เบื้องหลังการถือกำเนิดของรูปแบบ GRAND SEIKO Style

GRAND SEIKO Style คือ ภาษาการออกแบบที่ยึดแนวคิดเรื่อง “ประกายแห่งคุณภาพ” เป็นศูนย์กลาง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณลักษณะสำคัญของนาฬิกาจาก GRAND SEIKO อันได้แก่ ความแม่นยำ ความงดงาม ความชัดเจน และความสะดวกต่อการใช้งาน ออกมาได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังแสดงถึงรูปแบบและการทำงานที่สอดคล้องต้องกันอย่างลงตัวเป็นที่สุด โดยรูปแบบของ GRAND SEIKO Style ถูกพัฒนาขึ้นหลังจากที่เรือนเวลา GRAND SEIKO แบบแรกถูกสร้างขึ้นมาแล้ว 7 ปี เพราะในยุคแรกสุดนั้น GRAND SEIKO มุ่งเน้นไปที่ความแม่นยำของกลไกเป็นหลัก โดยยังไม่ได้สร้างเอกลักษณ์ที่แท้จริงของนาฬิกาในแง่ของการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกขึ้น

 

LOGO B

 

หัวหน้าทีมออกแบบได้ใช้เวลาหลายชั่วโมงที่ร้าน Wako (วาโก) ในกินซ่า ซึ่งเป็นย่านช๊อปปิ้งที่ขึ้นชื่อของโตเกียว เพื่อเฝ้าสังเกตปฏิกิริยาของผู้คนที่มีต่อนาฬิการูปแบบต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งทำให้เขาตระหนักว่า หากต้องการให้นาฬิกามีความโดดเด่นและสามารถดึงดูดสายตาได้ GRAND SEIKO จำเป็นต้องมีลักษณะที่โดดเด่นเฉพาะตัว ดังนั้นเขาจึงเห็นว่าก้าวต่อไปของ GRAND SEIKO จะต้องเป็นการออกแบบเรือนเวลาที่มีเหลี่ยมมุมคมชัดยิ่งขึ้น และมีพื้นผิวซึ่งสร้างเงาสะท้อนที่ปราศจากการบิดเบือน เพื่อให้เรือนเวลาเหล่านั้นแสดงให้เห็นถึง “ประกายแห่งคุณภาพ” อันจะเป็นเอกลักษณ์ของนาฬิกาจาก GRAND SEIKO ต่อไปในอนาคต

 

Screen Shot 2565 03 02 at 22.52.23

 

สำหรับชาวญี่ปุ่นแล้ว สีขาวและสีดำมักไม่ค่อยถูกแยกออกจากกันอย่างชัดเจน หากแต่มีการไล่ระดับระหว่างแสงและเงาให้เห็นอยู่เสมอ ลักษณะของเงาจึงเป็นที่ชื่นชอบกันมาก และความกลมกลืนกันระหว่างทั้งสองก็เป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งนัก การเล่นกับแสงและเงาบนพื้นผิวที่ได้รับการขัดเงาอย่างสมบูรณ์แบบ จึงทำให้เกิดความกลมกลืนที่สวยงาม ปฏิสัมพันธ์เช่นนี้สามารถพบเห็นได้จากฉากกั้นพับได้แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น และประตูบานเลื่อนแบบโชจิ (Shoji) ซึ่งแม้ว่าฉากกั้นและประตูเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นจากกระดาษและไม้ โดยมีแนวเส้นตรงที่เรียบง่ายและมีพื้นผิวที่ราบเรียบ แต่การประสานระหว่างแสงและเงาซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะสร้างรูปแบบและลักษณะที่ต่างกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

 

002

 

ที่ซึ่งนักออกแบบของ GRAND SEIKO สามารถมองเห็นสิ่งนี้ได้อย่างชัดเจนและตัดสินใจว่าต่อจากนี้ไป แนวทางการออกแบบของเขาจะให้ความสนใจกับความงาม ของการไล่ระดับสีและแสงอันไม่มีที่สิ้นสุดเหล่านี้ ดังนั้น GRAND SEIKO Style จึงถูกออกแบบมาเพื่อถ่ายทอดความงดงาม ตามรูปแบบของญี่ปุ่นอย่างแท้จริงโดยเน้นไปที่การนำเส้นตรงและพื้นผิวอันราบเรียบ มาร่วมกันทำให้เกิดดีไซน์โครงสร้างที่พร้อมจะแสดงแสงและเงา อันไม่มีที่สิ้นสุดให้ทุกสายตาได้ประจักษ์ โดยมีหลักการออกแบบอันประกอบด้วยหลัก 3 ประการที่สำคัญเป็นจุดยืน พร้อมทั้งเป็นแนวคิดหลักในการนำไปปรับใช้กับองค์ประกอบต่างๆ ของนาฬิกาอย่างที่เห็นได้ในปัจจุบัน

 

Screen Shot 2565 03 02 at 23.11.48

 

ประการแรกคือ “การออกแบบให้มีพื้นผิวเรียบและมีส่วนโค้งแบบ 2 มิติโดยเน้นพื้นผิวอันราบเรียบเป็นสำคัญ และโดยทั่วไปแล้วจะหลีกเลี่ยงส่วนโค้งแบบ 3 มิติ” โดยแทนที่จะใช้ผิวโค้งแบบ 3 มิติอย่างเช่นนาฬิกาทั่วไป รูปแบบของ GRAND SEIKO Style กลับประกอบด้วยพื้นผิวที่เรียบและแนวขอบที่เฉียบคม ซึ่งเกิดจากส่วนของรูปทรงแบบกรวย ลักษณะที่เปี่ยมไปด้วย “ประกายแห่งคุณภาพ” ที่มาจากความแตกต่างระหว่างแสงและเงากับพื้นผิวอันโดดเด่นเหล่านี้ ส่วนประการที่สองคือ “ทุกองค์ประกอบบนตัวเรือน หน้าปัด และเข็ม ควรมีพื้นผิวเรียบให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” เพื่อเน้นให้เห็นความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบต่างๆ และเพิ่มความชัดเจนในการอ่านค่า โดยแนวเส้นบนตัวเรือน หน้าปัด และเข็มต่างๆ ต้องถูกเจียรให้มีหลายเหลี่ยม

 

SBGJ255 a

 

และหลักการประการที่สามคือ “พื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นผิวทั้งหมดควรขัดให้ขึ้นเงาดุจผิวกระจกเงา และให้ภาพสะท้อนที่เกิดการบิดเบือนน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” พื้นผิวดุจกระจกเงาเช่นนี้จะเพิ่มความต่างระหว่างแสงและเงาและทำให้นาฬิกามีประกายแวววาว การขัดเงาแบบกระจกเงาเช่นนี้เกิดขึ้นได้ด้วยเทคนิคการขัดแบบซารัทสึ ซึ่งจะขัดพื้นผิวจนกระทั่งไร้ความบิดเบือนของเงาสะท้อน และทำให้แนวขอบของแนวผิวราบที่บรรจบกับระนาบเอียง มีความโดดเด่นและเกิดความคมชัดได้อย่างน่าประทับใจ อีกทั้งประกายแวววาวของเงาอันงดงาม บนพื้นผิวแนวข้างของตัวเรือนกับแนวลาดของวงขอบตัวเรือน ยังทำให้ตัวเรือนนาฬิกาดูบางลงเมื่ออยู่บนข้อมือด้วย โดยครึ่งหนึ่งของเม็ดมะยมจะถูกฝังในตัวเรือนเพื่อให้แนวด้านข้างตัวเรือนดูกลมกลืน ทำให้สวมใส่สบายและพอดีกับทุกขนาดข้อมือ

55 GS

 

Screen Shot 2565 03 02 at 23.06.34