ร่วมไว้อาลัยให้กับการจากไปของ นีล อาร์มสตรอง มนุษย์คนแรกผู้เหยียบดวงจันทร์ ผู้ร่วมสร้างตำนาน “มูนวอตช์”

 

555000011053301  article 2193587 14b15e84000005dc 777 306x458 1345939274.jpgr width580static p s1sf ns 0file dc111a

 

 

ขอไว้อาลัยให้กับการจากไป ของ นีล อาร์มสตรอง นักบินอวกาศชาวอเมริกันซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกผู้เหยียบดวงจันทร์ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2555 ด้วยวัย 82 ปี โดยได้รับการยืนยันจากครอบครัวของเขาที่แจ้งจากเมืองซินซินเนติ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2555 (ตามเวลาในประเทศไทย) ว่า “นีล อาร์มสตรอง ได้จากไปแล้วจากภาวะแทรกซ้อนหลังการรับการรักษาโรคหัวใจ นีลคือสามีผู้เป็นที่รัก พ่อผู้เป็นที่รัก ปู่ผู้เป็นที่รัก และเพื่อนผู้เป็นที่รักของเรา” โดยนีลเพิ่งเข้ารับการผ่าตัดบายพาสแก้หลอดเลือดหัวใจอุดตันมาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา หลังวันเกิดของเขาเพียง 2 วัน

 

 

article 2193587 14b14408000005dc 105 634x431 1345939381.jpgr width580static p s1sf ns 0file dc111a  article 2193587 14b1683f000005dc 412 634x410 1345939339.jpgr width580static p s1sf ns 0file dc111a

 

 

นีล อาร์มสตรอง ซึ่งเป็นผู้บัญชาการยานอวกาศอพอลโล 11 และลูกเรืออีก 2 คน ได้นำยานลงจอดบนพื้นผิวของดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2512 โดยส่งสัญญาณวิทยุกลับมายังโลกด้วยประโยคอมตะว่า “ก้าวเล็กๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง คือก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ” (That’s one small step for man, one giant leap for mankind) โดยนีลได้ก้าวออกจากยานลงเหยียบดวงจันทร์เป็นคนแรก จากนั้น นีลและ เอดวิน บัซซ์ อัลดริน ซึ่งเป็นผู้รับหน้าที่ขับยานลูนาร์โมดูล (Lunar Module) ก็ลงไปเดินบนพื้นผิวดวงจันทร์เพื่อเก็บตัวอย่าง ทำการทดลองต่างๆ และถ่ายภาพ รวมถึงปักธงชาติสหรัฐฯ รวมเป็นเวลาเกือบสามชั่วโมงด้วยกัน ส่วนลูกเรืออีกคนหนึ่ง คือ ไมเคิล คอลลินส์ ไม่ได้ลงไปเหยียบพื้นดวงจันทร์ ภารกิจครั้งนี้เป็นการกู้หน้าให้กับสหรัฐอเมริกาในยุคนั้นซึ่งกำลังแข่งขันทำภารกิจอวกาศกับสหภาพโซเวียตอย่างเข้มข้น โดยเมื่อปี พ.ศ.2500 นั้นทางโซเวียตส่งดาวเทียมสปุตนิกขึ้นไปในอวกาศได้ก่อน แต่นีลกับเอดวิน บัซซ์ ลงไปเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จในปี พ.ศ.2512 (ค.ศ.1969) 

 

 

article 2193587 14b142f4000005dc 365 634x416 1345939311.jpgr width580static p s1sf ns 0file dc111aarticle 2193587 14b16d99000005dc 233 634x716 1345939288.jpgr width580static p s1sf ns 0file dc111a1

article 0 14b122f4000005dc 21 634x589 1345939258.jpgr width580static p s1sf ns 0file dc111aarticle 2193587 14b1627b000005dc 590 634x391 1345939335.jpgr width580static p s1sf ns 0file dc111a

article 2193587 14b16c1f000005dc 318 634x549 1345939281.jpgr width580static p s1sf ns 0file dc111aarticle 2193587 14b12791000005dc 36 634x513 1345939351.jpgr width580static p s1sf ns 0file dc111a

062d9c79f48f4b17190f6a706700fa09article 2193587 14b12307000005dc 600 634x407 1345939347.jpgr width580static p s1sf ns 0file dc111a

 

 

ต้องยอมรับว่าภารกิจของอพอลโล 11 โดย นีล อาร์มสตรอง, เอดวิน บัซซ์ อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์ นั้นมีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงที่ทำให้นาฬิกา OMEGA Speedmaster Professional Chronograph โด่งดังค้างฟ้าจนเป็นตำนานมาถึงทุกวันนี้ เพราะเขาทั้งสามได้สวมใส่นาฬิการุ่นนี้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนาฬิกาประจำเที่ยวบินของ NASA เป็นครั้งแรกในยุคกลางทศวรรษที่ 1960 ต่อเนื่องถึงต้นทศวรรษที่ 1970 สำหรับภารกิจของเจมิไนและอพอลโล โดยเรือนที่สวมใส่ลงไปเหยียบบนดวงจันทร์นั้นอยู่บนข้อมือข้างขวาของ บัซซ์ อัลดริน เนื่องจากเรือนของ นีล อาร์มสตรอง ถูกถอดวางเอาไว้ในยานลูนาร์โมดูลเพื่อทำหน้าที่เป็นนาฬิกาแบ็คอัพเพราะเครื่องจับเวลาอิเล็คทรอนิกส์ของยานเกิดชำรุดขึ้นมา แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่านาฬิกาแห่งประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นเรือนแรกที่ถูกสวมใส่บนดวงจันทร์เรือนนั้นได้หายไปในระหว่างที่อัลดรินทำการส่งนาฬิกาพร้อมกับสิ่งของส่วนตัวต่างๆ ไปยังพิพิธภัณฑ์ของสถาบันอากาศและอวกาศแห่งชาติสมิธโซเนียน ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยคาดว่าจะถูกขโมยไปและอยู่ในมือของคนบางคนซึ่งบางทีก็อาจไม่ทราบว่านาฬิกาเรือนนั้นมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากมายเพียงไร ส่วนเรือนของนีลและไมเคิล คอลลินส์ ปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้ที่สถาบันอากาศและอวกาศแห่งชาติ ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

 

 

105012 002 pic  800px Vintage Omega Speedmaster 145.012 67

 

OMEGA Speedmaster Professional Chronograph (ซ้าย) Ref.105.012 (ขวา) Ref.145.012

 

 

800px Omega Cal. 321 Chronograph movement  buzz aldrin

 

(ซ้าย) เครื่องไขลานโครโนกราฟ Calibre 321

(ขวา) บัซซ์ อัลดริน กับ Speedmaster Professional Chronograph ในขณะปฏิบัติภารกิจ

 

 

นาฬิกา Speedmaster Professional Chronograph ที่นักบินอวกาศทั้งสามใส่ในการปฏิบัติภารกิจเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรกของมวลมนุษยชาตินั้นในเรือนของ นีล อาร์มสตรอง เป็น Ref.105.012 แต่เรือนของ บัซซ์ ที่เป็นเรือนที่ถูกใส่บนข้อมือบนดวงจันทร์จริงๆ นั้น ไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็น Ref. ใด เนื่องจากนาฬิกาหายไปแล้ว แต่มีรายงานหลายฉบับระบุว่าเป็น Ref.145.012 เช่นเดียวกับเรือนของไมเคิล คอลลินส์ ทั้งสอง Ref. เดินด้วยเครื่องไขลานโครโนกราฟ 17 จิวเวล Calibre 321 ความถี่ 18,000 ครั้งต่อชั่วโมง ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.1946 โดย อัลเบิร์ต ปิเกต์ แห่ง เลอมาเนีย ซึ่งขณะนั้นอยู่ในเครือของ SSIH (Societe Suisse pour I’Industrie Horlogere) เช่นเดียวกับ OMEGA (ปัจจุบันรู้จักกันดีในชื่อ Swatch Group) ใช้ตัวเรือนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 42 มิลลิเมตร ทำจากสเตนเลสสตีลโดยมีร่องสำหรับปุ่มกดและเม็ดมะยมเพื่อทำหน้าที่เป็นบ่าป้องกันไปในตัว ฝาหลังทึบ กระจกหน้าปัดเป็นเพล็กซิกลาสทรงโดม 

 

 

581px EdWhiteFirstAmericanSpacewalker.1965.ws

 

เอ็ด ไวท์ กับภารกิจเจมีไน 4 เมื่อปี ค.ศ.1965 ซึ่งทำให้เขาเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ออกไปเดินในอวกาศ สังเกตที่ข้อมือซ้ายจะเห็นนาฬิกา Speedmaster ซึ่งเป็น Ref.105.003

 

 

นาฬิกาโครโนกราฟ OMEGA Speedmaster ซึ่งถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1957 ได้ผ่านการทดสอบอันหนักหน่วงของนาซ่าจนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนาฬิกาประจำเที่ยวบินของนาซ่าเมื่อปี ค.ศ.1965 (เป็นที่มาของการมีคำว่า Professional ต่อท้ายชื่อ Speedmaster ตั้งแต่ Ref.105.012 เป็นต้นมา พร้อมๆ กับการปรับเปลี่ยนตัวเรือนด้านข้างให้เป็นร่องสำหรับปกป้องปุ่มกดกับเม็ดมะยม) Speedmaster ถูกสวมใส่ในฐานะนาฬิกาประจำเที่ยวบินของนาซ่าอย่างเป็นทางการครั้งแรกโดยนักบินอวกาศชื่อ กัส กริสซัม และ จอห์น ยัง ในภารกิจบนยาน เจมิไน 3 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.1965 อีกไม่กี่เดือนถัดมาในปีเดียวกัน เอ็ด ไวท์ ก็สร้างประวัติศาสตร์ในภารกิจเจมีไน 4 ด้วยการเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่เดินบนอวกาศได้สำเร็จซึ่งเขาได้สวมใส่ Speedmaster Ref.105.003 เอาไว้บนแขนเสื้อด้านซ้ายโดยคาดด้วยสายไนลอนที่ยึดติดกันด้วยตีนตุ๊กแก Speedmaster Professional จบภารกิจอวกาศในยุคแรกของตนไปพร้อมๆ กับอพอลโล 17 ซึ่งเป็นภารกิจสุดท้ายของโครงการอพอลโลในปี ค.ศ.1972 นักบินอวกาศสามคนที่ปฏิบัติภารกิจสุดท้ายของอพอลโล คือ ยูจีน เซอร์แนน, โรนัลด์ อีวานส์ และแฮริสัน ชมิตต์ ซึ่งอพอลโล 17 นี้ยังคงสถานะความเป็นการเที่ยวบินพร้อมมนุษย์เที่ยวล่าสุดที่ร่อนลงบนดวงจันทร์จนถึงทุกวันนี้ สำหรับนาฬิกา Speedmaster ที่โรนัลด์ อีวานส์สวมใส่ในภารกิจนั้น ถูกประมูลไปด้วยราคาถึง 23,000 เหรียญสหรัฐ ในงานประมูล Heritage Auction เมื่อปี ค.ศ.2009 

 

นีล อาร์มสตรอง เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2473 ที่เมืองวาปาโคเนตา รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เขาชื่นชอบในเรื่องการบินมาตั้งแต่เด็ก เมื่อเติบโตขึ้นก็ได้เข้ามาเป็นนักบินของกองทัพเรือ ต่อด้วยเป็นนักบินทดสอบอยู่ที่ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย จากนั้นก็ได้รับเลือกจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (นาซ่า) ที่เมืองฮูสตัน รัฐเทกซัส ให้เป็นนักบินอวกาศ จนมีโอกาสทำภารกิจที่ยิ่งใหญ่อันเป็นตำนานแห่งมวลมนุษยชาติในปี พ.ศ.2512 และเกษียณจากนาซ่าในปี พ.ศ.2514

 

By: Viracharn T.

 

 เครดิตภาพจาก: The Associated Press, Copyright 1969, NASA/Space.com, Time & Life Pictures, AP/Getty Image, New York Times, AFP/Getty Image, NASA/Roger Ressmeyer/CORBIS, Reuters, Carrie Devorah/WENN.com