THE ICON: TUDOR HERITAGE BLACK BAY สืบสานตำนานนาฬิกาดำน้ำ TUDOR จากยุค 50s

 

นาฬิกาดำน้ำ หรือไดเวอร์วอตช์ คือหนึ่งรูปแบบของลักษณะนาฬิกาที่เรียกกันว่า ทูลวอตช์ อันเป็นอุปกรณ์บอกเวลาที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์การใช้งานแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งในที่นี้ก็คือ การใช้สวมใส่ในขณะดำน้ำได้พร้อมมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่จำเป็นขณะอยู่ใต้น้ำ นั่นก็คือ การบอกถึงระยะเวลาที่อยู่ใต้น้ำได้ เพื่อให้ผู้สวมใส่ทราบว่าเมื่อใดที่จะต้องขึ้นสู่ผิวน้ำ ซึ่งโดยมากก็จะใช้สเกลนาทีที่แสดงอยู่บนวงแหวนขอบตัวเรือนแบบหมุนได้ในการตั้งค่าเพื่อดูระยะเวลาที่อยู่ใต้น้ำโดยอ่านค่าร่วมกับเข็มนาที

 

TUDOR ก็เป็นอีกแบรนด์ที่ได้ทำการผลิตนาฬิกาดำน้ำออกจำหน่ายมาตั้งแต่เมื่อครั้งอดีตโดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 ด้วยรุ่น Oyster Prince Submariner รหัส 7922 ที่สามารถกันน้ำได้ถึงระดับความลึก 100 เมตร ใช้ฝาหลังและเม็ดมะยมแบบล็อคเกลียว โดยมีจุดเด่นที่เป็นนาฬิกากลไกขึ้นลานอัตโนมัติ Calibre 390 ความถี่ 18,000 ครั้งต่อชั่วโมง ที่ทำงานด้วยความแม่นยำไว้วางใจได้ มีความทนทาน อ่านค่าเวลาได้ชัดเจน และมีราคาที่ย่อมเยากว่า ROLEX Submariner รหัส 6204 ผู้พี่ซึ่งมีหน้าตาคล้ายคลึงกันมากๆ (Rolex และ Tudor ผลิตโดยผู้ผลิตรายเดียวกัน) ซึ่งเปิดตัวออกมาในปี 1953 (ก่อนหน้า Oyster Prince Submariner ของ TUDOR 1 ปี แน่นอนว่าเป็นการตั้งใจให้ TUDOR จับกลุ่มตลาดที่อยู่ในระดับต่ำกว่า ROLEX เพื่อให้นาฬิกาของบริษัทฯ ครอบคลุมตลาดได้มากที่สุดนั่นเอง) นับจากนั้นเป็นต้นมาก็มีรุ่นใหม่ทยอยตามกันออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีเยี่ยมยิ่งขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคนิคการผลิตในแต่ละยุคสมัยจนกระทั่ง TUDOR ตระกูล Submariner หายไปจากแคตตาล็อกในปี 2000 และกลับมาใหม่ด้วยชื่อคอลเลคชั่นใหม่ว่า Heritage Black Bay ในปี 2012 โดยยึดมั่นในรูปแบบสไตล์วินเทจสุดขลังเปี่ยมไปด้วยความคลาสสิกตามแบบฉบับนาฬิกา Submariner รุ่นดั้งเดิมของตน จากนั้นก็ทยอยออกเวอร์ชั่นใหม่ๆ และรุ่นใหม่ๆ ตามออกมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในไอคอนของแบรนด์อย่างเต็มภาคภูมิ เรียกว่าเมื่อได้เห็นนาฬิการุ่นนี้ก็รู้ได้ทันทีว่าเป็นผลงานจาก TUDOR ทั้งยังคงสถานะในการเป็นนาฬิกาคุณภาพสูงในราคาสุดคุ้มค่า ซึ่งเป็นจุดขายสำคัญของ TUDOR มาโดยตลอด เอาไว้เช่นเดิม

 

มาชมพัฒนาการของนาฬิกาดำน้ำ TUDOR ตั้งแต่รุ่นแรกเมื่อปี 1954 ไล่เรียงมาถึงรุ่นปัจจุบันกันครับ

 

Oyster Prince Submariner รหัส 7922 เปิดตัวในปี 1954 สามารถกันน้ำได้ถึงระดับความลึก 100 เมตร วงแหวนขอบตัวเรือนเป็นพื้นสีดำ หน้าปัดทรงโค้งเคลือบแล็กเกอร์สีดำ เคลือบสารเรืองแสงบนเข็มและหลักชั่วโมง หลักชั่วโมงเป็นแบบทรงกลม ร่วมกับทรงแท่งเหลี่ยมที่ตำแหน่ง 3, 6, 9 นาฬิกา และทรงสามเหลี่ยมที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา ปลายเข็มชั่วโมงเป็นลักษณะคล้ายกับโลโก้ดาวสามแฉกของรถเบนซ์ ตัวเรือนทำจากสเตนเลสสตีล ผนึกกระจกเพล็กซิกลาสทรงโดมนูน สวมคู่มากับสายสเตนเลสสตีลแบบสปอร์ตของ Rolex ที่เรียกว่าสายแบบออยสเตอร์ (Oyster) ซึ่งเป็นรหัส 6636 อันเป็นรูปแบบสายที่ยึดแต่ละข้อด้วยรีเว็ทซึ่งมองเห็นหัวหมุดได้จากทางด้านข้าง

 

02 1954 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER 7922 img 02

 

02 1954 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER 7922 img 01

 

02 1954 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER 7922 img 03

 

 

Oyster Submariner รหัส 7923 เปิดตัวในปี 1955 กันน้ำได้ถึงระดับความลึก 100 เมตร แตกต่างกับรหัส 7922 ตรงที่ทำงานด้วยกลไกแบบไขลานของ ETA รหัส 1182 ความถี่ 18,000 ครั้งต่อชั่วโมง (เป็นรุ่นเดียวในตระกูลนาฬิกาดำน้ำของ TUDOR ที่ใช้กลไกไขลาน); ไม่มีข้อความบนหน้าปัดที่บอกว่า ROTOR กับ SELF-WINDING ซึ่งหมายถึงกลไกอัตโนมัติ; ใช้เข็มชั่วโมงทรงบาตอง และใช้ขายึดสายเป็นแบบแท่งแทนแบบเต็ม 

03 1955 TUDOR OYSTER SUBMARINER 7923 img 01

 

 

Oyster Prince Submariner รหัส 7922 รุ่นปรับปรุงใหม่ เปิดตัวในปี 1957 ต่างจากรุ่นเดิมตรงที่มีสเกลช่องละ 1 นาทีในช่วง 15 นาทีแรก บนวงแหวนขอบตัวเรือน 

04 1957 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER 7922 img 01

 

 

Oyster Prince Submariner รหัส 7924 เปิดตัวในปี 1958 ใช้ตัวเรือนใหม่ขนาด 37 มม. ที่มีความหนาขึ้นกว่าเดิม ร่วมกับกระจกเพล็กซิกลาสทรงโดมที่หนาขึ้น และสามารถกันน้ำได้ถึงระดับความลึก 200 เมตร ทั้งยังใช้เม็ดมะยมขนาดใหญ่ขึ้น (จาก 5 มม. ในรหัส 7922 กับ 7923 มาเป็นขนาด 8 มม.) อันเป็นที่มาของชื่อเล่นที่นักสะสมนิยมเรียกรุ่นนี้ว่า “บิ๊กคราวน์” (Big Crown) และเปลี่ยนมาใช้สาย Oyster ของ Rolex รหัส 7026 ที่ยังคงยึดข้อต่างๆ ด้วยรีเว็ต 

05 1958 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER BIG CROWN 7924 img 02

05 1958 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER BIG CROWN 7924 img 01

05 1958 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER BIG CROWN 7924 img 03

 

 

Oyster Prince Submariner รหัส 7925 เปิดตัวในปี 1958 แตกต่างกับรหัส 7924 ตรงที่รหัส 7925 นี้ กันน้ำได้ถึงระดับความลึก 100 เมตร ซึ่งเห็นได้จากตัวเลขที่ระบุบนหน้าปัด และมีการใช้สัญลักษณ์สามเหลี่ยมสีแดงที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกาของวงแหวนขอบตัวเรือน 

06 1958 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER BIG CROWN 7925 img 01

 

 

Oyster Prince Submariner รหัส 7928 เปิดตัวในปี 1959 กันน้ำได้ถึงระดับความลึก 200 เมตร เปลี่ยนตัวเรือนจากเดิมมาใช้เป็นตัวเรือนใหม่ขนาด 39 มม. ที่มีบ่าป้องกันเม็ดมะยม โดยออกแบบให้บ่านี้มีลักษณะเป็นเหลี่ยมสันชัดเจน นักสะสมจึงเรียกรุ่นนี้ว่า “สแควร์ คราวน์ การ์ด” (Square Crown Guard) ส่วนขนาดของเม็ดมะยมจะอยู่ที่ 6 มม.

 

07 1959 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER SQUARE CROWN GUARDS 7928 img 01

 

07 1959 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER SQUARE CROWN GUARDS 7928 img 02

 

07 1959 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER SQUARE CROWN GUARDS 7928 img 03

 

 

Oyster Prince Submariner รหัส 7928 รุ่นปรับปรุงใหม่ เปิดตัวในปี 1960 โดยเปลี่ยนมาใช้ตัวเรือนใหม่ที่ออกแบบให้บ่าป้องกันเม็ดมะยมมีลักษณะเรียวแหลมขึ้น อันเป็นที่มาของชื่อที่นักสะสมเรียกกันว่า “พ้อยเต็ด คราวน์ การ์ด” (Pointed Crown Guard) 

08 1961 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER POINTED CROWN GUARDS 7928 img 01

08 1961 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER POINTED CROWN GUARDS 7928 img 02

08 1961 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER POINTED CROWN GUARDS 7928 img 03

 

 

Oyster Prince Submariner รหัส 7928 รุ่นปรับปรุงใหม่ (อีกครั้ง) เปิดตัวในปี 1963 จุดเปลี่ยนแปลงของรุ่นนี้ก็คือ การเปลี่ยนสีของสเกลและข้อความต่างๆ บนหน้าปัดจากโทนสีทองมาใช้เป็นสีเงิน

09 1963 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER POINTED CROWN GUARDS 7928 img 01

 

 

Oyster Prince Submariner รหัส 7928 รุ่นปรับปรุงใหม่ (อีกครั้งนึง) เปิดตัวในปี 1964 ด้วยการใช้ตัวเรือนที่มีการปรับดีไซน์ของบ่าป้องกันเม็ดมะยมจากเดิมที่มีความเรียวแหลมให้มีความมนกลมกลึงยิ่งขึ้น 

10 1964 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER TROPICAL 7928 img 02

10 1964 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER TROPICAL 7928 img 01

10 1964 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER TROPICAL 7928 img 03

 

 

Oyster Prince Submariner รหัส 7928 รุ่นปรับปรุงใหม่ (ครั้งสุดท้าย) เปิดตัวในปี 1967 จุดแตกต่างจากรุ่นที่เปิดตัวในปี 1964 ก็คือ สเกลนาทีบนหน้าปัดจะยาวขึ้นจรดขอบหน้าปัดโดยไม่มีเส้นรอบวง และเปลี่ยนสีของสเกลกับข้อความต่างๆ บนหน้าปัดมาเป็นสีขาว ส่วนสาย Oyster ก็เปลี่ยนมาเป็นแบบที่ไม่มีรีเว็ทแล้ว

11 1967 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER 7928 img 01

11 1967 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER 7928 img 02

11 1967 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER 7928 img 03

 

 

Oyster Prince Submariner รหัส 7928 จากยุค 60s เรือนนี้ เป็นรุ่นตัวเรือนแบบ “พ้อยเต็ด คราวน์ การ์ด” ซึ่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา สั่งซื้อไปใช้ในกิจการของตน โดยบนฝาหลังจะมีการสลักเลขอ้างอิงของกองทัพและเดือนกับปีเอาไว้

 

02b 1964 TUDOR PRINCE SUBMARINER US NAVY 7928

02a 1964 TUDOR PRINCE SUBMARINER US NAVY 7928

02c 1964 TUDOR PRINCE SUBMARINER US NAVY 7928

 

 

Oyster Prince Submariner รหัส 7016 เปิดตัวในปี 1969 แตกต่างจากรุ่นก่อนหน้าอย่างชัดเจนด้วยการใช้หลักชั่วโมงที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและเป็นแบบทรงเหลี่ยมจตุรัสกับทรงเหลี่ยมผืนผ้า โดยที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา ยังคงเป็นทรงสามเหลี่ยม; ใช้เข็มทรงสโนว์เฟลค; เปลี่ยนสัญลักษณ์บนหน้าปัดจากดอกกุหลาบมาเป็นตราโล่; ไม่มีข้อความ ROTOR, SELF-WINDING บนหน้าปัด; ใช้กระจกเพล็กซิกลาสแบบแผ่นเรียบแทนแบบทรงโดมนูน; เปลี่ยนกลไกมาใช้เป็นกลไกแบบขึ้นลานอัตโนมัติของ ETA รหัส 2483 ความถี่ 18,000 ครั้งต่อชั่วโมง

 

02 1969 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER 7922 img 02

 

02 1969 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER 7922 img 01

 

02 1969 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER 7922 img 03

 

 

Prince Oysterdate Submariner รหัส 7021 เปิดตัวในปี 1969 ด้วยลักษณะต่างๆ ที่เหมือนกับรหัส 7016 แต่ใช้กลไก ETA รหัส 2484 ที่มีฟังก์ชั่นแสดงวันที่ โดยเจาะช่องหน้าต่างไว้ที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกา และมีการติดตั้งเลนส์ขยายสำหรับอ่านค่าวันที่เอาไว้บนกระจกหน้าปัด จุดเด่นอีกอย่างก็คือตัวเลขวันที่บนจานดิสก์จะเป็นแบบสองสี คือวันคู่ใช้ตัวเลขสีดำ และวันคี่ใช้ตัวเลขสีแดง

03 1969 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER 7021 img 01

03 1969 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER 7021 img 02

 

 

Oyster Prince Submariner รหัส 9401/0 เปิดตัวในปี 1975 โดยเป็นการเปลี่ยนมาใช้กลไกอัตโนมัติ ETA รหัส 2776 ที่สามารถแฮ็คเข็มวินาทีได้เพื่อให้ตั้งเวลาได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีสีหน้าปัดกับวงแหวนขอบตัวเรือนถึง 4 แบบ คือ แบบสีน้ำเงิน หรือแบบสีดำ ที่มากับเข็มทรงสโนว์เฟลคและหลักชั่วโมงทรงเหลี่ยมร่วมกับสามเหลี่ยม กับแบบสีน้ำเงิน หรือแบบสีดำ ที่มากับเข็มชั่วโมงทรงคล้ายโลโก้รถเบนซ์และหลักชั่วโมงทรงกลมร่วมกับทรงสามเหลี่ยม

04 1976 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER 9401 0 img 01

04 1976 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER 9401 0 img 02

 

 

Oyster Prince Submariner รหัส 9401 จากปี 1977 เรือนนี้เป็นนาฬิกาที่กองทัพเรือฝรั่งเศสสั่งไปใช้ในกิจการของตน ที่ฝาหลังมีการสลักรหัสอ้างอิงของกองทัพเอาไว้ ส่วนสายที่ใช้กับนาฬิกานั้นทำจากสายของร่มชูชีพซึ่งทางกองทัพหามาใช้เอง

04b 1977 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER MARINE NATIONALE 9401

04a 1977 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER MARINE NATIONALE 9401

04c 1977 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER MARINE NATIONALE 9401

 

 

Oyster Prince Submariner รหัส 94010 ที่มีเม็ดมะยมอยู่ทางด้านซ้ายเรือนนี้เป็นนาฬิกาจากปี 1981 ซึ่งถูกสั่งผลิตขึ้นเป็นพิเศษโดยเจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งของกองทัพเรือฝรั่งเศสผู้เป็นคนถนัดซ้าย 

05b 1981 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER LEFT HAND 940101

05a 1981 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER LEFT HAND 94010

05c 1981 TUDOR OYSTER PRINCE SUBMARINER LEFT HAND 94010

 

 

Prince Oysterdate Submariner รหัส 79090 รุ่นนี้มากับฟังก์ชั่นแสดงวันที่พร้อมเลนส์ขยายบนกระจกหน้าปัด เปิดตัวในปี 1989 เพื่อทดแทนรุ่น Oyster Prince Submariner แบบไม่มีฟังก์ชั่นวันที่ซึ่งเลิกผลิตไปแล้ว นาฬิการุ่นนี้มีสีหน้าปัดกับขอบตัวเรือนให้เลือก 2 แบบ คือ แบบสีน้ำเงินกับแบบสีดำ โดยใช้หลักชั่วโมงเป็นแบบทรงกลมร่วมกับทรงสามเหลี่ยม ทำงานด้วยกลไกอัตโนมัติ ETA รหัส 2824-2

06 1993 TUDOR PRINCE OYSTERDATE SUBMARINER 79090 img 01

06 1993 TUDOR PRINCE OYSTERDATE SUBMARINER 79090 img 02

 

 

Prince Date Submariner รหัส 79190 เปิดตัวในปี 1995 นับเป็นรุ่นสุดท้ายของตระกูล Submariner จาก TUDOR โดยมาพร้อมกับกระจกหน้าปัดแซฟไฟร์พร้อมเลนส์ขยายวันที่ ใช้หลักชั่วโมงสีเงินพร้อมเคลือบสารเรืองแสง และเปลี่ยนมาใช้วงแหวนขอบตัวเรือนแบบหมุนทิศทางเดียว มีหน้าปัดให้เลือก 2 แบบ คือ แบบสีน้ำเงิน กับแบบสีดำ ซึ่งต่อมาในปี 1997 ก็มีการนำแผ่นวงแหวนวัสดุสตีลที่สลักด้วยสเกลนาทีสีดำมาใช้กับขอบตัวเรือนด้วย

07 1995 TUDOR PRINCE DATE SUBMARINER 79190 img 02

07 1995 TUDOR PRINCE DATE SUBMARINER 79190 img 01

07 1995 TUDOR PRINCE DATE SUBMARINER 79190 img 03

 

 

Heritage Black Bay รหัส 79220R เปิดตัวในปี 2012 ด้วยรูปลักษณ์ที่นำจุดเด่นของนาฬิกาดำน้ำตระกูล Submariner รุ่นต่างๆ ในอดีตมาผสานรวมกันอย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นหน้าปัดสีดำทรงโค้ง รายละเอียดรูปทรงของหลักชั่วโมง สเกล ข้อความและสัญลักษณ์สีทองโรสโกลด์บนหน้าปัด ตลอดจนสเกลบนขอบตัวเรือน ในลักษณะเดียวกับรุ่นบรรพบุรุษรหัส 7922 จากปี 1954 หรือเข็มแบบสโนว์เฟลคจากรุ่น 7016 ปี 1969 ในโทนสีโรสโกลด์ ตลอดจนเม็ดมะยมแบบ บิ๊กคราวน์ ตามแบบอย่างรุ่น 7924 เมื่อปี 1958 โดยเพิ่มเติมจุดเด่นด้วยลายสลักดอกกุหลาบบนเม็ดมะยม และปลอกแกนเม็ดมะยมกับแผ่นวงแหวนขอบตัวเรือนวัสดุอลูมิเนียมอโนไดซ์สีแดงเบอร์กันดีซึ่งเป็นสีที่ไม่ค่อยพบเห็นกันบนนาฬิกาดำน้ำ ทำงานด้วยกลไกอัตโนมัติรหัส 2824 (เบสจากกลไก ETA รหัสเดียวกัน) บรรจุอยู่ในตัวเรือนสตีลขนาด 41 มม. ที่กันน้ำได้ลึกถึงระดับ 200 เมตร โดยมีสายให้เลือก 2 แบบ คือ แบบสายสตีลสามแถวดีไซน์สปอร์ตสุดคลาสสิกคล้ายกับสายแบบดั้งเดิมที่เคยใช้ใน Submariner และแบบสายหนังสีน้ำตาลเข้มฟอกเก่าแบบวินเทจ โดยทั้ง 2 แบบจะมาสายผ้าทอพิเศษแสนนุ่มสบายสีดำมาให้สลับใช้งานอีกเส้นหนึ่ง ความโดดเด่นเหล่านี้ทำให้สามารถคว้ารางวัลกรังด์ปรีซ์ประเภท Revival (ฟื้นคืนชีพ) จาก GPHG ประจำปี 2013 มาครอง

 

Tudor Heritage Black Bay AMB1

 

Tudor Heritage Black Bay soldat1

 

 

Heritage Black Bay Blue รหัส 79220B เปิดตัวมาเพิ่มเติมในปี 2014 ด้วยการใช้สีของแผ่นวงแหวนขอบตัวเรือนกับปลอกหุ้มแกนเม็ดมะยมเป็นสีน้ำเงินเข้ม ร่วมด้วยการใช้สเกลกับข้อความบนหน้าปัดเป็นสีขาวเงิน และใช้เข็มกับหลักชั่วโมงเป็นสีเงิน พร้อมสารเรืองแสงที่เปลี่ยนจากสีครีมเป็นสีขาว ขณะที่สายนั้นมีให้เลือกระหว่างสายสตีลกับสายหนังสีกรมท่าฟอกแบบย้อนยุค และมีสายผ้าทอสีน้ำเงินให้สลับเปลี่ยน

15 Tudor Heritage Black Bay

 

 

Heritage Black Bay Black รหัส 79220N เปิดตัวมาเพิ่มในปี 2015 โดยคราวนี้ใช้วงแหวนขอบตัวเรือนกับปลอกหุ้มแกนเม็ดมะยมเป็นสีดำ ขณะที่หน้าปัดจะใช้แบบเดียวกับรุ่นขอบตัวเรือนสีแดง เสริมความเด่นด้วยการใช้สามเหลี่ยมสีแดง ณ ตำแหน่ง 12 นาฬิกาบนขอบตัวเรือนตามแบบอย่างของรุ่น 7925 จากปี 1958 ส่วนสายจะมีให้เลือกระหว่างสายสตีลกับสายหนังสีดำฟอกเก่า พร้อมสายผ้าทอสีดำมาให้สลับเปลี่ยน

 

Tudor Black Bay Black Bezel 79220N packshot

 

 

Heritage Black Bay One รหัส 7923/001 ผลิตขึ้นเพียงเรือนเดียวเมื่อปี 2015 เพื่อเข้าร่วมประมูลในรายการ Only Watch จุดแตกต่างจากรุ่น Black Bay Black รหัส 79220N ก็คือ หน้าปัดที่ผลิตขึ้นเป็นพิเศษโดยนำเอาลักษณะของข้อความที่ระบุมาจากนาฬิการหัส 7923 จากปี 1955 แต่เสริมความเด่นด้วยการระบุความสามารถในการกันน้ำเป็นสีแดง ทั้งยังใช้ขอบตัวเรือนสีดำแบบที่ไม่มีสเกลนาทีย่อยระหว่าง 0 – 15 นาที เข็มทรงบาตอง และใช้ขายึดสายแบบแท่ง ในลักษณะเดียวกับรุ่น 7923 หากแต่มีสัญลักษณ์สามเหลี่ยมบนขอบตัวเรือนเป็นสีแดงเหมือนกับรุ่น 7925 จากปี 1958 สำหรับมูลค่าของนาฬิกาเรือนนี้เมื่อปิดการประมูลในครั้งนั้นคือราว 15 ล้านบาท!!! 

 

Black Bay One

 

 

Heritage Black Bay 36 รหัส 79500 เปิดตัวมาในปี 2016 ในฐานะรุ่นตัวเรือนขนาดเล็กที่นอกจากขนาดเพียง 36 มม. ซึ่งเล็กกว่ารุ่นอื่นๆ แล้ว ยังเป็นรุ่นที่ปราศจากวงขอบตัวเรือนแบบหมุนได้โดยแทนที่ด้วยขอบตัวเรือนสตีลขัดเงา แถมยังกันน้ำได้เพียงระดับความลึก 150 เมตร ส่วนหน้าปัดนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับรุ่นรหัส 79220B ยกเว้นโลโก้ที่เปลี่ยนจากดอกกุหลาบมาเป็นตราโล่ และไม่มีข้อความบอกระดับการกันน้ำระบุไว้ ขณะที่กลไกยังคงใช้รหัส 2824 เช่นเดียวกับรหัส 79220 รุ่นต่างๆ สำหรับสายจะมีให้เลือกทั้งแบบสายสตีลและแบบสายหนังสีเบจโทนน้ำตาลอ่อน พร้อมสายผ้าทอลายพรางให้สลับเปลี่ยน

 

HBB361

HBB363HBB364

 

 

Heritage Black Bay รหัส 79230R, 79230B, 79230N เปิดตัวมาในปี 2016 เพื่อมาแทนรหัส 79220 รุ่นเดิมทั้ง 3 สี รายละเอียดโดยรวมยังคงเหมือนเดิม ยกเว้นรายละเอียดบนหน้าปัด ที่เปลี่ยนสัญลักษณ์จากดอกกุหลาบมาเป็นตราโล่ตามแบบ Submariner รหัส 7016 รุ่นปี 1969 และข้อความที่เอา ROTOR, SELF-WINDING ออกแล้วแทนที่ด้วย CHRONOMETER OFFICIALLY CERTIFIED ซึ่งเป็นการบอกว่ากลไกของรุ่นนี้ได้รับการรับรองความแม่นยำในการทำงานตามมาตรฐานโครโนมิเตอร์โดย COSC เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยกลไกอัตโนมัติที่ใช้กับรุ่นนี้ไม่ใช่กลไกจาก ETA อีกต่อไป หากแต่เป็นกลไกอินเฮ้าส์รุ่นใหม่ ความถี่ 28,800 ครั้งต่อชั่วโมง รหัส MT5602 ของ TUDOR เอง (MT ย่อมาจาก Mouvement Tudor) ซึ่งมีกำลังสำรองยาวนานถึง 70 ชั่วโมง และใช้บาลานซ์สปริงวัสดุซิลิคอน ที่มีข้อดีตรงความแข็งแกร่งทนทานและมีพื้นผิวที่เรียบลื่นสุดๆ ส่วนสายนั้นยังคงมีทั้งสายสตีลและสายหนังสีต่างๆ ให้เลือกเช่นเดิม แต่สายสตีลที่ใช้นั้นจะเป็นสายแบบใหม่ที่ได้รับการออกแบบด้านข้างของข้อสายให้คล้ายกับมีชิ้นโลหะและหัวหมุดรีเว็ทอยู่ด้วยซึ่งเป็นลักษณะที่นำมาจากสายออยสเตอร์ที่ใช้กับ Tudor Submariner ในยุคแรก ส่วนสายผ้าทอที่ให้มาสลับเปลี่ยนนั้นนอกจากสีเดิมแล้ว ในรุ่นขอบตัวเรือนสีแดงจะมีสายผ้าสีแดงมาให้เลือกด้วย

 

m79230r 0000 black fabric black det1 xxl

 

m79230n 0002 black 72060 det1 amb xxl

 

m79230b 0000 black fabric blue f xl rvbm79230b 0002 black 72060 f xl rvb

 

m79230b 0002 black leather blue f xl rvbm79230dk 0003 black leather black f xl rvb

 

m79230n 0000 black fabric black f xl rvbm79230r 0000 black fabric burgundy f xl rvb

 

m79230r 0002 black leather brown f xl rvbm79230r 0002 black leather brown f xl rvb1

 

m79230r 0002 black leather brown det3

mt5602 verso

m79230b 0000 det2

 

 

Heritage Black Bay Dark รหัส 79230DK เปิดตัวมาในปี 2016 ด้วยรูปแบบตัวเรือนสตีลเคลือบพีวีดีเป็นสีดำผิวด้าน พร้อมวงแหวนขอบตัวเรือนสีดำที่มีสามเหลี่ยมตำแหน่ง 12 นาฬิกาเป็นสีแดง ส่วนหน้าปัดจะใช้ลักษณะเดียวกับรุ่นขอบตัวเรือนสีน้ำเงินแต่ไม่เหมือนกันเป๊ะๆ เพราะกับรุ่นนี้ใช้ข้อความบอกระดับการกันน้ำเป็นสีแดง ส่วนสายจะมีให้เลือกระหว่างสายสตีลเคลือบพีวีดีสีดำซึ่งเป็นสายแบบเดิมที่ไม่มีลักษณะของรีเว็ทที่ด้านข้าง กับสายหนังฟอกเก่าสีดำ และมีสายผ้าทอสีเทามาให้สลับใช้งาน ขณะที่กลไกนั้นใช้เป็นเครื่องอินเฮ้าส์รหัส MT5602 

 

m79230dk 0001 black 95760dk det1 amb xxl

m79230dk 0003 black leather black f xl rvbm79230dk 0000 black fabric anthracite f xl rvb

 

 

Heritage Black Bay Bronze รหัส 79250BM เปิดตัวมาในปี 2016 ด้วยการใช้ตัวเรือนขนาด 43 มม. ที่สร้างขึ้นด้วยวัสดุบรอนซ์ขัดด้าน ร่วมด้วยวงแหวนขอบตัวเรือนสีน้ำตาลช็อกโกแลตผิวด้าน และใช้หน้าปัดสีน้ำตาลผิวด้านคล้ายกับหน้าปัด ทรอปิคัล ไดอัล ของนาฬิกาวินเทจที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสีหน้าปัดนาฬิกาสมัยก่อนซึ่งจะซีดจางลงตามกาลเวลาที่ล่วงเลย ส่วนสเกล สัญลักษณ์ กับข้อความ ใช้เป็นโทนสีทองแดง ขณะที่หลักชั่วโมงกับเข็มใช้เป็นโทนสีโรสโกลด์ นอกจากนี้หลักชั่วโมงที่ตำแหน่ง 3, 6, 9 นาฬิกายังเปลี่ยนจากแท่งเหลี่ยมมาใช้เป็นตัวเลขอารบิกขนาดใหญ่อีกด้วย สำหรับกลไกที่ใช้จะเป็นกลไกอัตโนมัติอินเฮ้าส์ รหัส MT5601 ซึ่งสเป็คต่างๆ จะเหมือนกับ MT5602 ที่ใช้ในรุ่นอื่นๆ ยกเว้นขนาดของเมนเพลทจะแตกต่างกันเพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของตัวเรือนที่ต่างกัน ส่วนสายที่ให้มากับรุ่นนี้จะเป็นสายหนังฟอกเก่าสีน้ำตาล และมีสายผ้าทอสีน้ำตาลเขียวกากีคาดด้วยลายริ้วสีเบจซึ่งคล้ายกับสายที่ทำจากเข็มขัดร่มชูชีพที่กองทัพเรือฝรั่งเศสเคยนำมาใช้กับนาฬิกา TUDOR ที่กองทัพซื้อไปใช้งาน มาให้สลับเปลี่ยนอีกเส้นหนึ่ง 

 

m79250bm 0000 brown fabric beige det1 amb xxl

 

m79250bm 0000 brown fabric beige det2 amb xxl

mt5601 verso

m79250bm 0001 brown leather brown f xl rvb

 

อ้างอิงภาพและข้อมูลประกอบบางส่วนจาก www.tudorwatch.com

 

By: Viracharn T.