MB&F with OBJECT of ART
By Viracharn Termpipatpong
หนึ่งในหลายตัวอย่างที่ต้องเรียกว่าฉีกกฎแนวคิดของวงการนาฬิกาไปไกลทีเดียวก็คือ Destination Moon ที่แม้ว่ายานอวกาศรูปทรงจรวดตอร์ปิโดจากจินตนาการในนิยายวิทยาศาสตร์ยุคทศวรรษที่ 1960 จะไม่ตรงกับลักษณะของยานอวกาศที่มนุษย์สร้างขึ้นใช้จริงเป๊ะๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีส่วนอย่างยิ่งในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับมนุษย์ และจากความประทับใจในจินตนาการนี้ MB&F จึงสร้างสรรค์นาฬิกาคล็อคตั้งโต๊ะตามรูปแบบจรวดเช่นนี้ขึ้นมาโดยตั้งชื่อว่า Destination Moon
ด้วยความร่วมมืออย่างเต็มที่จาก L’Epée 1839 ผู้ผลิตนาฬิกาคล็อคระดับสูงอันเก่าแก่ของสวิส กลไกคล็อคไขลานกำลังสำรอง 8 วัน ความถี่ 18,000 ครั้งต่อชั่วโมง สร้างขึ้นจากวัสดุทองเหลืองเคลือบพาลาเดียมสตีล และสตีลเคลือบนิกเกิ้ล ที่ได้รับการขัดแต่งและตกแต่งอย่างพิถีพิถัน ที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อประกอบเข้ากับโครงของจรวดตอร์ปิโดอย่างสวยงามกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว โดยชุดกลไกถูกติดตั้งไว้ภายในส่วนกลางของจรวดดุจเป็นเครื่องยนต์สำหรับขับเคลื่อน ขณะที่การแสดงเวลาถูกออกแบบให้แสดงด้วยตัวเลขชั่วโมงกับนาทีสีขาวบนวงแหวนสตีลเคลือบพีวีดีสีดำขนาดใหญ่ 2 ชุดวางซ้อนกันให้อ่านค่าได้ชัดเจนจากตำแหน่งที่ติดตั้งชิ้นพ้อยท์เตอร์สีเงินเอาไว้ โดยปรับตั้งเวลาได้จากลูกบิดที่อยู่ด้านบนของตัวกลไก ขณะที่การขึ้นลานจะกระทำด้วยการหมุนวีลขนาดใหญ่ซึ่งออกแบบให้เป็นลักษณะฐานจรวด โดยตัวกลไกและวงแหวนแสดงเวลานั้นจะถูกปกป้องไว้ด้วยกระจกมิเนอรัลกลาส
Destination Moon มีขนาดความสูง 41.4 เซ็นติเมตร โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 23.3 เซ็นติเมตคร น้ำหนักประมาณ 4 กิโลกรัม วางอย่างมั่นคงด้วยขาตั้งวัสดุทองเหลืองแท่งตันขัดเงา 3 แท่ง ขณะที่เฟรมของจรวดเป็นวัสดุสตีลขัดซาตินและมีลูกเล่นชวนชมด้วยหุ่นจำลองมนุษย์อวกาศยุค 1960 ที่ผลิตจากสเตอร์ลิงค์ซิลเวอร์ขัดเงาและสวมหมวกที่ทำจากสตีล พร้อมติดตั้งแม่เหล็กให้สามารถติดเข้ากับแกนสำหรับปรับตั้งเวลาที่ทำเป็นลักษณะของบันไดสำหรับปีนขึ้นยาน โดยทาง MB&F ตั้งชื่อหุ่นตัวนี้ว่า “นีล”
Destination Moon เปิดตัวในปี 2017 พร้อมกัน 4 เอดิชั่น โดยความแตกต่างของแต่ละเอดิชั่นอยู่ที่การเคลือบขาตั้งยาน ผลิตขึ้นแบบจำนวนจำกัดแบบละ 50 เรือน คือ Palladium Edition แบบขาตั้งยานเคลือบพาลาเดียม, Black Edition แบบขาตั้งยานเคลือบพีวีดีสีดำ, Blue Edition แบบขาตั้งยานเคลือบพีวีดีสีน้ำเงิน และ Green Edition แบบขาตั้งยานเคลือบพีวีดีสีเขียว
ความโดดเด่นของ Sherman มีหลายส่วนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ของกลไกที่ออกแบบเป็นโครงสร้างของหุ่นยนต์ได้อย่างกลมกลืนชุดเรกูเลเตอร์ของกลไกครอบด้วยโดมกระจกใสที่ออกแบบให้คล้ายกับเป็นสมองของหุ่นยนต์ ขณะที่มือของหุ่นก็สามารถใช้ยึดปากกาหรือกุญแจได้ ส่วนล้อแบบสายพานยางนั้นก็สามารถเคลื่อนหมุนได้จริงและล้อแบบสายพานนี้ก็เชื่อมโยงถึงชื่อ Sherman ซึ่งมีที่มาจากชื่อของรถถัง M4 Sherman ที่กองทัพสหรัฐอเมริกาใช้ในการรบช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
Sherman มีตัวเรือนที่เคลือบด้วยพาลาเดียม, เคลือบพีวีดีสีทอง, เคลือบทองประดับเพชรที่ดวงตา (หลักชั่วโมง และหัวรวม 735 เม็ด) ในแต่ละแบบ และมีจำนวนการผลิต200 เรือน สำหรับแบบเคลือบพาลาเดียม,200 เรือนแบบเคลือบพีวีดีสีทอง และ 50 เรือนในแบบเคลือบพีวีดีสีทองประดับเพชร โดยมีขนาดความสูง 143 มิลลิเมตร, ความกว้าง 109 มิลลิเมตร และความลึก 80 มิลลิเมตรน้ำหนัก0.9 กิโลกรัมกลไกคล็อคไขลาน ความถี่ 18,000 ครั้งต่อชั่วโมง กำลังสำรองลาน 8 วัน ขึ้นลานและปรับตั้งเวลาโดยใช้กุญแจไขในช่องด้านหลังของนาฬิกา ออกแบบและผลิตโดย L’Epée 1839 เพลท บริดจ์ และชิ้นส่วนต่างๆ ออกแบบให้เป็นโครงสร้างของตัวหุ่นยนต์ ชุดเรกูเลเตอร์ติดตั้งอยู่บนส่วนหัวของหุ่นยนต์ ครอบด้วยกระจกมิเนอรัลทรงโดม แสดงค่าชั่วโมงและนาทีด้วยเข็มบนบริเวณหน้าอก