GENEVA WATCH DAYS 2024, Part II

เช่นเคยที่ในงาน GENEVA WATCH DAYS 2024 ในปีนี้ยังคงมีการสัมมนาในหัวข้อ ที่เป็นที่สนใจของผู้คนในอุตสาหกรรมการผลิตนาฬิกา โดยมีผู้เข้าร่วมสัมนาในพื้นที่ใหม่ที่เรียกว่ากลาสบ๊อกซ์ ที่อยู่ติดกันกับพาวิลเลี่ยนหลัก รวมทั้งกิจกรรมพร้อมอาหารว่างที่จัดโดย Fondation de la Haute Horlogerie (FHH) และการให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโลกของนาฬิกาแต่ละแบรนด์ รวมไปถึงนาฬิกาในยุคปัจจุบัน และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับกาลเวลา อันเป็นส่วนสำคัญของชีวิต

 

3106 geneva watch days aug2024 simeon

 

นอกจากนี้ยังมีส่วนปีกของพาวิลเลี่ยนที่ Grand Prix d'Horlogerie de Genève (GPHG), École d'Horlogerie de Genève, Horological Society of New York (HSNY), Horopedia และ The Watch Library รวมทั้งพันธมิตรอีกมากมาย ที่ร่วมกันนำเสนอกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการประมูลเพื่อการกุศลโดย Geneva Watch Days และ Phillips ร่วมกับ Bacs & Russo ที่ระดมทุนได้กว่า 108,000 สวิสฟรังก์ให้กับกองทุนเพื่อช่วยเหลือ เด็กนักเรียนด้านนาฬิกาในสวิสเซอร์แลนด์

 

01

 

02

 

03

 

04

 

05

 

06

 

ซึ่งในส่วนของการจัดแสดงนาฬิการุ่นใหม่ในปีนี้กับ GIRARD-PERREGAUX ที่มีการจัดแสดงถึงประวัติศาสตร์ของแบรนด์ เพื่อนำเสนอนาฬิการุ่นใหม่สุดอลังการทั้ง Tourbillon with Flying Three Bridges นาฬิการุ่นใหม่ที่นำชุดกลไกทรีบริจด์อันโดงดัง มาปรับปรุงใหม่ในแบบสเกเลตันที่เหนือชั้นยิ่งกว่าเดิม รวมทั้งรุ่นเด่นอีกรุ่นของงานกับ La Esmaralda Tourbillon “A Secret” Eternity Edition ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเลิศในงานด้านการผลิตของแบรนด์

 

07

 

08

 

09

 

10

 

12

 

ต่อมากับ LOUIS ERARD พร้อมการเปิดตัวนาฬิการุ่นที่ทำงานร่วมกันกับช่างนาฬิกาคนดัง Stephan Kudoke ใน 4 โทนสีทั้งฟ้า เขียว และม่วงโดยมีรุ่นเด่นคือรุ่นแบบหน้าปัดมุก ที่ถือว่าแปลกตากว่าสไตล์ของแบรนด์ที่เคยนำเสนอมาก่อนหน้านี้ โดยคงรูปแบบหน้าปัดย่อยที่มีการแกะสลักลายกิโยเช่ เข็มบลูด์สตีล และแท่นแสดงชื่อแบรนด์บนหน้าปัดตามสไตล์ของ KODUKE โดยยังคงการผลิตที่จำกัดทั้ง 4 โทนสีที่มีจำนวนรวมกัน 100 + 78 + 100 + 78 เรือน

 

13

 

14

 

กับประวัติศาสตร์ด้านความเป็นนาฬิกาแบบไดเวอร์ของ GLASSHUTE ORIGINAL รุ่น SeaQ  Chronograph ที่นำเสนอในสีสันโทนขาว/ดำใหม่ กับขอบเบเซิลสตีลที่ผนึกเข้ากับเซรามิคสีดำ ที่ตัดกันเป็นอย่างดีกับขอบหน้าปัดย่อยด้านใน มาร์กเกอร์และตัวเลขแสดงค่าเวลา รวมทั้งพื้นแผ่นดิสก์ที่แสดงวันที่ และเข็มนาฬิกาที่มีการเคลือบสารเรืองแสงสีขาว ที่เมื่อกระทบกับแสงและใช้งานในความมืดแล้ว จะกลายเป็นสีฟ้าอมเขียวที่ทั้งโดดเด่นและสวยงามในทันทีที่เห็น

 

15

 

16

 

17

 

PERRELET กับนาฬิการุ่น Turbine ยอดนิยมของแบรนด์ที่ในปีนี้ ที่นำเสนอในหน้าปัดโทนสีฟ้าไอซ์บลู ในชื่อรุ่น Turbine Ice Blue Collection โดยนำเสนอในแบบตัวเรือนไทเทเนียมดีแอลซีสีดำขนาด 41 มิลลิเมตร และแบบตัวเรือนคาร์บอนไฟเบอร์สีดำขนาด 44 มิลลิเมตร พร้อมการทำงานของกลไกที่ได้รับการรับรองด้านความเที่ยงตรงในระดับ COSC นอกจากนี้ยังมี Turbine Splash นาฬิกาในโทนการตกแต่งสีสันให้สดใสทั้งมาร์กเกอร์และพื้นหลัง ที่มาในตัวเรือนคาร์บอนขนาด 44 มิลลิเมตรเช่นกัน

 

18

 

19

 

โดดเด่นเป็นพิเศษกับ BIANCHET B1.618 Flying Tourbillon Grande Date Sapphire กับรูปแบบตัวเรือนที่ผลิตขึ้นจากแซฟไฟร์ล้วน พร้อมคงสไตล์ตัวเรือนแบบสามชิ้นไว้ ด้วยชิ้นยางรอบขอบชิ้นด้านหน้าและด้านหลัง โดยมีการปรับชิ้นยางให้มีขนาดที่เหมาะม เพื่อไม่ให้บดบังความโปร่งใสของตัวเรือนในทุกมุมมอง กับโครงสร้างตัวเรือนที่สร้างขึ้นด้วยอัตราส่วนทองคำเช่นเดิม ที่โดดเด่นด้วยโครงสร้างสีดำ ตัดกันกับตัวเรือนแซฟไฟร์และสายยางสีขาวได้อย่างน่าสนใจ

 

25

 

22

 

MB&F ในปีนี้มีการทำงานร่วมกันกับ L’EPÉE นำเสนอนาฬิกาแบบตั้งโต๊ะที่มีโครงสร้างที่งดงาม และอลังการในรูปแบบเรือบินภายใต้ชื่อ Albatross พร้อมการนำเสนอนาฬิการุ่นที่เรียกเสียงฮือฮาได้ดีเช่นเคยกับ M.A.D.1S ที่มีการนำเสนอในสองโทนสีทั้งฟ้าและม่วง พร้อมการทำงานจากชุดกลไกใหม่ของ LA JOUX-PERRET คาลิเบอร์ G101 ที่ทำให้นาฬิกามีตัวเรือนที่บางลง โดยสมาชิก Tribe จะสามารถเลือกเป็นนาฬิกาโทนสีม่วงได้ ในขณะที่รูปแบบการจับฉลาก สำหรับคนทั่วไปจะเป็นสำหรับนาฬิกาโทนสีฟ้า

 

23

 

24

 

สุดท้ายกับ KONSTANTIN CHAYKIN ThinKing Prototype นาฬิกาจากช่างชาวรัสเซียผู้มากฝีมือ ที่ในงานนี้มีการนำเสนอนาฬิกาแบบโปรโตไทป์ที่มีขนาด 40 มิลลิเมตรและความบางเพียง 1.65 มิลลิเมตรพร้อมน้ำหนักเพียง 13.3 กรัมไม่รวมสาย โดยยังคงหน้าตาสไตล์ของแบรนด์เอาไว้ พร้อมชื่อแบรนด์แทนปากยิ้ม และโลโก้แบรนด์แทนจมูก ทำงานด้วยกลไกอินเฮ้าส์คาลิเบอร์ K.23.0 ที่ให้พลังสำรองลานนาน 32 ชั่วโมง โดยการไขลานผ่านอุปกรณ์เฉพาะจากทางด้านหลัง