CZAPEK in Watches and Wonders 2023
เริ่มต้นด้วย Antarctique Révélation ที่มีการพัฒนาขึ้นภายในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา จากการสำรวจเชิงลึกเกี่ยวกับสุนทรียภาพและทางวิศวกรรม โดยนำศิลปะการสร้างงานแบบสเกเลตัน สู่ชิ้นงานระดับสูงสุดที่สามารถผลิตขึ้นได้จากพื้นฐานกลไกไขลานอินเฮ้าส์คาลิเบอร์ SXH7 ที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์เฉพาะแบบ เพื่อเผยให้เห็นหัวใจที่เต้นเป็นจังหวะของชุดกลไกที่ด้านหน้า เพื่อสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้สวมใส่
นาฬิการุ่นนี้ทำให้หวนนึกไปถึงนาฬิการุ่น Antarctique Rattrapante ที่เปิดตัวขึ้นในปี 2021 “เพราะผู้คนต่างหลงรักการออกแบบอันน่าทึ่งของกลไกไขลานอินเฮ้าส์คาลิเบอร์SXH5 ของเรา เราจึงถามตัวเองว่าเราจะทำให้ความงดงามเหล่านี้ ปรากฏขึ้นบนหน้าปัดได้อย่างสวยงามเช่นกันได้อย่างไร” Xavier de Roquemaurel ซีอีโอของแบรนด์นาฬิกา CZAPEK กล่าวถึงนาฬิการุ่นนี้ได้อย่างเห็นภาพในทันที
นอกจากนี้ยังมีความงดงามของหน้าปัดนาฬิการุ่น Antarctique S 'Carte des Nuages' ซึ่งตามตัวอักษรก็คือMap of the Clouds โดยเป็นการเล่นกับประกายระยิบระยับ ของมุกสีขาวหรือสีเทาบนหน้าปัดตัดกับเพชรแอนตาร์คติคคัท (Antarctique cut) คู่ที่มีความระยิบระยับจากการประดับแทนเลข 12 และเพชรปริ๊นเซสคัท (Princess Cut) ขนาด 11 กะรัตแทนเลยอื่นๆ อีก 11 เลข
พร้อมเส้นตารางลายกิโยเช่ละเอียดหกเส้น ที่แกะสลักลงบนพื้นผิวที่ถือเป็นการสร้างสรรค์ งานหัตถกรรมกิโยชาจแบบดั้งเดิม ที่มีความทันสมัยพร้อมนำเสนอให้เห็นถึงความสนุกสนาน โดยมีการพาดพิงถึงรูปแบบแผนที่ และพื้นหน้าปัดจะคัดเลือกเฉพาะส่วนกลาง ซึ่งเป็นส่วนที่มีความมันเงามากที่สุดของเปลือกหอยนางรม พร้อมกระบวนการผลิตที่ทำให้แผ่นมุกนี้ มีขนาดบางเพียงพอกับการใช้งานเป็นหน้าปัด
ซึ่งเปลือกหอยมุกที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกและตัดแต่ง จนกลายเป็นแผ่นเวเฟอร์ที่ใช้สำหรับผลิตหน้าปัดเหล่านี้ มักไม่ค่อยมีการผลิตพร้อมการใช้เทคนิคกิโยเช่เนื่องจากความเปราะบาง โดยการทำงานเช่นนี้จะต้องใช้ทักษะเฉพาะทางในระดับสูง ซึ่งจะมีโรงงานหรือผู้ผลิตเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นในโลก ที่จะสามารถจัดการให้เกิดความสวยงามพร้อมกันในลักษณะนี้ได้
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดกับนาฬิการุ่น Antarctique S 'Sashiko' ที่ถือเป็นการแสดงความเคารพต่อเส้นเรขาคณิต และภาพสามมิติตามรูปแบบการเย็บผ้าแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่มีชื่อเดียวกัน ซึ่งพัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่นช่วงยุคเอโดะ โดยรูปแบบสามมิตินี้อ้างอิงมาจากรูปแบบของดอกบัวที่ Marie-Alix de Roquemaurel พบเห็นและเลือกมาใช้โดยการสร้างชุดสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ตั้งฉากกันที่ 45 องศากัน