BREGUET ร่วมฉลองวันแห่งกลไกตูร์บิยอง 26 มิถุนายน

BREGUET เชิญชวนเหล่าสาวก รวมถึงผู้หลงใหลในเรือนเวลาและเหล่านักสะสม ร่วมเฉลองวันแห่งกลไกตูร์บิยอง ซึ่งตรงกับวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี และในวันนี้บูติคของนาฬิกา BREGUET ทั่วโลกจะร่วมกันนำเสนอเรือนเวลากลไกตูร์บิยองในคอลเลคชั่นต่างๆ ให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกลไกอันเป็นเอกลักษณ์นี้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

 

11476

 

Abraham-Louis Breguet ได้ยื่นจดสิทธิบัตรกลไกตูร์บิยองในวันที่ 26 มิถุนายน ปี 1801 ซึ่งนับเป็นเวลากว่าสองศตวรรษแล้ว ที่มีการนำกลไกระดับมาสเตอร์พีซ ซึ่งรังสรรค์ขึ้นจากอัจฉริยภาพของชายผู้นี้ มาพัฒนาต่อยอดให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเหล่านักสร้างสรรค์เรือนเวลาและบรรดาวิศวกรรุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่ง BREGUET ในปัจจุบันในฐานะผู้สืบทอดประวัติศาสตร์ และผู้ถือครองนวัตกรรมแห่งโลกเรือนเวลาอันยากจะหาใดเปรียบนี้ ได้เอาชนะความท้าทายมามากมาย ในการรังสรรค์เรือนเวลาที่ผสมผสานทั้งศาสตร์และศิลป์ สุนทรียภาพความงดงาม รวมถึงเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกัน

 

11477

 

ซึ่งภารกิจนี้นำไปสู่การลงทุนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์อุปกรณ์ล้ำสมัยรวมถึงการคิดค้นและพัฒนาด้านนวัตกรรม โดยมีการจดสิทธิบัตรขึ้นมากมายมาโดยตลอด  เพื่อรักษาและต่อยอดนวัตกรรมกลไกอันลือชื่อที่สุดแห่งโลกเรือนเวลานี้ จนเป็นนาฬิกากลไกตูร์บิยองรุ่นต่างๆ นับไม่ถ้วนในคอลเลคชั่นปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความปรารถนาของ BREGUET ที่จะพัฒนาสิ่งประดิษฐ์แห่งปี 1801 ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นไป และนี่คือ 7 เรือนเวลากลไกตูร์บิยอง ที่สร้างชื่อให้กับเรือนเวลาระดับมาสเตอร์พีซนี้ตลอดมา

 

11474

 

ปี 2007 กับนาฬิการุ่น Classique Tourbillion Messidor, Ref. 5335 กลไกตูร์บิยองที่ดูราวกับกำลังล่องลอยอยู่ในอากาศ จากตัวเชื่อมของกลไกที่เป็นแบบล่องหน ซึ่งหัวใจสำคัญของการรังสรรค์กลไกอันน่าพิสมัยเช่นนี้ คือการใช้กระจกแซฟไฟร์ใส ประกบกับชุดกรงตูร์บิยองไว้ทั้งด้านบนและด้านล่าง ส่วนกรงตูร์บิยองจะยึดเข้ากับแซฟไฟร์แผ่นที่สาม ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันงามสง่า ซึ่งเป็นเทคนิคทางสิทธิบัตรเฉพาะของ BREGUET

 

Screen Shot 2564 07 06 at 23.02.29

 

ปี 2008 กับนาฬิการุ่น Hèritage Tourbillion, Ref. 5497 นาฬิกาทรงบาร์เรลที่ประกอบด้วยกลไกไขลานตูร์บิยอง ซึ่งชุดกลไกจะมีความโค้งมนสอดรับกับรูปทรงของตัวเรือน ซึ่งนักรังสรรค์เรือนเวลาของ BREGUET ต้องเอาชนะความท้าทายอย่างมาก ในการคิดค้นกลไกที่มีรูปทรงเหมาะเจาะกับตัวเรือนเช่นนี้ วิศวกรรมการออกแบบยังช่วยให้สามารถมองเห็นการทำงานของกลไกตูร์บิยอง ที่เน้นย้ำถึงเทคนิคต่างๆ ได้อย่างละเอียด พร้อมอีกจุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์คือบริดจ์ของกรงตูร์บิยอง ที่ทำหน้าที่เป็นมาร์กเกอร์ ณ ตำแหน่ง 6 นาฬิกาบนหน้าปัดในขณะเดียวกันอีกด้วย

 

10636

 

ปี 2010 กับนาฬิการุ่น Tradition Tourbillion Fusée, Ref. 7047 กับกรงตูร์บิยองของเรือนเวลาที่ออกแบบตามหลักการทางเรขาคณิต โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพเสก็ตช์ภาพแรกของ Abraham-Louis Breguet โดยมีชุดกรงซึ่งจดทะเบียนสิทธิบัตร ที่ช่วยปกป้องกลไกจากแรงกระแทก และยังประกอบด้วยบาลานซ์สปริงอันเลื่องชื่อ ที่ยกระดับบนเส้นขอบโค้งด้านนอกสุดให้สูงเด่นขึ้นในชื่อ เบรเกต์โอเวอร์คอยล์ ที่ผลิตจากซิลิคอน ซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่ตอบสนองต่อพลังแม่เหล็ก และมีการจดสิทธิบัตรเฉพาะสำหรับ BREGUET

 

11018

 

ปี 2017 กับนาฬิการุ่น Marine Tourbillion Equation Marchante, Ref. 5887 ที่ ณ ใจกลางของกลไกนี้ จะมีทั้งกลไกฟังก์ชั่นเพอเพทชวลคาเลนดาร์ และฟังก์ชั่นอีเควชั่นออฟไทม์ โดยมีวงล้อลูกเบี้ยวอยู่บนแผ่นดิสก์แซฟไฟร์ใส ที่จะหมุนครบรอบในเวลาหนึ่งปี และยังช่วยขับเคลื่อนให้กลไกอีเควชั่นออฟไทม์ทำงานได้อย่างเที่ยงตรง โดยแผ่นดิสก์แซฟไฟร์ใสซึ่งจดทะเบียนสิทธิบัตรนี้ จะทำหน้าที่แสดงเดือนทั้ง 12 ในแต่ละปี และยังเผยให้เห็นกลไกตูร์บิยองเบื้องล่างอย่างงดงาม

 

breguet marine equation marchante 5887 2021 watches news

 

ปี 2018 กับนาฬิการุ่น Classique Tourbillion Extra-Thin Automatic, Ref. 5367 ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยที่มีบทบาทสำคัญในการดีไซน์ให้กลไกตูร์บิยองมีความบางเฉียบเพียง 3มิลลิเมตร โดยใช้กรงตูร์บิยองที่ผลิตจากไทเทเนียม, ซิลิคอนบาลานซ์สปริงและเอสเคปวีล โดยเป็นการออกแบบชุดกลไกขึ้นใหม่ทั้งหมด เพื่อให้กรงตูร์บิยองหมุนไปตามการทำงานของชุดฟันเฟืองของชุดกลไก

 

10629

 

ปี 2019 กับนาฬิการุ่น Classique Tourbillion Extra-Thin Squelette, Ref. 5395 ด้วยกลไกคาลิเบอร์ขนาดบางเฉียบของเรือนเวลารุ่นนี้ ประกอบด้วยบาลานซ์วีลที่ทำงานด้วยความถี่สูงในระดับ 4 เฮริท์ซ โดยยังคงสามารถให้พลังสำรองลานที่นานกว่า 80 ชั่วโมง ด้วยบาร์เรลที่ออกแบบและผ่านการจดทะเบียนสิทธิบัตรเฉพาะ โดยมีแท่นกลไกที่ผลิตจากทองคำ รวมทั้งบริดจ์ที่ผ่านการฉลุให้มีความโปร่งแทบทั้งหมด และยังมีการตกแต่งรายละเอียดด้วยมือ เพื่อเผยโฉมทุกส่วนประกอบกลไกให้ได้เห็นอย่างละเอียด

 

Breuget Classique Tourbillon Extra Plat Squelette 5395 Watch 15

 

ปี 2020 กับนาฬิการุ่น Classique Double Tourbillion, Ref. 5345 Qui de l’Horlogie กลไกนาฬิกาที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตร โดยกลไกหลักทั้งสองจะทำงานแยกกันอย่างเป็นเอกเทศ พร้อมบาร์เรลเฉพาะในกลไกแต่ละชุด ที่ทำงานประสานกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ

 Breguet 1

 

แม้จะได้รับการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรในวันที่ 26 มิถุนายน ปี  1801 แต่กลไกตูร์บิยองก็ยังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องอีกเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี  กว่าที่ Abraham-Louis Breguet จะเปิดเผยผลงานชิ้นนี้สู่สาธารณชน ซึ่งเขาไม่เพียงเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์บทที่หนึ่งให้แก่โลกแห่งเรือนเวลา แต่ยังเปรียบเสมือนผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์ทั้งเล่มขึ้น ซึ่งแม้เวลาจะผ่านไปแล้วกว่า 220 ปี หนังสือเล่มนี้ก็ยังคงบอกเล่าเรื่องราวอย่างต่อเนื่องอีกต่อไปอย่างไม่รู้จบ