Know how of ULYSSE NARDIN, Part II

การปลุกวิถีของเทคนิคการผลิตในอดีต ที่มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ก่อนยุคกลาง และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงจักรวรรดิไบแซนไทน์ รวมไปถึงดินแดนทางฝั่งตะวันตกในช่วงต้นศตวรรษที่ 4 โดยวิธีการนี้ถูกเรียกว่าคโลซองเน่อีนาเมล ที่จะเป็นการสร้างช่องโดยใช้ลวดทองเพื่อเป็นเส้นนำ และลงยาเคลือบในช่องว่างเหล่าต่างๆ ด้วยความแม่นยำในระดับสูงสุด

 

champleve 3

 

นอกจากนี้ยังมีการตกแต่งฐานหน้าปัด ด้วยการแกะสลักแบบดั้งเดิม หรือบางครั้งก็ใช้เทคนิคการแกะสลักลวดลาย "กิโยเช่ด้วยมือ" เพื่อเป็นแผ่นฐานด้านใต้และปรากฏลวดลายอันสวยงามนี้ขึ้น โดยสำหรับการใช้เทคนิคโคลซองเน่อีนาเมลนี้ มักจะเป็นการผลิตชิ้นงานด้วยเนื้อทองคำ ซึ่งรวมไปถึงเส้นลวดต่างๆ ที่ใช้กั้นในแต่ละส่วนของลวดลายบนหน้าปัดด้วยเช่นกัน

 

cloisonne 3

 

มีช่างฝีมือหลายคนที่รู้จักกับเทคนิคนี้ดี แต่ระดับของการทำงานก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้มาจากการใช้ส่วนลวดที่ใช้ ที่อาจเป็นเส้นกลมหรือเส้นเหลี่ยมก็ได้ ซึ่งสำหรับเส้นกลมจะมีข้อได้เปรียบในการวางตำแหน่ง เนื่องจากลวดจะขยับน้อยกว่าในช่วงการลงยา แต่ก็ถือเป็นการยากในช่วงจบ และมุมมองโดยรวมอาจดูไม่เป็นเส้นคมมากนัก

 

cloisonne 2

 

ด้วยเทคนิคนี้ ช่างฝีมือต้องค่อยๆ ลงยาในแต่ละชั้นเท่าๆ กันในแต่ละส่วนของช่อง เพื่อให้แน่ใจว่าภาพที่ปรากฏจะเป็นทีละชั้นเท่าๆ กัน ซึ่งหากมีช่องใดแตกต่าง สีและลวดลายที่เกิดขึ้นในแต่ละช่องที่อยู่ใกล้ๆ กันจะเกิดความแตกต่างมากจนเกินไป นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงเมื่อชิ้นงานเย็นตัวลง ดังนั้นการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในแต่ละขั้นตอน ที่จะมีการลงยาถึงระดับสามถึงสี่ชั้น

 

cloisonne 4

 

และอย่างน้อยหกถึงเจ็ดรอบ ในเตาเผาที่ให้ความร้อนประมาณ 800° เพื่อสร้างเอฟเฟ็คท์ความตื้นและลึก โดยชั้นต่างๆ เหล่านี้จะผ่านขั้นตอนการขัดแต่งด้วยตะไบเพชร หลังจากนั้นจึงกลับไปเข้าเตาเผา เพื่อทำให้ยาแต่ละชั้นกลายเป็นแก้ว จนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการขัดเงา เพื่อให้เกิดความซับซ้อน และรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่สมจริง อันเป็นมนต์ขลังสำหรับผู้ที่ชื่นชอบเทคนิดการลงยาอีนาเมล