั้งสวยงาม และมีประสิทธิภาพเหนือชั้นเรือน แม้อาจมีคำถามว่าทำไม ULYSSE NARDIN จึงไม่เลือกตัดกลไกกักเก็บพลังงานออกจาก Diver [AIR] เพื่อทำให้นาฬิกามีน้ำหนักเบาขึ้นได้อีก ซึ่งคำตอบอยู่ที่มาตรฐานที่เข้มงวดตามที่นาฬิกาดำน้ำต้องมี นอกจากนี้กลไกคาลิเบอร์ UN-374 นี้ยังมาพร้อมกับพลังสำรองลานที่ยาวนานถึง 90 ชั่วโมง

 

Screenshot 2568 06 02 at 13.27.19

 

ที่ต้องขอบคุณการออกแบบชุดบาร์เรล ในแบบลอยตัวที่เป็นอีกหนึ่งในนวัตกรรมของ Diver [AIR] ที่มาพร้อมกับสายยางอัลตร้าไลท์ ที่ให้ความยืดหยุ่นได้ดีจำนวนสองชุดทั้งสีขาวและสีส้ม เพื่อความสะดวกสบายในการสวมใส่ พร้อมชุดล็อคสายที่ป้องกันรอยขีดข่วน ให้กับชุดสายและเพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งานอีกเช่นกัน โดยสายทั้งสองสามารถเปลี่ยนได้ง่ายๆ ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆ รวมกันทำให้นาฬิกายังคงความหลากหลาย แต่สามารถใช้งานได้สะดวกสบายอย่างเต็มที่

Screenshot 2568 06 02 at 13.29.39

 

นั่นเพราะการสร้างนาฬิกาดำน้ำ แบบกลไกที่มีความเบามากที่สุดในโลก จะไม่ใช่เพียงแค่การตัดชิ้นส่วนออกไปเท่านั้น แต่ยังเป็นการผสมผสานนวัตกรรม และความเชี่ยวชาญอันลึกซึ้ง ซึ่งเพื่อการจะบรรลุในเป้าหมายนี้ ULYSSE NARDIN จึงได้นำความเชี่ยวชาญที่มีมากกว่า 20 ปีในด้านวัสดุที่มีเทคโนโลยีสูง มาใช้ร่วมในการพัฒนาทั้งหมด รวมไปถึงการใช้ตารางธาตุที่แสดงให้เห็นถึงวัสดุที่ล้ำสมัยต่างๆ มากมาย เพื่อผลักดันให้กลไกคาลิเบอร์ UN-374 ไปสู่ขีดสุดของความเบาที่ทำลายสถิติโลก

 

Screenshot 2568 06 02 at 13.35.28

 

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว กลไกนาฬิกาจะถูกสร้างจากบราสซ์ ซึ่งมีความหนาแน่นถึง 8.7 กรัม/เซ็นติเมตร³ ซึ่งทำให้ค่อนข้างมีน้ำหนักที่สูง ส่วนอะลูมิเนียมจะมีความหนาแน่นที่ 2.7 กรัม/เซ็นติเมตร³ ซึ่งเบากว่ามาก แต่เนื่องจากความอ่อนตัวของวัสดุ จึงทำให้ไม่เหมาะกับข้อกำหนดที่เข้มงวดของกลไกนาฬิกา และกับไทเทเนียมซึ่งมีความหนาแน่นที่ 4.5 กรัม/เซ็นติเมตร³ จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีความแข็งแกร่งมากกว่าสตีลถึง 45% แต่การขึ้นรูปนั้นกลับทำได้ยากมาก อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะติดไฟ

 

Screenshot 2568 06 02 at 13.28.37

 

ในระหว่างกระบวนการผลิต จึงต้องการการดูแลอย่างระมัดระวัง พร้อมการใช้เวลาที่มากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ไทเทเนียมไม่ค่อยถูกใช้ ในชุดกลไกนาฬิกาอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ULYSSE NARDIN เลือกใช้ไทเทเนียมนี้เป็นครั้งแรกในชุดกลไกของแบรนด์ ซึ่งทั้งทนทานและเบาโดยถือเป็นการนำเสนอ ในด้านความคิดสร้างสรรค์ที่ก้าวล้ำของแบรนด์พร้อมการผสานกลไกซิลิคอนที่มีคุณสมบัติ ในการต้านทานสนามแม่เหล็ก และมีน้ำหนักที่เบาเข้ากับชุดเอสเคปเมนท์

 

Screenshot 2568 06 02 at 13.27.30

 

อันเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมความแม่นยำในการแสดงเวลา โดยมีน้ำหนักเพียงครึ่งหนึ่งของชุดบาลานซ์ในแบบดั้งเดิม แต่ก็ไม่ใช่เพียงแค่ชุดกลไกเท่านั้นที่ถูกพัฒนา กับตัวเรือนในขนาด 44 มิลลิเมตรใหม่ ก็ยังต้องผ่านการปรับเปลี่ยนวัสดุ เพื่อลอดทอนน้ำหนักในทุกกรัมเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยใช้ทั้งไทเทเนียมและคาร์บอนไฟเบอร์ เพราะหากวัสดุเหล่านี้มีประสิทธิภาพเพียงพอ สำหรับการใช้งานในวงการมอเตอร์สปอร์ตและอวกาศแล้ว คงการันตีที่จะใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยมในนาฬิกาด้วยเช่นกัน

 

Screenshot 2568 06 02 at 13.29.06

 

แล้วทำไมถึงต้องสร้างตัวเรือนในแบบโมดูลาร์? ก็เพราะคาร์บอนไฟเบอร์ไม่เพียงแต่มีรูปลักษณ์ ที่โดดเด่นแบะสะดุดตาเท่านั้น แต่ยังมีความหนาแน่นต่ำอย่างไม่น่าเชื่อเพียง 1.8 กรัม/เซ็นติเมตร³ ซึ่งน้อยกว่าสตีลถึงสี่เท่า และน้อยกว่าไทเทเนียมถึงครึ่งหนึ่ง และเนื่องจากคาร์บอนไฟเบอร์ ไม่ทนทานต่อการกันน้ำมากนัก ชุดกลไกจึงถูกหุ้มด้วยตัวเรือนกลาง ที่ผลิตขึ้นจากไทเทเนียม เพื่อให้สามารถทนทานต่อแรงดันน้ำได้ถึงระดับ 200 เมตร และเสริมด้วยชิ้นส่วนข้างตัวเรือนที่ผลิตจากคาร์บอนไฟเบอร์

 

Screenshot 2568 06 02 at 13.29.22

 

โดยระดับความลึกนี้ กระจกแซฟไฟร์จะต้องรับแรงกด ที่เทียบเท่ากับน้ำหนักถึง 170 กิโลกรัมที่กดทับลงมา ดังนั้นแทนที่จะเลือกใช้วัสดุไทเทเนียม และคาร์บอนไฟเบอร์จากซัพพลายเออร์ตามปกติ ULYSSE NARDIN จึงได้ก้าวไปอีกขั้นด้วยการร่วมมือ กับผู้นำในอุตสาหกรรมและสตาร์ทอัพ เพื่อพัฒนาวัสดุและนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับนาฬิการุ่น Diver [AIR] ซึ่งแนวทางการผลิตผลงานที่ล้ำสมัยนี้ ได้รับการแนะนำครั้งแรกผ่านนาฬิกาคอนเซปต์ Diver [Net] ของแบรนด์ในปี 2020 ที่ผ่านมา

 

Screenshot 2568 06 02 at 13.35.52

 

กับวัสดุไทเทเนียมที่ใช้ในชุดกลไกและตัวเรือนส่วนกลางของ Diver [AIR] จะเป็นวัสดุพรีเมี่ยมที่หายาก ที่มาจากการรีไซเคิลถึง 90% จากการร่วมมือกับ TiFast ผู้ผลิตวัสดุไทเทเนียมชั้นนำ และ THYSSENKRUPP ผู้นำระดับโลกในด้านวัสดุ วิศวกรรม และโซลูชั่นเทคโนโลยี โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ การบริการทางด้านวัสดุ และระบบทางทะเลโดย TiFast เริ่มต้นด้วยการใช้ไทเทเนียมในอุตสาหกรรม ทางด้านชีวภาคและการแพทย์ของสวิตเซอร์แลนด์ และ THYSSENKRUPP จะนำไทเทเนียมที่รีไซเคิลแล้ว

 

567

 

ไปผ่านกระบวนการชั้นสูง โดยใช้เทคโนโลยีและการบำบัดด้วยความร้อน เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการขึ้นรูปตัวเรือน ส่วนด้านข้างของตัวเรือนจะผลิตจาก NYLO®-FOIL ซึ่งเป็นการผสมผสานอันเป็นเอกลักษณ์ของไนโล® 60% และคาร์บอนไฟเบอร์ 40% ที่ทำให้วัสดุมีความเบากว่าคาร์บอนไฟเบอร์ทั่วไป โดยไนโล® นี้จะได้จากอวนจับปลาที่ทิ้งในมหาสมุทรผ่าน FIL & FAB สตาร์ทอัพด้านการรีไซเคิลจากฝรั่งเศส ขณะที่คาร์บอนไฟเบอร์จะมาจากการกู้คืนจากเรือใบ IMOCA

123

จากการผลิตโดย CDK Technologies และนำมารีไซเคิลกลับสู่สภาพเส้นใยดั้งเดิมโดยEXTRACTHIVE ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการหมุนเวียน เพื่อนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ใหม่ ซึ่งทั้งไนโล® และคาร์บอนไฟเบอร์จะได้รับการขึ้นรูปโดย LAVOISIER COMPOSITES เพื่อสร้างวัสดุเทคโนโลยีขั้นสูงที่รู้จักกันดีในชื่อของ NYLO®-FOIL โดยชั้นระหว่างขอบตัวเรือนที่เรืองแสงจะสร้างขึ้นจาก CarbonFoil ซึ่งเป็นวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ที่รีไซเคิล 100% จากเรือใบ IMOCA ผ่านกระบวนการตัด และอัดให้มีลวดลายที่ดูคล้ายหินอ่อน

999

และสุดท้ายกับชุดเอสเคปเมนท์ที่มีบทบาทสำคัญ ในแนวทางด้านนวัตกรรมของนาฬิกาเรือนนี้ เนื่องจากเป็นชิ้นส่วนที่ถูกผลิตจากแผ่นซิลิคอน ที่นำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งซึ่งจัดหาโดย SIGATEC ร่วมกันทำให้เห็นว่า นวัตกรรมที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องใหม่ที่ดีขึ้น แต่ยังคงนำวัสดุดั้งเดิมมาทำการอัพไซเคิลใหม่ ด้วยผู้ชำนาญการในด้านต่างๆ มากมายทั้งในสวิตเซอร์แลนด์และยุโรป เพื่อทำให้นาฬิกาเรือนนี้ถือเป็นนาฬิกาดำน้ำที่มีน้ำหนักที่เบาที่สุดในโลก พร้อมราคาจำหน่ายในประเทศไทยที่ 1,425,400 บาท