PIAGET Altiplano Ultimate Concept

 

หลังการเปิดตัวนาฬิกาเรือนเด่น จนเป็นที่กล่าวขวัญกันถึงในงาน SIHH 2018 กับ PIAGET Altiplano Ultimate Concept เรือนเวลาระบบกลไกที่มีความบางที่สุดในโลก ซึ่งนอกจากจะโดดเด่นด้วยความหนาของตัวเรือนเพียง 2 มิลลิเมตรแล้ว ยังผนึกเอานวัตกรรมอื่นๆ ไว้อีกด้วยอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความลับด้านโครงสร้างของกลไก และตัวเรือนที่ออกแบบให้ผสานเป็นชิ้นเดียวได้อย่างแยบยลและมีประสิทธภาพ หรือเม็ดมะยมดีไซน์เฉพาะที่ออกแบบให้กลมกลืนไปกับตัวเรือน รวมไปถึงกระจกที่บางเฉียบที่ผนวกเข้ากันกับตัวเรือนได้อย่างไร้ที่ติ รวมไปถึงกลไกที่มีพลังลานสำรองลานยาวนานถึง 40 ชั่วโมงภายใต้ความบางในระดับนี้ เป็นต้น

 

X8TOcRIw

 

แต่ก็ยังมีประเด็นที่น่าสงสัยกันอยู่ว่า เรือนเวลาที่แสนจะซับซ้อนและเปี่ยมด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงนี้ จะสามารถผลิตขึ้นเพื่อวางจำหน่ายจริงหรือไม่ และถ้าเป็นเช่นนั้นจะเหมาะสำหรับการสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้สักเพียงใด ซึ่งคำตอบจาก PIAGET ก็คือ Yes และ Yes นั่นเอง เพราะ PIAGET Altiplano Ultimate Concept ไม่ได้เป็นเพียงการเผชิญความท้าทาย ในระดับไมโครเอ็นจิเนียร์ริ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำงานร่วมกันอย่างหนัก ของเหล่าทีมนักพัฒนา วิศวกร ช่างนาฬิกา และนักออกแบบ เพื่อส่งมอบเรือนเวลาที่เพรียวบางสู่ผู้ใช้งานตัวจริง และนี่คือเส้นทางสู่ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จที่ทุกคนต่างรอคอย

 

33

 

จากแนวคิดบนแผ่นกระดาษจนกลายเป็นนาฬิกาเรือนจริง ต้องท้าวความย้อนกลับไปในปี 1957 ที่ PIAGET ก้าวเข้าสู่โลกแห่งการปฏิวัติเรือนเวลา ด้วยการเปิดตัวนาฬิกาดีไซน์บางเฉียบขึ้น ก่อนพัฒนานาฬิการุ่นต่างๆ ออกมาอีกหลายรุ่น จนกลายเป็นนาฬิการะบบกลไกที่บางที่สุดในโลก ช่วงเวลานั้น อาทิ กลไกคาลิเบอร์ 900P ปี 2014 ที่มีความบางเพียง 3.65 มิลลิเมตร และกลไกคาลิเบอร์ 910P ปี 2018 ที่มีควาบางเพียง 4.3 มิลลิเมตร โดยหลอมรวม 3 พาร์ทสำคัญทั้ง ตัวเรือน ฝาหลัง และเมนเพลท เป็นชิ้นส่วนเดียวกันด้วยจุดประสงค์ด้านการทำงานของกลไก ซึ่งรวมไปถึงจุดประสงค์หลัก คือทำให้นาฬิกามีความบางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

333r3

 

ดังนั้นเพื่อเป็นการตอกย้ำดีเอ็นเอของนาฬิการุ่น Altiplano และแนวคิดอันแสนลึกล้ำของแบรนด์ PIAGET จึงเริ่มต้นเส้นทางสู่ความท้าทายครั้งใหม่ ด้วยการสร้างสถิติความเพรียวบาง อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในวงการนาฬิกาของโลก ด้วยนาฬิกาในซีรี่ส์ของ Altiplano รุ่นใหม่ล่าสุดที่โดดเด่นด้วยความหนาของตัวเรือนเพียง 2 มิลลิเมตร หรือเทียบเท่าความหนาของบัตรเครดิตที่วางซ้อนกันเพียง 2 ใบเท่านั้น โดยมาพร้อมกับกลไกไขลานอินเฮ้าส์คาลิเบอร์ 900P-UC ซึ่งทุกขั้นตอนล้วนถูกพัฒนา และสร้างสรรค์โดยผู้เชี่ยวชาญจาก PIAGET Research and Innovation division ในโรงงานของ PIAGET เองในทุกกระบวนการ

 

u53aIViQ

 

โดยกลไกคาลิเบอร์นี้ ต้องใช้เวลากว่า 4 ปีในการศึกษาและพัฒนาเรือนเวลาต้นแบบนับไม่ถ้วน ซึ่งหลังจากนั้นอีก 2 ปี จึงได้เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนทางวิศวกรรมและการออกแบบ เพื่อส่งมอบนาฬิการะบบกลไกที่บางที่สุดในโลกสู่ผู้ใช้งานตัวจริง ที่การันตีได้ด้วยสิทธิบัตรที่จดใหม่ถึง 5 ฉบับด้วยกัน ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการในขณะนี้ โดยเริ่มจากกระบวนการปรับโครงสร้างตัวเรือน เพื่อให้ฝาหลังทำหน้าที่เป็นฐานรองรับกลไกไปในตัว ซึ่งต้องสร้างด้วยวัสดุใหม่อย่างโคบอลต์ผสมอัลลอยด์ ที่ถูกพัฒนาให้แข็งแรงและทนทานมากกว่าทองคำถึง 2.3 เท่า จึงจะสามารถส่งผลให้ตัวเรือนไม่โค้งงอ แม้จะมีความบางอย่างสุดขั้วก็ตาม

 

n1a2ztDQ

 

ขณะที่ชิ้นส่วนอื่นๆ ถูกปรับขนาดให้รับกับความบางในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นจักร (wheels) ที่วัดความหนาได้เพียง 0.12 มิลลิเมตร ซึ่งเปรียบเทียบกับจักรของกลไกดั้งเดิมที่จะมีขนาด 0.20 มิลลิเมตร กระจกหน้าปัดที่ถูกลดทอนความหนาออกถึง 80 เปอร์เซนต์ จากเกณฑ์มาตรฐานหนาราว 1 มิลลิเมตร เหลือเพียง 0.2 มิลลิเมตร กระปุกลาน (mainspring barrel) ที่ออกแบบใหม่ทั้งหมด ส่งผลให้กลไกมีพลังลานสำรองนานถึง 40 ชั่วโมง รวมทั้งเม็ดมะยมระบบเทเลสโคปิคในดีไซน์แบนเรียบ ที่ราบเป็นระดับเดียวกับตัวเรือน โดยทำงานร่วมกับอินฟินิทสกรูว์ แทนเม็ดมะยมแบบดั้งเดิม ซึ่งป้องกันผลกระทบอันจะเกิดได้กับกลไกได้อย่างสมบูรณ์แบบ

1YwdOBOQ

และจากดีไซน์หน้าปัดแบบเยื้องศูนย์ ส่งผลให้ไม่สามารถใช้งานแกนไขแบบดั้งเดิมได้ จึงแก้ปัญหาโดยการสร้างแกนไขแบบสแต็คเกอร์ดขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่แบรนด์จดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างกลไก ที่เป็นแบบกลับด้านโดยใช้แท่นบริดจ์เป็นหน้าปัด พ่วงด้วยอีกหนึ่งฟังก์ชั่นที่ประยุกต์ให้การทำงานสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น นั่นก็คือการแทนที่เข็มชั่วโมงแบบดั้งเดิมด้วยอินดิเคเตอร์ดิสค์ ในขณะที่เข็มนาทียังคงทำงานตามแบบนาฬิกาปกติทั่วไป

 

ติดตามเรื่องราวของ PIAGET Altiplano Ultimate Concept ได้ในบทความครั้งต่อไป