Interview with Mr. Takuma Kawauchiya of GRAND SEIKO, Part II

นาฬิกา Kodo จาก GRAND SEIKO เป็นนาฬิกาที่เปิดตัวในงาน Watches and Wonders 2022ที่ผู้คนทั่วทั้งโลกให้ความสนใจกันเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะด้วยชุดกลไกที่มีแนวคิดและการออกแบบที่ซับซ้อน รวมไปถึงการผนวกระบบแสดงเวลา ที่ให้ผลได้ดีมากที่สุดสองชุดเข้าไว้ด้วยกัน ล้วนแล้วแต่ทำให้นาฬิการุ่น Kodo กลายเป็นที่จับตามองท่ามกลางแบรนด์นาฬิกาน้อยใหญ่ในงานได้ในทันที และในวันนี้ที่ iamwatch.net มีโอกาสเข้าร่วมสัมภาษณ์ทางออนไลน์กับ Mr. Kawauchiya ผู้ออกแบบชุดกลไกนี้

 

img07

 

Q: เรารู้ว่านาฬิกา Kodo ได้สร้างวิถีใหม่ที่เป็นประวัติศาสตร์ของแบรนด์นาฬิกา GRAND SEIKO อายุ 62 ปี ดังนั้นในฐานะนักออกแบบกลไก คุณตื่นเต้นกับสิ่งที่คุณและทีมงานของคุณประสบความสำเร็จหรือไม่ และคุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้

 

Mr. Kawauchiya: ใช่ครับ ผมรู้สึกตื่นเต้นและภูมิใจมากเกี่ยวกับการเปิดตัวนาฬิกา GRAND SEIKO เรือนนี้ และเมื่อมองย้อนกลับไป ผมก็รู้สึกว่าผมจะไม่สามารถบรรลุถึงผลสำเร็จนี้ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกในทีม พร้อมกับเวลาที่มีความสำคัญเช่นกัน ผมยังคิดเลยว่าบางทีเมื่อสองสามปีก่อน อาจจะเป็นเวลาที่เร็วเกินไปสำหรับการเปิดตัว ผมรู้สึกโชคดีอย่างเหลือเชื่อที่มีสมาชิกในทีม ที่ยอดเยี่ยมและทุกอย่างทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ในช่วงเวลาที่สมบูรณ์แบบสำหรับการเปิดตัวในครั้งนี้

 

Grand Seiko Kodo SLGT003G 001

 

Q: Kodo ถือเป็นนาฬิกาที่ซับซ้อนเรือนแรกของแบรนด์ เหตุใด GRAND SEIKO จึงมุ่งเน้นในการพัฒนากลไกตูร์บิยองแบบแรงคงที่?

 

Mr. Kawauchiya: เพราะแนวคิดของกลไกตูร์บิยองแบบแรงคงที่ เกิดจากแนวคิดในการแสวงหาการผลิตนาฬิกา ที่มีความแม่นยำสูงสุดโดยไม่มีข้อจำกัดด้านความสามารถในการผลิต อย่างที่หลายคนทราบปัจจัยหลายประการจะส่งผลต่อความแม่นยำของนาฬิการะบบกลไก หนึ่งคือข้อผิดพลาดของตำแหน่ง และอีกเรื่องคือแรงบิดที่ลดลงทีละน้อย ดังนั้นเพื่อเป็นการชดเชยกัน ผมจึงตัดสินใจติดตั้งกลไกการทำงานของตูร์บิยองเข้ากับกลไกแรงคงที่ เนื่องจากกลไกตูร์บิยองจะสามารถแก้ปัญหาได้เพียงปัญหาเดียว ส่วนตำแหน่งการทำงานที่ผิดพลาดก็ยังคงอยู่ ผมจึงถามตัวเองว่า “วิธีใดในอุดมคติที่จะสามารถรวมชุดตูร์บิยองและชุดแรงคงที่เข้าไว้ด้วยกัน” และคำตอบของผมคือการรวมทั้งสองกลไกกันไว้ในแกนเดียวและเป็นหน่วยเดียว

 

Screen Shot 2565 07 04 at 08.26.37

 

Q: แล้วในการพัฒนากลไกของ Kodo ทาง GRAND SEIKO ให้ความสำคัญกับส่วนใดมากกว่า ความสวยงามหรือเทคโนโลยี และจะสร้างสมดุลกันได้อย่างไร?

 

Mr. Kawauchiya: แน่นอนว่าเรื่องทั้งคู่ต่างก็มีความสำคัญมากทั้งนั้น แต่เมื่อต้องสร้างเทคโนโลยีในด้านการผลิตใหม่เกือบทั้งหมด ผมจึงคิดว่าการบรรลุเป้าหมายทางเทคโนโลยีต้องมาก่อน และจากนั้นก็ความสวยงาม ซึ่งในกรณีของกลไกคาลิเบอร์ 9ST1 การพิจารณาด้านสุนทรียภาพจะเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะแรกๆ ตัวอย่างเช่น เพื่อให้ชุดทวินบาเรลดูสวยงาม รวมไปถึงการจัดวางชุดกลไกที่ดูสมมาตรที่จะถูกพิจารณาตั้งแต่ต้นๆ โดยกลไกคาลิเบอร์ 9ST1 นั้นจะมีขนาดเล็กกว่ารุ่นก่อน แต่เราไม่ได้บีบทุกส่วนเพื่อให้พอดีกับพื้นที่ที่เล็กกว่า ในขณะเดียวกันอันที่จริงเลย์เอาต์ของชิ้นส่วนต่างๆ ก็จะสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม และสุนทรียศาสตร์ที่สำคัญของญี่ปุ่น ซึ่งคำนึงถึงการใช้พื้นที่ว่าง (“ma” ในภาษาญี่ปุ่น)

 

Grand Seiko Kodo Constant Force Tourbillon SLGT003 1

 

Q: อะไรคือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการพัฒนากลไกใหม่ชุดนี้?
 
Mr. Kawauchiya: มีความท้าทายหลายประการในการพัฒนากลไก แต่ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งคือการป้องกันการสึกหรอของกลไกแบบแรงคงที่ ด้วยเหตุนี้ เราจึงเลือกใช้เซรามิคเข้ามาช่วย พร้อมด้วยการใช้เทคโนโลยีการประมวลผลขั้นสูง ซึ่งการพัฒนานี้มีขั้นตอนที่ถือว่ายากมาก เพราะต้องการความแม่นยำในการผลิตบางถึงระดับไมครอนเลยทีเดียว

 

Grand Seiko T0 Constant force Tourbillon 5

 

Q: แล้วหลังจากการพัฒนาชุดกลไกแล้ว การนำตัวเรือนมาบรรจุก็น่าจะเป็นเรื่องที่ยากมาก?

 

Mr. Kawauchiya: ใช่ครับ เราต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมายในการแนะนำ Kodo ให้เป็นนาฬิกาข้อมือ หลังจากที่มีการพูดคุยกันในทีม เราจึงตัดสินใจลดขนาดกลไกต้นแบบคาลิเบอร์ T0 เพื่อวัตถุประสงค์ทำให้เป็นนาฬิกาข้อมือที่สวมใส่ได้มากขึ้น และให้อิสระในการออกแบบตัวเรือนมากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เราต้องออกแบบโครงสร้างใหม่ โดยชุดแสดงพลังสำรองลานต้องได้รับการออกแบบใหม่ รวมทั้งกลไกอินเฮ้าส์คาลิเบอร์ 9ST1 มีขนาดเล็กกว่าและบางกว่าถึง 0.24 มิลลิเมตร

Screen Shot 2565 07 04 at 07.47.32
 
Q: เมื่อเทียบกับการพัฒนากลไกชุด T0 (T-zero) Constant-force Tourbillon เทียบกันกับกลไกของ Kodo ชุดไหนยากกว่า?
 
Mr. Kawauchiya: ทั้งสองสิ่งถือเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่ผมจะบอกว่าการผลิต T0 นั้นท้าทายกว่าเพราะเป็นการสร้างความซับซ้อนที่ไม่เคยมีมาก่อน และนี่เป็นครั้งแรกที่ผมออกแบบการทำงานทั้งหมดด้วยตัวเอง เพราะผมต้องซึมซับข้อมูลให้ได้มากที่สุด ในระหว่างกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้เวลานานหลายปี 
 
 
โปรดติดตามบทสัมภาษณ์สุดท้ายได้ในบทความครั้งต่อไป และสามารถติดตามบทสัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ได้ที่ Interview with Mr. Takuma Kawauchiya of GRAND SEIKO
 
 
 
 
Screen Shot 2565 06 16 at 01.03.10