A Precious Duet

เรือนเวลา Altiplano High Jewellery ถือเป็นงานศิลปะชิ้นเอกอีกชิ้นที่ PIAGET สร้างสรรค์ขึ้นด้วยเทคนิคหัตถศิลป์เก่าแก่หลายแขนง โดยดีไซน์สุดพิเศษในครั้งนี้ก็นับเป็นความท้าทายอีกขั้น นอกจากโครงสร้างของกลไกในแบบสเกเลตัน ที่ประดับไปด้วยเพชรและแซฟไฟร์ ซึ่งถือเป็นคีย์หลักแล้ว การตกแต่งหน้าปัดด้วยเทคนิคแบบกรองฟูว์และคโลซองเน่อีนาเมล ก็ถูกนำมาถ่ายทอดลงร่วมกันใน Altiplano High Jewellery Métiers d' Art รุ่นใหม่ได้อย่างน่าสนใจด้วย

 

Screenshot 2568 01 19 at 00.36.22

 

โดยมีจำนวนในการผลิตขึ้นแบบจำกัดเพียง 8 เรือนเท่านั้น กับผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่าง ATELIERS De L’EXTRAORDINAIRE แหล่งบ่มเพาะเหล่าช่างฝีมือชั้นเลิศของ PIAGET และ Anita Porchet ปรมาจารย์ด้านอีนาเมลชื่อดัง ที่ร่วมงานกับ PIAGET มาตั้งแต่ปี 2006 โดยสามารถย้อนเรื่องราวกลับไปได้ถึงปี 1874 ที่ PIAGET ในขณะนั้นเป็นเพียงโรงงานผลิตชิ้นส่วนกลไก ที่เริ่มต้นจากเวิร์คช็อปขนาดย่อมในโรงนาของครอบครัวเล็กๆ

 

Screenshot 2568 01 19 at 00.37.13

 

แต่ขึ้นชื่อด้านการรังสรรค์กลไก และเรือนเวลาที่มีความเพรียวบางเป็นพิเศษ พร้อมความอุตสาหะของ PIAGET ในการท้าทายขีดจำกัดเพื่อส่งมอบความหลากหลาย ให้กับผู้สวมใส่ที่ยังปรากฏให้เห็นต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะเมื่อ Mr. Yves Piaget เข้ามามีบทบาทบริหาร PIAGET พร้อมคำกล่าวสั้นๆ ที่ว่า “A watch is first and foremost a piece of jewelry.” ที่ได้กลายเป็นอีกหนึ่งในจุดเปลี่ยน ของการประกาศชัยชนะอย่างเต็มภาคภูมิ ตั้งแต่การริเริ่มนำหินชนิดพิเศษต่างๆ

 

Screenshot 2568 01 19 at 00.49.10

 

มาใช้ด้วยกันแบบคอนทราสท์กับวัสดุทองคำ โดยไม่ลดทอนความเพรียวบางของนาฬิกา ซึ่งสำหรับ Altiplano High Jewellery Métiers d'Art ใหม่ล่าสุดนี้ ก็เปรียบดั่งพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ ที่ให้เหล่าช่างฝีมือของแบรนด์มาแสดงเสน่ห์ โดยผนวกชั้นเชิงและหัตถศิลป์อันละเมียดละไม ทั้งในเรื่องศาสตร์ของเรือนเวลา และเครื่องประดับชั้นสูงเอาไว้ด้วยกันอย่างครบครัน ตั้งแต่การตกแต่งอย่างพิถีพิถันด้วยเพชร และแซฟไฟร์สีน้ำเงินลงบนกลไกสเกเลตันอินเฮ้าส์คาลิเบอร์ 1201D1

 

Screenshot 2568 01 19 at 00.45.14

 

ที่เป็นกลไกชุดล่าสุดที่ได้รับการพัฒนา มาจากกลไกอินเฮ้าส์อัตโนมัติคาลิเบอร์ 1200D รุ่นก่อนหน้า ที่ผนวกเข้ากับการประดับอัญมณี น้ำงามลงบนชุดกลไกสเกเลตัน ที่เป็นการหลอมรวมจิตวิญญาณที่ขับเคลื่อน PIAGET มานานกว่า 150 ปี อย่างเหนียวแน่น กับงานศิลป์ซึ่งในครั้งนี้ Anita Porchet เลือกใช้เฉดสีน้ำเงิน, สีเขียว และสีม่วงมาร่วมกันถ่ายทอด โดยนำเสนอลวดลายบนพื้นหน้าปัด และขอบตัวเรือนผ่านเทคนิคอีนาเมล ขณะที่ด้านหลังได้รับการตกแต่งด้วยโทนสีน้ำเงินไล่เฉด

 

Screenshot 2568 01 19 at 00.45.28

 

ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่แบรนด์นำเสนอการลงสี บนด้านหลังของพื้นหน้าปัด โดยองค์ประกอบทุกชิ้นถูกจัดวางอย่างพิถีพิถัน เพื่อส่งมอบความแม่นยำในระดับสูงสุดให้กับชุดกลไก รวมไปถึงเหล่าอัญมณีทรงบาแก็ต ที่ไล่เรียงเฉดสีอย่างสวยงามบนขอบตัวเรือน มาในตัวเรือนขนาด 40 มิลลิเมตร หนา 7 มิลลิเมตร ซึ่งหนากว่าชุดกลไกสเกเลตันประดับเพชร ในเวอร์ชั่นก่อนหน้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงถือเป็นการหลอมรวมหัตถศิลป์ อันน่าทึ่งไว้เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างครบถ้วนในเรือนเดียว

Screenshot 2568 01 19 at 00.45.53