GRAND SEIKO, จากอดีตสู่อนาคต ตอนที่ 5

 

การพัฒนากลไกคาลิเบอร์ 9S ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า GRAND SEIKO จะประสบความสำเร็จจากการพัฒนากลไกสปริงไดรฟ์แล้วก็ตาม ซึ่งนี่เองที่เป็นที่มาของการต่อยอดนาฬิกากลไกแบบไฮ-บีทจาก GRAND SEIKO กับความสามารถในการทำงานที่ความถี่ระดับ 10 รอบต่อวินาทีที่เร็วกว่าการทำงานของกลไกนาฬิกาทั่วไป เนื่องจากการที่ชุดกลไกมีอัตราการสั่นสะเทือนที่รวดเร็วขึ้นนี้ จะทำให้นาฬิกามีความยืดหยุ่นต่อแรงกระแทกและมีความเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น แต่ก็จะใช้พลังงานจากลานปริงมากกว่าปกติไปพร้อมกันด้วย นอกจากนี้ยังต้องการความยืดหยุ่นจากชิ้นส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย

 

2009

นาฬิกา GRAND SEIKO รุ่น 9S8

 

แต่จากการที่ลานสปริงในชุดกลไกของนาฬิกา GRAND SEIKO ผลิตขึ้นในโรงงานของตัวเองตลอดมา และทำให้เกิดการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งสามารถสร้างลานสปริงด้วยโลหะผสมชนิดใหม่ ที่มีคุณสมบัติแข็งแรงและทนทานจนทำให้สามารถสร้างพลังสำรองลานได้อย่างยาวนานถึง 55 ชั่วโมง และเริ่มใช้กับกลไกคาลิเบอร์ 9S85 ในปี 2009 ภายใต้ชื่อกลไกแบบ Hi-Beat ที่ทำงานด้วยความถี่ระดับ 36,000 รอบต่อชั่วโมง ต่อเนื่องมาจนกระทั่งสามารถพัฒนาให้กลไกชุดนี้ เพิ่มฟังก์ชั่นแสดงเวลาจีเอ็มทีได้ในอีก 5 ปีต่อมา โดยมีความพิเศษของการใช้งานฟังก์ชั่นจีเอ็มที ที่การแสดงเวลายังทำงานต่อไปเพื่อความเที่ยงตรงสูงสุด

 

2010

นาฬิกา GRAND SEIKO รุ่น 9S65

 

ในขณะที่กลไกคาลิเบอร์ 9S65 ก็ถูกอัพเกรดขึ้นในปี 2010 ด้วยการติดตั้งชิ้นส่วนที่ผลิตด้วยกรรมวิธีที่ยอดเยี่ยมโดยเทคโนลยี MEMS แบบเดียวกับที่ใช้ในกลไกคาลิเบอร์ 9S85 และสามารถให้พลังสำรองลานได้ยาวนานถึง 72 ชั่วโมง โดยเทคโนโลยีเหล่านี้ ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในระดับสูงของ GRAND SEIKO ที่เกิดจากประสบการณ์อันยาวนาน และยังคงใช้อยู่ในนาฬิการุ่นปัจจุบันของแบรนด์ ที่นับเป็นความก้าวหน้าทั้งทางด้านการออกแบบ และความพิเศษทางด้านกลไก ที่จะมีเพียงนาฬิกาไม่กี่แบรนด์ในโลก จะสามารถสร้างงานทั้งสองด้านได้เป็นผลสำเร็จในช่วงเวลาพร้อมๆ กัน

 

 

 

01 GS season 1920x720

 

 

 

นาฬิกาที่สามารถแสดงฟังก์ชั่นจีเอ็มที ด้วยกลไกอินเฮ้าส์อัตโนมัติคาลิเบอร์ 9S86 นี้ นอกจากจะมีความเที่ยงตรงสูงในระดับไฮ-บีท ด้วยการทำงานที่ความถี่ 36,000 รอบต่อชั่วโมงแล้ว ยังมีฟังก์ชั่นการทำงานของจีเอ็มทีผนวกเข้าด้วยกัน จนทำให้นาฬิกาเรือนนี้ชนะเลิศรางวัล “Petit Auguille” จากการแข่งขันรายการ Grand Prix d’Horlogerie de Genève ในปี 2014 ที่สร้างชื่อเสียงเป็นอย่างมากให้กับแบรนด์ รวมทั้งทำให้แบรนด์นาฬิกาจากฟากฝั่งยุโรป เริ่มจับตามองการเคลื่อนไหวของ GRAND SEIKO ในฐานะของแบรนด์นาฬิกาที่มีศักยภาพด้านการพัฒนาที่สูง และมีความแตกต่างไปจากนาฬิกาทั่วๆ ไป

 

2014

นาฬิกา GRAND SEIKO รุ่น 9S86

 

และในปี 2016 GRAND SEIKO ก็ได้ก้าวข้ามความท้าทายในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน ด้วยการสร้างสรรค์ตัวเรือนนาฬิกาที่ผลิตจากวัสดุเซรามิคขึ้นเป็นครั้งแรก โดยถือเป็นมิติใหม่ของแบรนด์ พร้อมความโดดเด่นในด้านความเที่ยงตรง ความทนทาน ความสามารถในการอ่านค่าเวลา รวมทั้งความงดงามที่แตกต่าง เช่นเดียวกันกับนาฬิกาหลากหลายรุ่นของ GRAND SEIKO ซึ่งในปีเดียวกันนี้ ยังมีการแนะนำนาฬิกาอีกรุ่น ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแบรนด์ กับนาฬิกากลไกสปริงไดร์ฟคาลิเบอร์ 9R01 พร้อมพลังสำรองลานที่ยาวนานมากถึง 8 วัน จากการพัฒนาของไมโครอาร์ททิสสตูดิโอในชิโอจิริ

 

2016 a

นาฬิกา GRAND SEIKO รุ่น SPRING DRIVE เซรามิคสีดำ limited Edition

 

ซึ่งถือเป็นนาฬิการุ่นแรกที่ผลิตขึ้นอย่างเต็มตัว ณ สตูดิโอแห่งนี้ กับการพัฒนากลไกสปริงไดร์ฟให้มีตลับลานเพิ่มมากขึ้นเป็น 3 ชุด ในขณะที่ยังมีรูปลักษณ์ของตัวเรือนนาฬิกาที่เพรียวบางเช่นเดิม โดยนาฬิกาเรือนนี้มีตัวเรือนที่ผลิตขึ้นจากแพลทตินัม พร้อมการขัดแต่งแบบซารัทซึ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของนาฬิกาจาก GRAND SEIKO อีกทั้งยังเป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่ง ของการพัฒนาตามรูปแบบของแบรนด์ ที่ทั้งแตกต่างและโดดเด่น พร้อมทั้งยังเป็นแนวทางให้นาฬิการุ่นต่อๆ มาเดินตามรูปแบบเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ และทำให้ผู้คนทั่วทั้งโลกต่างเชื่อมั่นกับนาฬิกาจาก GRAND SEIKO จนถึงนาฬิการุ่นต่างๆ ในปัจจุบัน
 
2016 b
 นาฬิกา GRAND SEIKO รุ่น SPRING DRIVE 8-day Power Reserve