ชมนาฬิกาวินเทจจาก LONGINES

ชมนาฬิกาวินเทจจาก LONGINES แบรนด์นาฬิกาสวิสสุดเก่าแก่

 

สืบเนื่องจากในเดือนพฤศจิกายน 2017 LONGINES (ลองจินส์) แบรนด์นาฬิกาสวิสแบรนด์เก่าแก่ที่มีอายุครบ 185 ปีในปีนี้ ได้นำนาฬิกาเรือนวินเทจของตนจากพิพิธภัณฑ์ LONGINES มาจัดแสดงนิทรรศการในประเทศไทย ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เราจึงอยากจะนำประวัติโดยสังเขปของ LONGINES และภาพนาฬิกาบางเรือนมาขยายความให้ได้รับทราบกันอันจะทำให้ได้รู้จักกับนาฬิกาแบรนด์นี้กันมากขึ้น

 

จุดกำเนิดของ LONGINES เริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 1832 ณ เมือง Saint-Imier (แซง-ติมิเยร์) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย Auguste Agassiz (ออกุสต์ อกาสซีส์) ได้ตั้งต้นจากการตั้งเคาน์เตอร์รับประกอบนาฬิกาตามใบสั่งของลูกค้า ซึ่งเขาจะสั่งให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนหรือนักประดิษฐ์นาฬิกาเป็นผู้ผลิตให้กับเขา กระทั่งถึง ค.ศ. 1867 หลานของเขาชื่อ Ernest Francillon (แอร์เนสต์ ฟรองซิญง) ผู้รับช่วงกิจการต่อจาก Auguste คิดที่จะตั้งโรงงานเพื่อผลิตชิ้นส่วนกลไกและทำการประกอบนาฬิกาด้วยตัวเอง เพราะต้องการที่จะผลิตนาฬิกาได้อย่างครบวงจรและได้จำนวนที่มากขึ้น จึงได้ซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อตั้งโรงงานขึ้น ณ ที่ดินบริเวณหุบเขาริมแม่น้ำซึ่งเรียกกันว่า “Es Longines” อันนำมาซึ่งชื่อแบรนด์อย่างเป็นทางการว่า LONGINES ในเวลาต่อมา

 

จากนาฬิกาพกในสมัยประวัติศาสตร์ช่วงแรกของ LONGINES ที่เริ่มต้นตั้งแต่รูปแบบนาฬิกาพกที่แข็งแกร่งเน้นความทนทานในการใช้งาน นาฬิกาพกโครโนกราฟสำหรับจับเวลา และนาฬิกา “มารีนโครโนมิเตอร์” สำหรับเรือเดินสมุทรเพื่อใช้สำหรับคำนวณตำแหน่งและพิกัดการเดินทาง ต่อด้วยการผลิตนาฬิกาพกที่มีตัวเรือนและกลไกที่บางขึ้น ซึ่งเริ่มเน้นความสวยงามของการตกแต่งในรูปแบบต่างๆ เช่น การเพ้นต์ลายหรือภาพบนหน้าปัด การสลักลาย การประดับอัญมณี และการตกแต่งด้วยเทคนิคต่างๆ อาทิ การถมทองเป็นลวดลาย จากนั้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ก็เริ่มผลิตนาฬิกาข้อมือไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการใช้งานนาฬิกาของโลกจากนาฬิกาพกไปเป็นนาฬิกาข้อมือ โดยมีการผลิตออกมาหลากหลายรูปแบบทั้งสำหรับผู้ชายและสำหรับผู้หญิงไปจนถึงนาฬิกาข้อมือกลไกโครโนกราฟ และนาฬิกาแบบเฉพาะทางสำหรับนักบินที่มาพร้อมมาตรสำหรับคำนวณพิกัดทางอากาศ ตลอดจนเครื่องจับเวลาความละเอียดสูงที่สร้างเพื่อใช้ในวงการกีฬาโดยเฉพาะ และต่อมาในยุคทศวรรษที่ 1970 ซึ่งเป็นช่วงต้นของเทคโนโลยีกลไกควอตซ์ LONGINES ก็ได้พัฒนากลไกควอตซ์ขึ้นมาทั้งเครื่องแบบ “อิเล็กโทรนิกส์ ควอตซ์” และเครื่องแบบ “อัลตร้า-ควอตซ์”

 

สำหรับนาฬิกาเรือนวินเทจหาชมยากที่ LONGINES นำมาให้ชมกันในประเทศไทยนั้นมีทั้งหมด 29 เรือน โดยแบ่งประเภทนาฬิกาออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ถึง 7 ประเภทด้วยกัน คือ

 

1) พ็อกเก็ตวอตช์หรือนาฬิกาพก ซึ่งเป็นนาฬิการูปแบบแรกที่ทาง LONGINES ผลิตขึ้น

 

1. Hunter pocket watch นาฬกาพกทมการสลกเสลาและเพนตลายภาพทวทศนลงบนหนาปดอยางวจตรบรรจง ค.ศ. 1892S

นาฬิกาพกแบบตัวเรือนฮันเตอร์ ที่มีการสลักตกแต่งอย่างสวยงาม จาก ค.ศ. 1892

 

2. นาฬกาพกเทคนคถมทองเปนลวดลายดอกไม ค.ศ. 1915S

นาฬิกาพกที่ตกแต่งด้วยเทคนิคถมทองเป็นลวดลายดอกไม้ จาก ค.ศ. 1915

 

3. นาฬกาพกหนาปดสขาวแสดงเวลา 24 ชวโมง ค.ศ. 1917S

นาฬิกาพก หน้าปัดสีขาว จาก ค.ศ. 1917 โดดเด่นด้วยสเกลหลักชั่วโมงเลขอารบิกที่มีตั้งแต่หลักชั่วโมงที่ 0 ถึง 23

 

2) นาฬิกาข้อมือสำหรับผู้หญิง ซึ่งเริ่มต้นผลิตขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และเป็นที่นิยมอย่างสูง

 

4. นาฬกาตวเรอนทองทรงตอนโนเรยบๆ ทำงานดวยกลไกไขลาน ค.ศ. 1917S

นาฬิกาข้อมือตัวเรือนทองคำ 18 เค รูปทรงตอนโน ทำงานด้วยกลไกไขลาน จาก ค.ศ. 1917

 

3) รุ่น Flagship นาฬิกาคลาสสิกสไตล์เดรสอันเก่าแก่ที่เริ่มออกแบบใน ค.ศ. 1956 และจดลิขสิทธิ์ชื่อและออกจำหน่ายใน ค.ศ. 1957 โดยที่มาของชื่อ Flagship นั้นสอดคล้องกับภาพเรือธงซึ่งเป็นเรือบังคับบัญชาของกองเรือ ที่ถูกสลักหรือสแตมป์ไว้บนฝาหลังของตัวเรือน ซึ่งทายาทของรุ่นนี้ก็ยังคงถูกผลิตออกจำหน่ายอย่างต่อเนื่องในชื่อคอลเลคชั่น Flagship และได้รับความนิยมอย่างสูงเสมอมาจนถึงปัจจุบัน

 

10. รน Flagship ตวเรอนสตลทรงกลม หนาปดขาว ทำงานดวยกลไกอตโนมต ค.ศ. 1960S

นาฬิการุ่น Flagship ตัวเรือนสตีล หน้าปัดสีขาว ทำงานด้วยกลไกอัตโนมัติ จาก ค.ศ. 1960

 

7. รน Flagship ตวเรอนทองทรงกลมหนาปดสนำเงน ทำงานดวยกลไกอตโนมต ค.ศ. 1963S

นาฬิการุ่น Flagship ตัวเรือนทอง หน้าปัดสีน้ำเงิน ทำงานด้วยกลไกอัตโนมัติ พร้อมฟังก์ชั่นวันที่ จาก ค.ศ. 1963

 

4) นาฬิกาสำหรับนักบุกเบิกและโลกแห่งการบิน ซึ่งมีชื่อเสียงมานานตั้งแต่ครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 จากนวัตกรรมกลไกและความแม่นยำเชื่อถือได้ โดยเป็นนาฬิกาที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับช่วยคำนวณตำแหน่งและพิกัดการเดินทางได้อย่างแม่นยำไม่ว่าจะเป็นสำหรับทางทะเลที่เรียกว่า “มารีนโครโนมิเตอร์” สำหรับติดตั้งในเรือเดินสมุทร หรือนาฬิกาสำหรับแสดงพิกัดทางอากาศ

 

13. นาฬกาแสดงพกดทางอากาศ ผลตจากอะลมเนยมทำงานดวยกลไกไขลาน ค.ศ. 1939S

นาฬิกาพร้อมฟังก์ชั่นสำหรับแสดงพิกัดทางอากาศ ตัวเรือนเป็นอลูมิเนียม ทำงานด้วยกลไกไขลาน จาก ค.ศ. 1939

 

5) นาฬิกาโครโนกราฟ เป็นนาฬิกาที่แสดงถึงสายสัมพันธ์ของ LONGINES กับการกีฬามาตั้งแต่ครั้งอดีต

 

6) นาฬิกาจับเวลาสำหรับการกีฬาโดยเฉพาะ ที่สร้างให้แสดงค่าจับเวลาได้อย่างละเอียดแม่นยำและอ่านค่าได้ง่าย

 

4. นาฬกากดจบเวลา ทำงานดวยกลไกไขลาน ค.ศ 1960S

นาฬิกาจับเวลา กลไกไขลาน จาก ค.ศ. 1960

 

7) นาฬิกากลไกควอตซ์ หนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่เข้ามาเปลี่ยนโลกนาฬิกาในช่วงทศวรรษที่ 1970

 

1S

นาฬิกาตั้งโต๊ะ กลไกแบบ “อิเล็กทรอนิกส์ ควอตซ์ คาลิเบอร์ 800” ความแม่นยำสูง ตัวเรือนทำจากไม้มะฮอกกานี จาก ค.ศ. 1965

 

6. นาฬกาขอมอ Ultra Quartz กลไลคาลเบอร 6512 ค.ศ. 1969S

นาฬิกาข้อมือที่ใช้กลไกแบบ “อัลตร้า-ควอตซ์” คาลิเบอร์ 6512 จาก ค.ศ. 1969

8. นาฬกาขอมอทำงานดวยเครองอเลกทรอนกสควอตซ ค.ศ. 1984S

นาฬิกาข้อมือที่ใช้กลไกแบบ “อิเล็กทรอนิกส์ ควอตซ์” จาก ค.ศ. 1984

 

By: Viracharn T.