Admiral Chronographe Flyback Armure

 

WRITER: VIRACHARN TERMPIPATPONG

 

ด้วยระบบกลไก “ไดเร็กต์รีเทิร์นทูซีโร่” ที่ทาง Atelier deMonaco พัฒนาขึ้นและจดสิทธิบัตรเอาไว้ รวมทั้งความประณีตในการฟินิชชิ่งในทุด้วยระบบไกชิ้นส่วน ที่ทำให้นาฬิกาเรือนนี้มีจิตวิญญาณความเป็นนาฬิกาสปอร์ทอยู่อย่างเต็มตัว ซึ่งนอกจากนี้ ยังมีการใช้กรรมวิธีใหม่ในการทรีทผิววัสดุขึ้นมา โดยตั้งชื่อกรรมวิธีนี้ว่า “อาร์เมียวร์ (Armure)” ซึ่งสื่อถึงชุดเกราะ (อาร์เมอร์ : armour) ของอัศวินแห่งโมนาโค กรรมวิธีใหม่นี้ถูกคิดค้นขึ้น เพื่อเพิ่มระดับความทนทานต่อการขีดข่วนให้สูงขึ้น โดยไม่ได้เป็นการเคลือบผิว แต่เป็นกระบวนการทางเคมีโดยการกระจายคาร์บอนไปบนพื้นผิว ณ อุณหภูมิต่ำ ซึ่งจะเพิ่มค่าความแข็งของวัสดุจากระดับ 220 HV ของสตีลปกติให้เป็น 1200 HV เป็นผลทำให้ผิววัสดุที่ผ่านกรรมวิธีนี้ มีความทนทานต่อการขีดข่วนสูงกว่าวัสดุสตีลปกติถึงกว่า 5 เท่า ในตัวเรือนนาฬิกายขนาด 42 มิลลิเมตร และหนา 13.3 มิลลิเมตรนี้ 

 

99 DMC CHR SPH S 

โดย Admiral Chronographe Flyback Armure เปิดตัวพร้อมกัน 2 แบบ คือแบบตัวเรือนสตีลขัดเงา และแบบตัวเรือนเคลือบดีแอลซีสีดำ ทั้ง 2 แบบมากับหน้าปัดแซฟไฟร์ที่ทำให้มองเห็นกลไกซึ่งได้รับการขัดแต่งอย่างสวยงาม ซึ่งแบบตัวเรือนสตีลขัดเงาจะใช้เป็นสีน้ำเงินและใช้วงแหวนเคาน์เตอร์สีเงิน ขณะที่แบบตัวเรือนเคลือบดีแอลซีสีดำจะใช้เป็นสีแดงและใช้วงแหวนเคาน์เตอร์สีดำ ส่วนเข็มแสดงเวลาของทั้ง 2 แบบจะเคลือบด้วยสีดำ จับคู่มากับสายหนังสีดำที่มีพื้นผิวคล้ายกับลายถักสาน พร้อมกระจกหน้าปัดและกระจกฝาหลั แซฟไฟร์คริสตัล เคลือบสารป้องกันแสงสะท้อน

 

09 DMC CHR SPH SB

 

นอกจากนี้ กลไกโครโนกราฟฟลายแบ็คอัตโนมัติคาลิเบอร์ dMc-760 ยังมีความถี่ที่เหมาะสมต่อกลไกแบบจับเวลาที่ 28,800 รอบต่อชั่วโมง พร้อมพลังสำรองลานที่ 38 ชั่วโมง ขึ้นลานด้วยโรเตอร์ทองคำ ฉลุและสลักเป็นตราสัญลักาณ์แห่งรัฐโมนาโค รวมทั้งฟินิชชิ่งแท่นเครื่องอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นบริดจ์ที่ตกแต่งลายเซอร์คูล่าร์เกรนด์ และเซอร์คูลาร์ซาตินในบางส่วน

 

01 dMc 760 Sapphire back

 

02 dMc 760 Sapphire Front

 

04 DMC CHR SPH S

03 DMC CHR SPH SB

01 DMC CHR SPH WG

02 DMC CHR SPH RG