HM11, The house that Max built

MB&F กับการสร้างสรรค์ล่าสุด ที่ทำให้เส้นแบ่งระหว่างการผลิตนาฬิกา และสถาปัตยกรรมเข้ามาใกล้กันได้ยิ่งขึ้น จากสถาปัตยกรรมในประมาณช่วงกลางถึงปลายทศวรรษ 60 ที่ถือเป็นช่วงที่เข้าการทดลองสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ที่มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากการออกแบบในทศวรรษก่อนๆ จากอาคารที่ผ่านจากยุคสงคราม ที่ถือเป็นรูปแบบที่ใช้งานได้จริง และสร้างขึ้นอย่างเร่งรีบเพื่อให้สามารถใช้งานได้เร็ว จนเกิดแนวคิดที่แตกต่างของความเป็นมนุษย์ แม้ว่าจะไม่ใช่ในลักษณะที่นักวิชาการทางด้านสถาปัตยกรรมจะใช้คำนี้ก็ตาม

 

2

 

โดยมองในแบบพื้นที่และรูปทรงของร่างกายมนุษย์ พร้อมขอบเขตการมองเห็นที่เป็นทรงกลม อันเป็นดวงตาของมนุษย์ที่ใช้รับรู้ หรือรัศมีของแขนขามนุษย์ที่ใช้ในการเคลื่อนตัว รวมถึงลมหายใจที่จะเข้าไปพองที่ปอด และทำให้เกิดไอน้ำชั่วคราวบนกระจกรถยนต์ในฤดูหนาว แนวคิดเหล่านี้ถูกนักสถาปนิกหลากหลายคน สร้างเป็นบ้านที่ดูเหมือนผุดขึ้นจากพื้นดิน หรือราวกับว่าแผ่นดินงอนิ้วและลืมที่จะขดกลับ และเมื่อ Maximilian Büsser ผู้ก่อตั้ง MB&F มองไปที่บ้านหลังหนึ่งและคิดว่า "ถ้าบ้านหลังนี้เป็นนาฬิกาล่ะ?"

 

4

 

บ้านในฝันของ MB&F ที่แยกออกไปเป็นแฉกในแต่ละห้อง และมีโครงสร้างทั้งหมดอยู่บนฐานรากหลัก พร้อมมุมออฟเซ็ต 90 องศาระหว่างแต่ละห้อง ที่หมายความว่าจะสามารถหมุน HM11 Architect ให้ห้องใดห้องหนึ่งหันหน้าเข้าหาได้อย่างอิสระ หรือจะให้ทางเดินหนึ่งของบ้านหันเข้าหาและให้ห้องต่างๆ เอียงไปแต่ละด้านก็ได้ ซึ่งความคล่องตัวในการวางแนวการแสดงผลนี้ ยังมีประโยชน์ในทางปฏิบัติอีกด้วย จากการที่นาฬิกาเรือนนี้มีโครงสร้างที่ประหยัดพลังงาน โดยมีฟังก์ชั่นการหมุนตามเข็มนาฬิกาเพื่อการขึ้นลานนาฬิกา

5

ที่ให้พลังลานได้อย่างยาวนานสูงสุดถึง 96 ชั่วโมง เพื่อให้พลังงานกับกลไกฟลายอิ้งตูร์บิยอง อันตั้งอยู่กึ่งกลางหัวใจของบ้าน และสามารถมองเห็นท้องฟ้าได้ผ่านทางกระจกแซฟไฟร์ทรงโดมสองชั้น นอกจากนี้จุดนี้ยังเป็นจุดกึ่งกลางของตัวนาฬิกา ที่มีรูปทรงสี่แฉกที่ทำให้นึกถึงรูปร่างของหน้าต่าง ในวิหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติบางแห่ง หรือบางทีอาจเป็นรูปร่างของอามีบาที่กำลังแบ่งเซลล์ของตัวเอง ซึ่งจากแกนทั้งสี่ที่ยื่นออกไปนี้จะทำให้เกิดห้องพาราโบลาสี่ห้อง ที่รวมกันเป็น HM11 Architect

 

Screen Shot 2566 12 01 at 01.26.49

 

นาฬิกาเรือนนี้ยังมีคุณสมบัติที่ไม่เคยมีมาก่อนในการผลิตนาฬิกา นั่นก็คือเม็ดมะยมแบบที่สามารถมองทะลุได้ โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 10 มิลลิเมตร ที่ช่วยให้สามารถมองเห็นกลไกได้โดยตรงโดย และไร้ซึ่งสิ่งกีดขวาง ซึ่งเม็ดมะยมแซฟไฟร์ขนาดใหญ่นี้ที่มีความสวยงามมากนี้ มาพร้อมกับความท้าทายทางเทคนิคเฉพาะที่ต้องเอาชนะให้ได้ โดยเม็ดมะยมของนาฬิกาจะต้องติดตั้งด้วยปะเก็น ที่ป้องกันไม่ให้น้ำหรือฝุ่นละอองเข้าไปในชุดกลไกนาฬิกา ซึ่งถือเป็นจุดหลักในการเข้าสู่กลไก และทำให้ประสิทธิภาพของนาฬิกาลดลง

 

3

 

MB&F HM11 Architect นำเสนอในสองรุ่น ทั้งในแบบไทเทเนียมเกรด 5 พร้อมหน้าปัดสีน้ำเงิน ที่ผลิตในแบบจำนวนจำกัดเพียง 25 เรือน หรือในแบบไทเทเนียมเกรด 5 พร้อมหน้าปัดสีเรดโกลด์ จำนวน 25 เรือนเช่นกัน โดยทั้งคู่จะมีขนาดที่ 42 มิลลิเมตร (เส้นผ่านศูนย์กลาง) x 23 มิลลิเมตร (สูง) แสดงเวลาด้วยกลไกอินเฮ้าส์ไขลานฟลายอิ้งตูร์บิยอง แสดงเวลาชั่วโมงและนาที พร้อมชุดแสดงพลังสำรองลาน และหน้าปัดแสดงอุณหภูมิ ที่พัฒนาขึ้นเองโดย MB&F โดยกลไกชุดนี้จะทำงานที่ความถี่ 18,000 รอบต่อชั่วโมง

 

6

 

พร้อมการเคลือบสารเรืองแสงเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน แสงสะท้อนบนกระจกทั้งด้านในและด้านนอกของกระจกทุกชุดในตัวเรือน เพื่อให้สามารถมองเห็นค่าเวลา อุณหภูมิ และชุดกลไก ได้อย่างชัดเจนในทุกมุมมอง โดยหน้าปัดแสดงอุณหภูมิจะวัดค่าได้ตั้งแต่ -20 ถึง 60 องศาเซลเซียส หรือ 0 ถึง 140 องศาฟาเรนไฮต์ ที่รวมกันทำให้ MB&F HM11 Architect มีความพิเศษที่โดดเด่นและเหนือชั้นกว่า พร้อมภาพลักษณ์จากโครงสร้างของสถาปัตยกรรมบ้าน ที่ไม่เคยมีใครนำมาใช้ในนาฬิกามาก่อน