'Review' GIRARD-PERREGAUX Laureato 42 mm (Ref.81010)

  

นาฬิกาสปอร์ตหรูในยุคทศวรรษ 1970 ที่โด่งดังหลัง Audemars Piguet Royal Oak ก็คือ Girard-Perragaux (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกย่อๆ ว่า GP) รุ่น Laureato รุ่นนี้ครับ ในช่วงเวลาก่อนที่ Patek Philippe รุ่น Nautilus และ Vacheron Constantin Ref. 222 (บรรพบุรุษของรุ่น Overseas) จะกำเนิด

 

Review & photos by: Non - Prayuth P.

 

Laureato 11

 

 

ถึงจะมีหน้าตาละม้าย Royal Oak อยู่บ้าง แต่ถ้าได้จับและดูให้ลึกถึงรายละเอียดก็จะพบว่าแตกต่างกันอย่างชัดเจนครับ และนี่ก็เป็นสปอร์ตหรูรุ่นดังรุ่นเดียวในยุคนั้นที่ไม่ใช่ผลงานการออกแบบของปรมาจารย์ Gerald Genta แต่แฝงไปด้วยแรงบันดาลใจเดียวกัน เพราะการละม้ายของ Nautilus, Ingenieur SL (IWC) และ Ref.222 (หรือ Overseas ในเวลาต่อมา) ที่ออกตามมาภายหลัง Laureato ก็อาจจะเป็นการหยิบยืมแรงบันดาลใจนี้มาเช่นกัน?

 

 

50 shades of blue

 

Laureato 42 mm (Ref. 81010) รุ่นใหม่ปี 2017 รุ่นนี้ นอกจากเด่นในเรื่องรูปทรงของตัวเรือนแล้ว ที่สะดุดตาที่สุดก็คือ หน้าปัดสีฟ้าออกแนวเมทัลลิก ซึ่งเป็นสีที่ผมชอบเป็นการส่วนตัว สมัยก่อนในรุ่น Royal Oak จะมีสี คอสโม บลู ที่จะเป็นสีน้ำเงินเข้ม แต่ก็ดูเข้มไปหน่อย หรือสีน้ำเงินเมทัลลิกของ Breitling Superocean ที่มีพื้นหน้าปัดเรียบปัดลายขนแมว ก็ดูฉูดฉาดมากในบางมุมที่สะท้อนกับแสง คงมีแต่ Laureato รุ่นนี้ที่มีพื้นหน้าปัดแบบปิรามิดและมีเฉดสีฟ้าปนเทาที่เปลี่ยนเฉดสีไปตามมุมแสงที่มาตกกระทบ ทำให้ดูหน้าปัดได้เพลินไปทั้งวันเลยครับ

 

 

Laureato 6

 

Laureato 3  Laureato 4

 

 

เปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น

 

หน้าปัดโทนสีน้ำเงินหรือฟ้าของทั้ง 3 รุ่น (นาฬิกา 3 รุ่น ที่นำมาเทียบกันในภาพคือ Laureato 42 mm, Nautilus 5712 และ Royal Oak Offshore Chronograph) มีความเข้มของสีโทนฟ้าที่แตกต่างกัน โดย Laureato จะมีสีฟ้าที่ดูสว่างที่สุด ส่วนสายเหล็กที่ดูตล้ายกับ Nautilus ก็จะเห็นว่ามีขนาดความกว้างในแต่ละข้อต่างกัน รูปทรงของข้อนั้น Laureato จะใหญ่กว่าและดูแบนกว่า แต่จะคล้ายกันตรงที่การขัดแต่งสาย สำหรับหน้าปัดนั้น Laureato จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า Nautilus

 

 

Laureato 13

 

ตัวเรือนของ Laureato มีขอบเบเซิลแปดเหลี่ยมบนฐานกลมที่ดูคล้ายกับ Royal Oak แต่สังเกตดีๆ แล้ว Royal Oak จะเหมือนเอาหัวน๊อตมาแปะไว้ แต่ Laureato รุ่นนี้ถูขอบให้สโลปลงมาจนเกือบจรดฐานวงกลมทำให้ดูกลมกลืนมากกว่า นิ่มนวลกว่า ซึ่งถ้าเปรียบ Royal Oak เป็นซูเปอร์คาร์ ก็คงเป็น Lamborghini ที่มีเส้นตัวถังเป็นเหลี่ยมคม ส่วน Laureato คงเปรียบเป็น Ferrari ที่มีเส้นสายมนและนิ่มนวลกว่า สำหรับ Nautilus ก็เป็น Porsche ไปละกัน

 

 

Laureato 8

 

Laureato 9

 

ขอบแปดเหลี่ยมฐานกลม กับตัวเรือนที่โน้มลงมากตามข้อมือของ Laureato ดูเป็นชายชาตรีมากกว่า Nautilus

ที่มีขอบเบเซิลที่เหลี่ยมก็ไม่เหลี่ยม กลมก็ไม่กลม ดูแปลกๆ

 

 

Laureato 101

 

ฟ้าที่สดใสกว่า

 

 

Laureato 12

 

ช่วงเชื่อมต่อจากตัวเรือนไปยังสาย ของ Nautilus จะดูแบนๆ ราบไปกับข้อมือ ส่วน Royal Oak ก็จะงุ้มลงมาจนเกือบตรงซึ่งคงจะเป็นเพราะขนาดตัวเรือนที่ใหญ่กว่า จากด้านข้างเราจะเห็นว่าขอบเบเซิลของ Royal Oak จะเหมือนแปะลงไปบนตัวเรือนตรงๆ ส่วนของ Nautilus นี่แทบจะติดเป็นเนื้อเดียวกับตัวเรือนเลย คงมีแต่ Laureato ที่ทั้งขอบและสันของตัวเรือนมีความสโลปที่ดูกลมกลืนกัน

 

 

Laureato 17  Laureato 16

 

Laureato 141  Laurato 151

 

Lume test: เมื่อเปรียบเทียบ Laureato กับ Nautilus จะเห็นว่าความสว่างของพรายน้ำในที่มืดนั้นทำได้ใกล้เคียงกัน

 

 

Laurato 20

 

Laureato 21

 

เครื่องอัตโนมัติ GP01800 ที่ใช้เฉพาะในรุ่นตัวเรือนขนาด 42 มม. (Laureato 42 mm Ref. 81010) เป็นเครื่องใหม่ที่อัพเกรดจาก Laureato

เวอร์ชั่นลิมิเต็ด (Heritage Laureato Ref. 81000 ขนาด 41 มม.) เมื่อปีที่แล้ว เพลทเครื่องแบ่งเป็น 3 ชิ้น ขัดแต่งมาอย่างสวยงาม 

 

 

Laureato 23

 

สายเหล็กดีไซน์รูปทรงตัว H โค้งกระชับข้อมือ ตัวล็อคเป็นแบบ butterfly clasp สลักตัวย่อ GP

 

 

Laureato 22