Avengers: Infinity War (2018) vs INFERNO (2016) ความเหมือนที่แตกต่างเมื่อ “Some One has to take action.”
by: Apiphop Phungchanchaikul
There is a switch. If you throw it, half the people on earth will die,
but if you don't, in 100 years, the human race will be extinct.
Bertrand Zobrist’s quote in INFERNO (2016)
ในภาพยนตร์มหาสงครามอัญมณีล้างจักรวาล หรือ Avengers: Infinity War (2018) ที่พึ่งเข้าฉายมาได้ 2-3 สัปดาห์ในบ้านเรา มีหลายประเด็นให้ฉุกคิด และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเอาเสียมากๆ ซึ่งถ้าหากเราๆท่านๆได้มีเวลาไตร่ตรองแล้วหละก็ เรื่องที่เป็นแกนหลักของเรื่องนั้นไม่ได้เป็นประเด็นแปลกใหม่เสียทีเดียว แต่เป็นการนำเสนอเท่านั้นที่ต่างออกไป อย่างเช่นในภาพยนตร์เรื่อง INFERNO (2016) หรือ โลกันตนรก ที่สร้างจากนวนิยายของนักเขียนคนดัง Dan Brown ก็ได้พูดถึงเรื่องที่เปราะบางแบบนี้ไว้เหมือนกัน และจริงจังเสียกว่าด้วย กับเรื่องที่มนุษย์ที่กำลังจะล้นโลก และทรัพยากรที่ไม่เพียงพอที่จะดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ ไปจนถึงการตัดสินใจแก้ปัญหาของผู้ที่มีหน้าที่โดยตรง หรือผู้ที่มีอำนาจที่จะดำเนินการแก้ไข การตัดสินในที่จะทำหรือไม่ทำอะไร มีผลที่เลวร้ายที่อาจจะไม่ต่างกัน
การละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ หรือบาปจากการละเว้นเป็นสิ่งที่เลวร้ายในสายตาของตัวละครหลัก ที่ถูกระบุว่าเป็น “ผู้ร้าย” ในทั้ง 2เรื่อง แต่ถ้าไปดูข้อกฎหมายอย่างเช่นในประมวญกฎหมายอาญาของประเทศไทยเรานั้น ในมาตรา 157 กล่าวไว้อย่างชัดเจนโดยมีบัญญัติว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ” ดังนั้น “การละเว้น” จึงมีความผิดเท่ากับการ “ปฎิบัติโดยมิชอบ” เช่นกัน แล้วในที่นี้ใครกันแน่ที่เป็น “ผู้ร้าย” ในความหมายของกฎหมาย มันช่างยากที่จะตัดสิน ถ้าเราไม่ใช่เพียงแค่โฟกัสไปที่ชุดที่เหล่าตัวละครสวมใส่
คงไม่ต้องบรรยายกันมากสำหรับ Avengers ตอนใหม่ล่าสุดนี้เมื่อธานอส จอมพลังจากต่างดาวที่มีความมุ่งหมายที่จะกำจัดสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในจักรวาลออกไปเสียครึ่งหนึ่ง เพื่อให้ผู้ที่เหลืออยู่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ โดยไม่ได้เลือกว่าจะเป็นคนยากดีมีหรือจน มีฐานะและบทบาทสำคัญอย่างไร หรือพูดง่ายๆว่าใช้วิธีสุ่มเอาเลย และบังเอิญว่าเมื่อมีพื้นฐานเป็นภาพยนตร์ประเภทซุปเปอร์ฮีโร่ ที่สู้กันแบบวินาศสันตโรมา 17-18 ภาคเข้าไปแล้ว ประเด้นการสร้างสมดุลให้กับจักรวาล ซึ่งเป็น “หลักการ” เลยไม่ค่อยมีใครพูดถึงมากนัก และไปเน้นหนักอยู่ที่การตามหาอัญมณีทั้ง 6 ซึ่งก็คือเรื่องของ “วิธีการ” แต่ถ้าไปเปรียบเทียบกับ Inferno การสร้างสมดุลนี้แทบจะไม่ถูกปล่อยให้หลุดโฟกัสไปเลยทีเดียว ระหว่งนักวิทยาศาสตร์ที่สร้างเชื้อไวรัสที่จะทำให้ 1 ใน 3 ของมนุษย์เป็นหมันโดยการสุ่มไป 2-3 รุ่น ซึ่งจะทำให้เกิดสมดุลขึ้นบนโลก โดยผู้กระทำมองว่าตัวของเขาเองนั้นมีความรับผิดชอบ หรือเป็นผู้มีหน้าที่ดังกล่าว เพราะเป็นผู้ถือครองภูมิปัญญาที่จะแก้ไขปัญหาของโลก และเมื่อได้แจ้ง และขอให้ผู้ที่มีอำนาจ และความรับผิดชอบตัวจริง (ซึ่งในที่นี้คือ ผู้อำนวยการใหญ่ของ World Health Organization หรือองค์การอนามัยโลก) ให้ทราบแล้ว และเขาเพิกเฉย หรือเป็นการละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ ดังนั้นเขาจึงต้องลงมือเสียเอง เพราะถ้าเขาเพิกเฉยเสียอีกคนความผิดบาปนั้นก็ย่อมที่จะไม่ต่างกัน ดังเช่นคำพูดของดัวละครนี้ที่กล่าวไว้ว่า “The darkest places in hell are reserved for those who maintain their silence at times of crisis.” และเขายังเชื่อว่าได้เลือกวิธีการที่นุ่มนวลกว่า โหดร้ายน้อยกว่าโดยการเลือกที่จะไม่ฆ่า แต่จำกัดการเพิ่มที่รวดเร็วโดยขาดการควบคุมวางแผนแทนเท่านั้นเอง
กลับมาในส่วนของAvengers ตัวละครแบบธานอสก็มีอุดมคติ และจุดมุ่งหมายไม่ได้ต่างกันกับนักวิทยาศาสตร์ใน INFERNO นัก จะแตกต่างกันก็ตรงวิธีการ และเวลา ธานอสเลือกวีการแบบรวดเร็ว ทำวันนี้มีผลวันนี้ นั้นเพราะการได้เห็นบทเรียนที่เกิดขึ้นด้วยตาของตนเอง ซึ่ง ณ ดาวบ้านเกิดของเขา บัดดนี้เป็นเพียงดาวเคราะห์ที่ร้าง และใกล้แตกสลาย นั่นเพราะธานอสได้นำเสนอต่อผู้มีอำนาจในดาวของตนแล้ว แต่ไม่มีใครฟัง เมื่อดาวของตนถึงจุดที่ไม่อาจเยียวยา เขาจึงออกเดินทางไปยังดาวดวงต่างๆที่เริ่มประสบปัญหา และเริ่มฆ่าเสียซักครึ่งหนึ่ง โดยเรียกปฎิบัติการเหล่านั้นว่า “ความเมตตา”
...แล้วทีนี้ในสุดท้าย ใครกันแน่ที่เป็นผู้ผิดบาป ระหว่างผู้ที่ลงมือทำในสิ่งที่ทุกคนมองว่าชั่วร้าย กับคนที่ปฎิเสะที่จะลงมือทำ?