BREGUET No. 160, Marie Antoinette watch, Part III

By: Dr. Pramote Rienjaroensuk 

 

หลังจากการลี้ภัยไม่กี่ปี Abraham-Louis Breguet ก็กลับมายังฝรั่งเศสด้วยแนวคิด ผลงาน และนวัตกรรมในการต้านแรงโน้มถ่วงของกลไก และได้จดสิทธิบัตรกลไกตูร์บิยองในปี 1801 ซึ่งยิ่งทำให้ Abraham-Louis Breguet มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับด้านความเป็นเลิศในการสร้างนาฬิกา ไม่ว่าจะเป็นการผลิตนาฬิกาหลายเรือนให้จักรพรรดิ Napoleon ซึ่งเป็นองค์จักรพรรดิองค์ใหม่ของฝรั่งเศส หรือการผลิตนาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลกให้กับราชินีแห่งแคว้นเนเปิล น้องสาวของจักรพรรดิ Napoleon แต่อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 1812 เป็นต้นมา Abraham-Louis Breguet ก็ศึกษาและมุ่งมั่นในการผลิตผลงานของตนเองจวบจนกระทั่งวันที่ 17 กันยายน 1823 ที่เขาได้เสียชีวิตลงในวัย 76 ปี

 

8bcc3adc97e56e46ccb1ead329d94789

 

4 ปีต่อมาหลังจากที่ Abraham-Louis Breguet เสียชีวิต ในปี 1827 ลูกชายของเขาได้ประกาศถึงความสำเร็จในการสานต่อผลงานที่พ่อได้ค้างไว้นั่นก็คือนาฬิกา BREGUET No. 160 ที่มีมูลค่าในการผลิตรวมถึง 17,070 ฟรังก์ และใช้เวลาในการผลิตนานถึง 44 ปี เป็นนาฬิกาที่มีกลไกสลับซับซ้อนและสวยงามมากที่สุดในโลก โดยถูกขนานนามว่า Marie Antoinette เพื่อระลึกถึงเจ้าของผู้ที่ไม่ได้มีโอกาสได้ครอบครอง แต่ที่น่าทึ่งไปกว่านั้นก็คือ ผู้ที่ได้เป็นเจ้าของนาฬิกาเรือนนี้คนแรก กลับเป็นเด็กรับใช้ในสมัยที่พระนางยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งหลังจากนั้นเมื่อเจ้าของคนแรกได้เสียชีวิตลง นาฬิกาก็ถูกส่งกลับไปซ่อมในปี 1838 และกลับไปอยู่กับตระกูล Breguet ซึ่งเป็นผู้ดูแลรักษานาฬิกาไว้อย่างดี

  

555

  

นาฬิกา Marie Antoinette เป็นที่ดึงดูดระดับเทพของเหล่านักสะสมนาฬิกา มีการเปลี่ยนมือกันมากมายจนไปถึงมือของ David Lionel Goldsmid-Stern-Salomons ในปี 1917 โดย David มีความอัศจรรย์ใจกับความชาญฉลาดและผลงานการประดิษฐ์ที่ Abraham-Louis Breguet ได้สร้างขึ้น ถึงขั้นเทิดทูนและซื้อนาฬิกาของ BREGUET มากกว่า 100 เรือนมาสะสมไว้ ซึ่งต่อมาในปี 1921 David ก็ได้ตีพิมพ์หนังสือรวมนาฬิกา BREGUET ที่เขามีไว้ครอบครอง รวมไปถึงรูปภาพผลงานชิ้นเอกที่เขาได้เล่าถึงความรู้สึก ในวินาทีแรกที่ได้เห็นนาฬิกา Marie Antoinette ที่ซึ่งในท้ายที่สุดเขาก็ได้ยกมรดกนาฬิกาจำนวน 57 เรือนให้ไว้กับลูกสาว และส่วนที่เหลือก็ได้มอบให้กับภรรยาของเขาไป

 

L A Mayer Museum of Islamic Art

 

หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง Vera Beyce ลูกสาวผู้ใจบุญของ David ย้ายไปอยู่ที่เยรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล และได้ก่อตั้ง L.A. Mayer Institute ให้กับทาง Islamic Art รวมทั้งบริจาคนาฬิกาอันล้ำค่าทั้งหลายให้กับพิพิธภัณฑ์ เพื่อทำการจัดแสดงให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชนในปี 1974 ซึ่งเวลานั้นเอง นาฬิกา Marie Antoinette ก็ได้ย้ายไปอยู่ในบ้านหลังใหม่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้อย่างสงบ และกลายเป็นของล้ำค่าที่ผู้คนมากมายต่างให้ความสนใจ ซึ่งมีการศึกษาและจัดทำภาพสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับกลไก และรายละเอียดการทำงานของนาฬิกาเรือนนี้ออกมาเผยแพร่มากมาย

  

Breguet 160 Marie Antoinette Discovery

 

แต่โชคไม่ดีนักที่นาฬิกา Marie Antoinette ก็ต้องพลัดพรากจากพิพิธภัณฑ์ไปในปี 1983 จากเหตุการณ์โจรกรรมที่โด่งดังที่สุดในรอบศตวรรษของอิสราเอล ซึ่งของมีค่าโดยเฉพาะนาฬิกาจำนวน 106 ชิ้นและรวมไปถึงนาฬิกา Marie Antoinette ได้หายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอยเป็นเวลากว่า 20 ปี โดยสิ้นหวังที่จะตามหานาฬิกาอันล้ำค่าเหล่านั้นกลับมา จนกระทั่งในปี 2004 ที่ Mr. Nicolas G. Hayek ผู้ถือสิทธิ์ในการผลิตนาฬิกา BREGUET ในปัจจุบัน ได้สร้างความท้าทายให้กับกลุ่มผู้ผลิตนาฬิกา ในการถอดแบบผลงานชิ้นเอกนาฬิกา BREGUET No. 160 จากภาพพิมพ์และเทคโนโลยีขั้นสูงสุดทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนั้นออกมาเป็นเรือนจริง

  

Screen Shot 2563 09 06 at 8.37.59 PM

 

กรุณาติดตามตอนจบได้ในวันอาทิตย์หน้า

 

 

 

 55 T5887 Thailand IAMWATCH 1920x720