BOVET, Fleurier Collection, Orbis Mundi

ปี 1797 Edouard Bovet เกิดในเฟลอริเยร์ เป็นลูกชายของ Jean-Frédéric Bovet ผู้ที่เป็นต้นแบบและทำให้ Edouard กลายเป็นช่างนาฬิกาผู้ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา เนื่องจากการเดินทางออกจากลอนดอนเมื่อวันที่ 20 เมษายน 1818 ด้วยเรือ Orwell ซึ่งเป็นเรือของ Compagnie des Indes เพื่อเดินทางไปค้าขายยังประเทศจีน และสามารถขายนาฬิกาสี่เรือนได้อย่างรวดเร็วเพียงไม่กี่วันหลังจากไปถึง โดยยอดการขายนั้นรวมเป็นเงินถึง 10,000 ฟรังก์สวิส ซึ่งคิดเป็นมูลค่าเท่ากับเงินหนึ่งล้านยูเอสดอลลาร์ในปัจจุบัน
 
Screen Shot 2565 04 14 at 23.02.09
 
ในขณะที่ House of BOVET ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว มีการจดทะเบียนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1822 ที่ลอนดอน ซึ่งในเวลานั้น Edouard Bovet อาศัยอยู่ในเจนีวา ในขณะที่พี่ชายของเขา Alphonse และ Frederic อยู่ในลอนดอน และ Gustave เป็นผู้จัดการเวิร์คช็อปใน Fleurier โดยพวกเขาได้ร่วมกันก่อตั้งแบรนด์ BOVET และมีจุดประสงค์เพื่อเป็นผู้นำด้านการผลิตนาฬิกา ที่โดดเด่นด้านการตกแต่งและความเที่ยงตรงของกลไกในระดับยอดเยี่ยม
 
Screen Shot 2565 04 14 at 22.55.12
 
ซึ่ง Edouard Bovet เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตนาฬิกา ที่มีฝาหลังแบบโปร่งใสและสามารถมองเห็นการทำงานของกลไกได้ โดยความโปร่งใสนี้นอกจากจะเผยให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญ ด้านกลไกที่ไม่มีใครเทียบได้ในยุคนั้น ทั้งจากชิ้นส่วนและการทำงานของดูเพล็กซ์เอสเคปเมนท์รวมทั้งสวิสลีเวอร์ชุดแรกของโลก ที่ติดตั้งอยู่ในกลไกนาฬิกาจาก BOVET ยังมีความงดงามของการจัดวางชิ้นส่วนกลไก รวมไปถึงความประณีตของการขัดแต่งชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านี้อย่างมีเอกลักษณ์อีกด้วย
 
Screen Shot 2565 04 14 at 22.55.50
 
นอกจากนี้ในปี 1835 Château de Môtiers ที่ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 14 ที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์อันงดงามได้ทั้งวาล-เดอ-ทราเวอร์สและเฟลอริเยร์ Fleurier ก็ถูกขายให้กับ Henri-François Dubois-Bovet ทายาทของตระกูล Bovet ในเวลาต่อมา ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าศูนย์กลางการผลิตนาฬิกาของ BOVET ณ เฟลอริเยร์ และสำนักงานด้านการขายในลอนดอน รวมไปถึงตลาดสำคัญของแบรนด์ในยุคนั้นนั่นก็คือประเทศจีน เป็นพื้นที่ๆ ต่างกันและมีไทม์โซนอันหลากหลาย

 

Screen Shot 2565 04 14 at 23.02.56

 

มาถึงยุคปัจจุบัน ลองนึกภาพดูว่าเรากำลังเดินทางเพื่อธุรกิจจากไมอามี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ไปยังเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จากนั้นก็ต่อไปยังดูไบ และสุดท้ายสิ้นสุดที่สิงคโปร์ การหาว่าช่วงเวลาใดเป็นไทม์โซนใด หลังจากการเดินทางข้ามโซนเวลาต่างๆ มานับเป็นสิ่งที่ท้าทายพอสมคร และหากเลือกใช้นาฬิกาที่แสดงเวลาโลกแบบมาตรฐาน โอกาสที่ข้อมูลเวลาโลกบนหน้าปัด จะเล็กเกินไปสำหรับดวงตาที่อ่อนล้าของเราที่จะอ่านได้จริงจึงมีอยู่สูงมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องปรับเปลี่ยนไทม์โซนเวลาของเมืองต่างๆ อยู่เรื่อยๆ

 

Screen Shot 2565 04 14 at 23.03.29

 

ดังนั้นเพื่อตอบสนองความต้องการนี้ BOVET จึงได้พัฒนาความก้าวหน้าครั้งสำคัญในด้านการตั้งค่าและการใช้ฟังก์ชั่นเวลาโลกในนาฬิการุ่น Orbis Mundi โดยนาฬิการุ่นใหม่นี้จะแสดงโซนเวลาทั้งหมด 24 ไทม์โซนได้อย่างรวดเร็ว ด้วยหน้าปัดที่มีความโดดเด่นและแสดงชื่อเมืองต่างๆ ของโลกอย่างชัดเจน รวมทั้งฟังก์ชั่นต่างๆ ทั้งหมดก็สามารถตั้งค่าได้อย่างสะดวกโดยใช้เพียงชุดเม็ดมะยม ร่วมกันทำให้หน้าปัดนี้สามารถปรับตั้งและอ่านค่าเวลาโลกได้อย่างสะดวกและง่ายดาย

 

Screen Shot 2565 04 14 at 23.01.32

 

โดย BOVET ใช้เวลาในการพัฒนาชุดกลไกนี้มานานกว่าสองปีและคำว่า Orbis Mundi ในภาษาละตินจะหมายถึง "โลก" ที่ทำให้ทั้งการตั้งค่าและการแสดงเวลาโลก ง่ายดายขึ้นสำหรับผู้ชื่นชอบนาฬิกาในยุคปัจจุบัน จากการหมุนเม็ดมะยมทวนเข็มนาฬิกาเพื่อตั้งค่าชั่วโมงและนาที และหมุนตามเข็มนาฬิกาเพื่อตั้งค่าหน้าปัดไทม์โซนเวลาโลกทั้ง 24 อย่างไม่ยากเย็น รวมทั้งการแสดงชื่อเมืองทั้งหมดบนหน้าปัดหลัก แทนการแสดงที่ขอบตัวเรือน ในลักษณะเดียวกันกับนาฬิกาแบบเวริล์ดไทม์ทั่วไป
 
Screen Shot 2565 04 14 at 22.55.35
 
Orbis Mundi โดดเด่นด้วยความสะดวกในการใช้งานภายใต้ตัวเรือนแบบ Fleurier อันเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์สำคัญของแบรนด์ ในความเป็นเลิศทางด้านการผลิตนาฬิกามาอย่างยาวนานกว่าสองศตวรรษอย่างแท้จริง โดยมีตัวเรือนที่ผลิตจากไทเทเนียมเกรด 5 ขนาด 42 มิลลิเมตร หรือตัวเรือนเรดโกลด์ให้เลือก พร้อมการออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ เพื่อให้ความสบายสูงสุดในการสวมใส่ไม่ว่าข้อมือจะมีขนาดเท่าใด กับความเพรียวบางที่ 11.25 มิลลิเมตร และเม็ดมะยมแบบเจียรหลังเบี้ย ณ ตำแหน่ง 12 นาฬิกาอันเป็นเอกลักษณ์
 
Screen Shot 2565 04 14 at 22.55.29
 
และนอกจากหน้าปัดแสดงเวลาชั่วโมงและนาทีที่ชัดเจนและอ่านค่าได้อย่างง่ายดายแล้ว นาฬิการุ่นนี้ยังเปิดกลไกด้านหน้าปัดบางส่วน เพื่อแสดงให้เห็นชุดบาลานซ์วีล เฟืองจักร และชุดเข็มวินาทีแบบสามแขน ณ ตำแหน่ง 6 นาฬิกา พร้อมความโดดเด่นของหน้าปัดที่ผลิตจากอเวนจูรีนทั้งหน้าปัดเล็กด้านบน และสเกลแสดงค่าวินาทีด้านล่าง รวมไปถึงหน้าปัดขนาดเล็กที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกาเพื่อแสดงค่าพลังสำรองลาน ซึ่งย้ำถึงความสามารถในการสำรองพลังงานได้ถึงเจ็ดวันอย่างน่าทึ่ง
 
Screen Shot 2565 04 14 at 23.19.03
 
กลไกที่มีความสามารถในการสำรองพลังงานได้อย่างยาวนานและน่าประทับใจนี้ เกิดขึ้นจากการที่ Mr. Pascal Raffy เจ้าของแบรนด์ BOVET ในปัจจุบัน ผู้ซึ่งเป็นผู้ที่ชื่นชอบในเรื่องของเครื่องบอกเวลาระดับสูง รวมทั้งเป็นนักสะสมระดับโลกผู้ที่รู้ดีว่าการสำรองพลังงานที่ยาวนาน มีความสำคัญเพียงใดในด้านการทำงานสำหรับนาฬิกากลไกที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งรวมไปถึงคุณภาพของการแสดงค่าเวลา อันจะมีผลต่อเนื่องมาจากตลับลานที่ทรงประสิทธิภาพ และความสามารถในการให้พลังงานอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
1222