GRAND SEIKO, จากอดีตสู่อนาคต ตอนที่ 3

ทั้งนาฬิการุ่น 95GS และ 8NGS ในปี 1988 และปี 1989 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงนาฬิกาแบบกลไกของโลก เนื่องจากความเที่ยงตรงและความทนทานที่ผู้คนในยุคนั้นต้องการ จะมีกลไกควอท์ซเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ซึ่งส่งผลจนกระทั่งทำให้นาฬิกาจากสวิตเซอร์แลนด์ต้องปิดกิจการไปจำนวนมาก จากการปรับตัวกับความต้องการใหม่ของผู้คนในโลกไม่ทัน โดยแนวทางในการพัฒนากลไกแบบควอท์ซของ GRAND SEIKO ก็ถือเป็นความล้ำยุค ให้ความเที่ยงตรง และความทนทานแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

 

1988

นาฬิกา GRAND SEIKO รุ่น 95GS

 

และแม้ในปี 1992 ที่ GRAND SEIKO สามารถพัฒนากลไกควอท์ซคุณภาพสูงที่มีขนาดเล็กลง และสามารถบรรจุและสร้างเป็นนาฬิกาสำหรับคุณสุภาพสตรีรุ่น 3FGS สู่ตลาด ซึ่งถือเป็นการสร้างนาฬิกาในครบไลน์สำหรับทั้งคุณสุภาพบุรุษและคุณสุภาพสตรีแล้ว พร้อมความเที่ยงตรงในระดับ 10 วินาทีต่อปีตามมาตราฐานของกลไกควอท์ซจาก GRAND SEIKO แต่ทีมงานก็ยังมีความต้องการในการสร้างสิ่งใหม่ๆ เช่นเคย เช่นเดียวกับมาตรฐาน 4 อย่างสำหรับกลไกควอท์ซที่เคยสร้างมาแล้ว

 

1989

นาฬิกา GRAND SEIKO รุ่น 8NGS

 

มาตรฐาน 4 อย่างสำหรับกลไกควอท์ซจาก GRAND SEIKO คือ ระบบการปรับระดับการกระตุกของเข็มโดยอัตโนมัติ ระบบการควบคุมเข็มแบบสองจังหวะ ระบบการเปลี่ยนจานวันที่แบบทันที และมีฝาหลังปิดทึบสำหรับการป้องกันสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อสร้างความแม่นยำในการแสดงเวลา ความงดงามในทุกอนู ความสามารถในการอ่านค่าเวลาได้อย่างชัดเจนและง่ายดาย รวมไปถึงความทนทานและความสะดวกสบายในการใช้งานจริงของทุกวัน ที่ทำให้กลไกควอท์ซจาก GRAND SEIKO โดดเด่นเป็นที่สุดในยุคนั้น

 

1992

นาฬิกา GRAND SEIKO รุ่น 3FGS

 

จนเป็นที่มาของนาฬิกา GRAND SEIKO รุ่น 9F8 ที่ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี 1993 พร้อมมาตรฐาน 4 อย่างและต่อเนื่องจนถึงปี 1997 ที่ GRAND SEIKO ได้เปิดตัวนาฬิการุ่น 9F6 ที่มีดีไซน์ตัวเรือนที่โดดเด่นยิ่งขึ้น จากการพัฒนางานด้านการขัดแต่งให้มีความเงาแวววาวราวกับกระจก พร้อมความเสมอและเรียบเนียนของพื้นผิว จนทำให้เงาที่เกิดขึ้นเป็นดั่งกระจก และไม่เกิดภาพที่บิดเบี้ยวขึ้น ซึ่งถือเป็นการพิสูจน์ถึงความเงางามและเรียบเนียน จนสามารถทำให้เกิดภาพในลักษณะนี้ขึ้นได้

 

1993

นาฬิกา GRAND SEIKO รุ่น 9F8

 

ซึ่งในช่วงนั้นเอง แม้กลไกควอท์ซจาก GRAND SEIKO ที่ถือเป็นกลไกนาฬิกาชั้นดีจะได้รับความนิยมสูงจากผู้คนทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกันที่ GRAND SEIKO ก็ยังคงองค์ความรู้ของนาฬิกาในรูปแบบเดิมไว้ โดยไม่คิดเพียงการปรับปรุงส่วนต่างๆ เพียงเล็กๆ น้อย แต่มุ่งมั่นที่จะนำชุดกลไกเดิมมาสร้างใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมในทุกอนู ด้วยเทคโนโลยีในโลกยุค 90s นักออกแบบกลไกของ GRAND SEIKO จึงนำแผนดั้งเดิมกลับมาพิจารณาเพื่อนำไปสู่แนวทางใหม่ๆ ในทุกแง่มุม จนเกิดเป็นนาฬิกากลไกซีรี่ส์ 9S ขึ้นในปี 1996

 

Screen Shot 2564 06 17 at 23.05.57

นาฬิกา GRAND SEIKO รุ่น 9F6

 

ในปี 1990 GRAND SEIKO ส่งชุดกลไกหลายชุดเพื่อนำไปทดสอบระดับความเที่ยงตงที่ Contrôle Officiel Suisse des Chronomètres (COSC) ซึ่งเป็นสถาบันทดสอบความเที่ยงตรงอย่างเป็นทางการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยสามในสี่ของกลไกชุดต้นแบบสามารถผ่านการทดสอบในทันที และหลังจากนั้นจึงมีการส่งกลไกอีกจำนวน 50 ชุดเพื่อทำการทดสอบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการทดสอบออกมาอย่างน่าประทับใจ เพราะชุดกลไกทั้งหมดจำนวน 50 ชุดล้วนผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของสถาบันอย่างครบถ้วน

 

1998

นาฬิกา GRAND SEIKO รุ่น 9S5

 

ความสำเร็จในครั้งนั้น ถือเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของ GRAND SEIKO แต่ทว่า GRAND SEIKO ยังต้องการมาตรฐานที่สูงยิ่งกว่า จึงเป็นที่มาของการกำหนดมาตรฐานใหม่ อันเข้มข้นมากกว่าสำหรับนาฬิกาทุกเรือนจาก GRAND SEIKO นั่นก็คือ การทดสอบชุดกลไกในตำแหน่งต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นจากปกติ การทดสอบชุดกลไกในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น การทดสอบชุดกลไกในอุณหภูมิที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยมีการระบุสถานะต่างๆ ในกล่องนาฬิกาของนาฬิกากลไกจาก GRAND SEIKO ทุกรุ่นจากนั้นเป็นต้นมา

 Screen Shot 2564 06 17 at 23.24.46

 

และเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในระดับสูงสุดตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ ระบบการสำรองพลังงานจึงต้องเพิ่มระดับจาก 40 ชั่วโมงเป็น 50 ชั่วโมงเป็นขั้นต่ำสำหรับนาฬิกาแบบกลไก ซึ่งต้องใช้ทั้งนวัตกรรมด้านวัสดุ การออกแบบ เทคนิคในการผลิต การประกอบ และการคิดค้นวัสดุใหม่เพื่อใช้ในการนี้ ดังนั้นโรงงานแห่งใหม่ พร้อมการลงทุนอย่างเต็มรูปแบบสำหรับ GRAND SEIKO จึงเกิดขึ้น เพื่อจุดมุ่งหมายให้กลไกซีรี่ส์ 9S เป็นกลไกชุดที่ดีที่สุดในโลกชุดหนึ่ง

 

 กรุณาติดตามเรื่องราวต่อในตอนต่อไป

 

 

Grand Seiko 2021 1920x720